บอร์ดครุสภา สุดพลิ้วหลัง นายกฯ ลั่น รัฐบาล พร้อมจ่ายเงินแทนครู เตรียมถกปัญหาค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู อีกรอบ 3 มี.ค.นี้ ด้าน กทม.มั่นใจมีความพร้อมรับโอนสถานศึกษา ขอเพียง ศธ.ประเมินก่อน ย้ำประเด็นไม่ได้อยู่ที่จะต้องได้รับโอน แต่ต้องการให้ประเมินเพื่อรู้จุดต้องปรับปรุง ส่วนอดีต ส.ส.ร. เห็นด้วยชะลอถ่ายโอนสถานศึกษาไปท้องถิ่น
วานนี้(27 ก.พ.) นายจักรพรรดิ วะทา เลขาธิการคุรุสภา กล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกาศว่าไม่ให้เก็บค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษากับครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นอยู่ก่อน พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา วันที่ 12 มิ.ย.46 และรัฐบาลพร้อมจะสนับสนุนเงินส่วนนี้ให้กับคุรุสภาตามจำนวนจริงว่า ขณะนี้ ศ.เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภาได้นัดประชุมกรรมการบอร์ดอีกครั้งวันที่ 3 มี.ค.48 เพื่อยกเรื่องนี้เข้าหารือ แม้คณะกรรมการฯ จะมีมติให้เก็บค่าธรรมเนียมใบละ 500 บาทไปแล้ว
ทั้งนี้ คุรุสภาก็จะตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อศึกษาว่ามีงานเร่งด่วนอะไรที่ต้องทำและใช้งบประมาณเท่าไร ก่อนเสนอของบประมาณไป
นายจักรพรรดิ กล่าวต่อว่า สำหรับจำนวนค่าใช้จ่ายตามจริงในการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษานั้น คำนวณไว้ว่าใช้เงินประมาณ 150 บาทต่อคน โดยเป็นค่าทำใบประกอบวิชาชีพและบัตรประจำตัว ซึ่งจะทำเป็นสมาร์ทการ์ด จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลและการประกอบวิชาชีพ และเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักจะรู้ว่าเป็นครูอยู่ที่ไหนมีการพัฒนาอะไรไปแล้วบ้าง
“เงินที่ใช้จริง ๆ ประมาณ 150 บาทต่อคน แต่ที่เสนอให้เก็บ 500 บาท เพราะส่วนที่เหลือต้องนำไปใช้ในการพัฒนา ดูแลเรื่องความประพฤติของครู สนับสนุนชมรมองค์กรครู เพราะงบประมาณประจำปีที่คุรุสภาได้จะหมดไปกับค่าบริหารจัดการ เงินเดือน ซื้อวัสดุอุปกรณ์ เงิน 500 บาท ที่เก็บจะย้อนกลับไปที่ครูทั้งสิ้น”
ด้านนายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งกำกับดูแลด้านการศึกษาของ กทม.กล่าวถึงความคืบหน้าการขอรับโอนสถานศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ว่า ประเด็นสำคัญ สังคมต้องเข้าใจให้ถูกต้อง เรื่องการโอนสถานศึกษา ไม่ใช่หมายถึงทุกโรงเรียนทุกท้องถิ่นต้องขอรับโอน ถ้าประเมินแล้วไม่พร้อม ก็ไม่ต้องโอน หรือถ้าท้องถิ่นไหนไม่มีความพร้อม ก็ไม่ขอรับโอน
ดังนั้น ตอนนี้อยากให้ ศธ.ประเมินก่อนตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ถ้าประเมินกทม.หรือท้องถิ่นไหนที่ขอรับโอนแล้วไม่ผ่านเกณฑ์ ท้องถิ่นเองก็จะได้รู้ว่า ต้องแก้ไขตรงไหน แม้แต่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติก็ระบุไว้ว่า ท้องถิ่นไหนไม่พร้อม ศธ.มีหน้าที่ต้องทำให้ท้องถิ่นนั้นพร้อมด้วยซ้ำ
ส่วนนายคณิน บุญสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.)ให้ความเห็นว่า การชะลอถ่ายโอนเป็นเรื่องที่ถูกต้องเพราะนอกจากจะมีปัญหาความไม่พร้อมของท้องถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่รู้กันอยู่ว่ามีปัญหามาตรฐานการศึกษาที่แตกต่างกันมาก รวมทั้งปัญหาความขัดแย้งกันระหว่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ กับ พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่ อปท.ว่าด้วยการจัดการศึกษาของชาติอีกด้วย
