วานนี้ (7 มี.ค.) ที่โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนขนส่งจราจร(สนข.) จัดรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือประเด็นข้อกังวล ผลกระทบและแนวทางแก้ไข โครงการเส้นทางลัดสู่ภาคใต้ (สมุทรสาคร - แหลมผักเบี้ย -ชะอำ)
นายประสงค์ เอี่ยมอนันต์ คณะกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม หนึ่งในคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิเศษพิจารณาผลการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม(คชก.) กล่าวเรียกร้องให้รัฐบาลชะลอการเร่งรัดดำเนินโครงการทางลัดสู่ภาคใต้ออกไปก่อน 1 ปี เพื่อรอให้ผลกระศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมให้เสร็จสมบูรณ์ ก่อนที่กรมทางหลวงจะเปิดแบบก่อสร้างให้เอกชนเข้ามาร่วมประกวดราคาในช่วงเดือนมิถุนายนนี้
นางนิศากร โฆษิตรัตน์ เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่าโครงการทางลัดสู่ภาคใต้เกิดขึ้นแน่นอน แต่หากโครงการนี้รัฐบาลเร่งเดินหน้าโดยไม่รอผลการศึกษาอีไอเอก่อนนั้น ทางสผ. และบอร์ดสิ่งแวดล้อมแห่งชาติไม่สามารถไปท้วงติงคัดค้านยุติลงได้ เพราะสผ.มีอำนาจหน้าที่แค่เสนอแนะให้ความเห็นเท่านั้น ส่วนความคืบหน้าอีไอเอ ได้เร่งให้สนข.ไปศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นที่เป็นความเสี่ยงสูง เช่น การวางตอม่อไม่ให้เกิดการทรุดตัวหรือสร้างตะกอนดิน กัดเซาะชายฝั่ง ทำลายห่วงโซ่อาหาร และเน้นระบบเตือนภัยอุบัติเหตุหากเกิดพายุมรสุมทางทะเล
"สผ.ได้ส่งหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เข้าครม.สัปดาห์หน้า ท้วงติง หากรัฐจะเร่งผลักดันโครงการเมกะโปรเจ็ก 1.5 ล้านล้านต่างๆ ขอให้ศึกษาคำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มคิดโครงการควบคู่ศึกษาด้านคุ้มทุนทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่มาวิ่งไล่แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมทีหลัง" เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผน กล่าว
นายชนะ รุ่งแสง สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่ใช้อำนาจโดยมิชอบในการเร่งรัดจะเปิดประมูลแบบก่อสร้างในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ ขณะที่โครงการดังกล่าวมิได้ผ่านกระบวนการศึกษาอีไอเออย่างครบถ้วน แต่ใช้อำนาจสั่งการอนุมัติงบผูกพันปี 48 รวม 6.4 พันล้านบาท ปี 49 รวม 6.4 พันล้านบาท และปี 50-51 รวม 1.9 หมื่นล้านบาท ถือว่ารัฐบาลใช้อำนาจเกินขอบเขต
ด้านนายประมณฑ์ สถาพรนานนท์ เลขาธิการโครงการฯ จากสำนักงานออกแบบและวางแผน กรมทางหลวงกล่าวว่าความคืบหน้าการออกแบบก่อสร้างทางวิศวกรรมใกล้เสร็จแล้ว 70-80% เสร็จ ตามแผนสามารถเปิดซองประกวดราคาแบบก่อสร้างเป็นขั้นตอนต่อไป แต่ในสัญญาต้องระบุด้วยว่าหากอีไอเอไม่ผ่านโครงการนี้ก็สามารถยกเลิกได้ทันที
"กรมทางหลวง มีหน้าที่ทางวิศวกรรมว่าจะสร้างอย่างไรให้คงทน ไม่ได้มีอำนาจชี้ว่าจะสร้างตรงไหนหรือไม่สร้างตรงไหน" ตัวแทนกรมทางหลวงกล่าว
นายประสงค์ เอี่ยมอนันต์ คณะกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม หนึ่งในคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิเศษพิจารณาผลการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม(คชก.) กล่าวเรียกร้องให้รัฐบาลชะลอการเร่งรัดดำเนินโครงการทางลัดสู่ภาคใต้ออกไปก่อน 1 ปี เพื่อรอให้ผลกระศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมให้เสร็จสมบูรณ์ ก่อนที่กรมทางหลวงจะเปิดแบบก่อสร้างให้เอกชนเข้ามาร่วมประกวดราคาในช่วงเดือนมิถุนายนนี้
นางนิศากร โฆษิตรัตน์ เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่าโครงการทางลัดสู่ภาคใต้เกิดขึ้นแน่นอน แต่หากโครงการนี้รัฐบาลเร่งเดินหน้าโดยไม่รอผลการศึกษาอีไอเอก่อนนั้น ทางสผ. และบอร์ดสิ่งแวดล้อมแห่งชาติไม่สามารถไปท้วงติงคัดค้านยุติลงได้ เพราะสผ.มีอำนาจหน้าที่แค่เสนอแนะให้ความเห็นเท่านั้น ส่วนความคืบหน้าอีไอเอ ได้เร่งให้สนข.ไปศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นที่เป็นความเสี่ยงสูง เช่น การวางตอม่อไม่ให้เกิดการทรุดตัวหรือสร้างตะกอนดิน กัดเซาะชายฝั่ง ทำลายห่วงโซ่อาหาร และเน้นระบบเตือนภัยอุบัติเหตุหากเกิดพายุมรสุมทางทะเล
"สผ.ได้ส่งหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เข้าครม.สัปดาห์หน้า ท้วงติง หากรัฐจะเร่งผลักดันโครงการเมกะโปรเจ็ก 1.5 ล้านล้านต่างๆ ขอให้ศึกษาคำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มคิดโครงการควบคู่ศึกษาด้านคุ้มทุนทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่มาวิ่งไล่แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมทีหลัง" เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผน กล่าว
นายชนะ รุ่งแสง สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่ใช้อำนาจโดยมิชอบในการเร่งรัดจะเปิดประมูลแบบก่อสร้างในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ ขณะที่โครงการดังกล่าวมิได้ผ่านกระบวนการศึกษาอีไอเออย่างครบถ้วน แต่ใช้อำนาจสั่งการอนุมัติงบผูกพันปี 48 รวม 6.4 พันล้านบาท ปี 49 รวม 6.4 พันล้านบาท และปี 50-51 รวม 1.9 หมื่นล้านบาท ถือว่ารัฐบาลใช้อำนาจเกินขอบเขต
ด้านนายประมณฑ์ สถาพรนานนท์ เลขาธิการโครงการฯ จากสำนักงานออกแบบและวางแผน กรมทางหลวงกล่าวว่าความคืบหน้าการออกแบบก่อสร้างทางวิศวกรรมใกล้เสร็จแล้ว 70-80% เสร็จ ตามแผนสามารถเปิดซองประกวดราคาแบบก่อสร้างเป็นขั้นตอนต่อไป แต่ในสัญญาต้องระบุด้วยว่าหากอีไอเอไม่ผ่านโครงการนี้ก็สามารถยกเลิกได้ทันที
"กรมทางหลวง มีหน้าที่ทางวิศวกรรมว่าจะสร้างอย่างไรให้คงทน ไม่ได้มีอำนาจชี้ว่าจะสร้างตรงไหนหรือไม่สร้างตรงไหน" ตัวแทนกรมทางหลวงกล่าว