กลุ่มปิโตรเคมีเครือปูนใหญ่ปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจใหม่ เน้นผลิตโพรพิลีนและอะโรเมติกส์เพิ่มแทนที่เอทิลีนที่มีแนวโน้มราคาถูกลง เล็งผุดโรงโอเลฟินส์แครกเกอร์ที่ใช้แนฟธาเป็นเชื้อเพลิงขนาด 2 ล้านตัน มูลค่าเงินลงทุนเกือบ 4 หมื่นล้านบาท
นายอภิพร ภาษวัธน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีในเครือซิเมนต์ไทย กล่าวถึงความคืบหน้าในการลงทุนโรงโอเลฟินส์แครกเกอร์ ที่ใช้แนฟธาเป็นวัตถุดิบว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียด โดยโครงการดังกล่าวจะมีกำลังผลิต 2 ล้านตัน และมีผลตอบแทนการลงทุนสูงกว่าเกณฑ์ที่เครือซิเมนต์ไทยกำหนดไว้ว่าจะต้องมีกำไรก่อนหักค่าเสื่อม ภาษีและดอกเบี้ยจ่าย (EBITDA) 15% ของเงินลงทุน โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปีนี้
สำหรับเงินลงทุนโรงโอเลฟินส์แครกเกอร์ดังกล่าว จะใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.8 หมื่นล้านบาท โดยขณะนี้ มีพันธมิตรต่างชาติหลายรายสนใจที่จะร่วมทุนด้วย แต่บริษัทก็มีความพร้อมที่จะลงทุนเอง ซึ่งแหล่งเงินทุนนั้นจะมาจากเงินทุนจากการดำเนินงาน ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหาเพราะเครือซิเมนต์ไทยมี EBITDA ปีละ 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าวจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3-4 ปี หรือเฉลี่ยปีละ1 หมื่นล้านบาท
การตัดสินใจลงทุนโรงโอเลฟินส์แครกเกอร์ดังกล่าว จะไม่เน้นผลิตโพรดักส์เอทิลีนมากนัก แต่จะเลือกเทคโนโลยีที่ผลิตโพรพิลีน และอะโรเมติกส์ได้มากขึ้น เพราะมูลค่าแนฟธาแครกเกอร์ไม่ได้อยู่ที่เอทิลีน อีกทั้งแนวโน้มราคาเอทิลีนในอนาคตจะต่ำลง เพราะจะมีโรงโอเลฟินส์ ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติในตะวันออกกลางเกิดขึ้นใหม่ ทำให้มีปริมาณเอทิลีนเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่โรงโอเลฟินส์ ที่ใช้แนฟธาเป็นวัตถุดิบจะมีความได้เปรียบในเรื่องผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และแนวโน้มราคาโพรพิลีนและอะโรเมติกส์จะดีกว่าเอทิลีน ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของบริษัทดังนั้น เมื่อโรงโอเลฟินส์แห่งใหม่แล้วเสร็จ จะทำให้สัดส่วนการผลิตเอทิลีนของเครือปูนใหญ่ลดลงเหลือเพียง 35%ที่เหลือจะเป็นกำลังการผลิตโพรพิลีน และอะโรเมติกส์
ส่วนการลงทุนปิโตรเคมีในอิหร่าน นายอภิพร กล่าวว่า บริษัทให้ความสนใจที่จะลงทุนปิโตรเคมีขั้นปลายในอิหร่านเงินลงทุนเบื้องต้นเพียง 200 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะได้ข้อสรุปประมาณ 2-3 เดือนข้างหน้านี้ สำหรับโครงการก่อสร้างโรงอะโรเมติกส์ในอินโดนีเซีย คาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 49 ซึ่งถือเป็นโรงอะโรเมติกส์แห่งแรกของอินโดนีเซีย มีกำลังการผลิต 5 แสนตัน/ปี
นายอภิพร ภาษวัธน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีในเครือซิเมนต์ไทย กล่าวถึงความคืบหน้าในการลงทุนโรงโอเลฟินส์แครกเกอร์ ที่ใช้แนฟธาเป็นวัตถุดิบว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียด โดยโครงการดังกล่าวจะมีกำลังผลิต 2 ล้านตัน และมีผลตอบแทนการลงทุนสูงกว่าเกณฑ์ที่เครือซิเมนต์ไทยกำหนดไว้ว่าจะต้องมีกำไรก่อนหักค่าเสื่อม ภาษีและดอกเบี้ยจ่าย (EBITDA) 15% ของเงินลงทุน โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปีนี้
สำหรับเงินลงทุนโรงโอเลฟินส์แครกเกอร์ดังกล่าว จะใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.8 หมื่นล้านบาท โดยขณะนี้ มีพันธมิตรต่างชาติหลายรายสนใจที่จะร่วมทุนด้วย แต่บริษัทก็มีความพร้อมที่จะลงทุนเอง ซึ่งแหล่งเงินทุนนั้นจะมาจากเงินทุนจากการดำเนินงาน ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหาเพราะเครือซิเมนต์ไทยมี EBITDA ปีละ 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าวจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3-4 ปี หรือเฉลี่ยปีละ1 หมื่นล้านบาท
การตัดสินใจลงทุนโรงโอเลฟินส์แครกเกอร์ดังกล่าว จะไม่เน้นผลิตโพรดักส์เอทิลีนมากนัก แต่จะเลือกเทคโนโลยีที่ผลิตโพรพิลีน และอะโรเมติกส์ได้มากขึ้น เพราะมูลค่าแนฟธาแครกเกอร์ไม่ได้อยู่ที่เอทิลีน อีกทั้งแนวโน้มราคาเอทิลีนในอนาคตจะต่ำลง เพราะจะมีโรงโอเลฟินส์ ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติในตะวันออกกลางเกิดขึ้นใหม่ ทำให้มีปริมาณเอทิลีนเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่โรงโอเลฟินส์ ที่ใช้แนฟธาเป็นวัตถุดิบจะมีความได้เปรียบในเรื่องผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และแนวโน้มราคาโพรพิลีนและอะโรเมติกส์จะดีกว่าเอทิลีน ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของบริษัทดังนั้น เมื่อโรงโอเลฟินส์แห่งใหม่แล้วเสร็จ จะทำให้สัดส่วนการผลิตเอทิลีนของเครือปูนใหญ่ลดลงเหลือเพียง 35%ที่เหลือจะเป็นกำลังการผลิตโพรพิลีน และอะโรเมติกส์
ส่วนการลงทุนปิโตรเคมีในอิหร่าน นายอภิพร กล่าวว่า บริษัทให้ความสนใจที่จะลงทุนปิโตรเคมีขั้นปลายในอิหร่านเงินลงทุนเบื้องต้นเพียง 200 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะได้ข้อสรุปประมาณ 2-3 เดือนข้างหน้านี้ สำหรับโครงการก่อสร้างโรงอะโรเมติกส์ในอินโดนีเซีย คาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 49 ซึ่งถือเป็นโรงอะโรเมติกส์แห่งแรกของอินโดนีเซีย มีกำลังการผลิต 5 แสนตัน/ปี