ที่สำคัญคือ การถ่ายโอนสถานศึกษาในสังกัดศธ.ไปให้แก่ท้องถิ่น.เป็นหลักการที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน ซึ่งตามมาตรา 289 วรรคสอง รัฐธรรมนูญ บัญญัติว่า ็องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ย่อมมีสิทธิที่จะจัดการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพตามความเหมาะสม และความต้องการภายในท้องถิ่นนั้น และเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอบรมของรัฐ แต่ต้องไม่ขัดต่อมาตรา 43 และมาตรา 81 ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติิ
ตรงนี้ แปลความได้ว่า ถ้าเป็นการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่น แล้ว อปท.สามารถจัดให้มีขึ้นได้เลย โดยอาจจะจัดตั้งขึ้นใหม่หรือถ่ายโอนจากส่วนกลาง แต่ก็ต้องดูความพร้อมของ อปท.นั้น ๆ ด้วย แต่ถ้าเป็นการจัดการศึกษาอบรมของรัฐ แล้ว อปท.จะทำได้เพียงแค่ ็มีส่วนร่วมิ เท่านั้น ไม่ใช่จัดการเองทั้งหมด
ดังนั้น การที่ พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.กำหนดระยะเวลา ให้มีการถ่ายโอนสถานศึกษาและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไปให้แก่ อปท.จึงขัดแย้งต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 289 รวมทั้งมาตรา 43 และมาตรา 81 อีกด้วย
วานนี้(27 ก.พ.) นายจักรพรรดิ วะทา เลขาธิการคุรุสภา กล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกาศว่าไม่ให้เก็บค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษากับครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นอยู่ก่อน พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา วันที่ 12 มิ.ย.46 และรัฐบาลพร้อมจะสนับสนุนเงินส่วนนี้ให้กับคุรุสภาตามจำนวนจริงว่า ขณะนี้ ศ.เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภาได้นัดประชุมกรรมการบอร์ดอีกครั้งวันที่ 3 มี.ค.48 เพื่อยกเรื่องนี้เข้าหารือ แม้คณะกรรมการฯ จะมีมติให้เก็บค่าธรรมเนียมใบละ 500 บาทไปแล้ว
ทั้งนี้ คุรุสภาก็จะตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อศึกษาว่ามีงานเร่งด่วนอะไรที่ต้องทำและใช้งบประมาณเท่าไร ก่อนเสนอของบประมาณไป
นายจักรพรรดิ กล่าวต่อว่า สำหรับจำนวนค่าใช้จ่ายตามจริงในการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษานั้น คำนวณไว้ว่าใช้เงินประมาณ 150 บาทต่อคน โดยเป็นค่าทำใบประกอบวิชาชีพและบัตรประจำตัว ซึ่งจะทำเป็นสมาร์ทการ์ด จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลและการประกอบวิชาชีพ และเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักจะรู้ว่าเป็นครูอยู่ที่ไหนมีการพัฒนาอะไรไปแล้วบ้าง
“เงินที่ใช้จริง ๆ ประมาณ 150 บาทต่อคน แต่ที่เสนอให้เก็บ 500 บาท เพราะส่วนที่เหลือต้องนำไปใช้ในการพัฒนา ดูแลเรื่องความประพฤติของครู สนับสนุนชมรมองค์กรครู เพราะงบประมาณประจำปีที่คุรุสภาได้จะหมดไปกับค่าบริหารจัดการ เงินเดือน ซื้อวัสดุอุปกรณ์ เงิน 500 บาท ที่เก็บจะย้อนกลับไปที่ครูทั้งสิ้น”
ด้านนายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งกำกับดูแลด้านการศึกษาของ กทม.กล่าวถึงความคืบหน้าการขอรับโอนสถานศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ว่า ประเด็นสำคัญ สังคมต้องเข้าใจให้ถูกต้อง เรื่องการโอนสถานศึกษา ไม่ใช่หมายถึงทุกโรงเรียนทุกท้องถิ่นต้องขอรับโอน ถ้าประเมินแล้วไม่พร้อม ก็ไม่ต้องโอน หรือถ้าท้องถิ่นไหนไม่มีความพร้อม ก็ไม่ขอรับโอน
ดังนั้น ตอนนี้อยากให้ ศธ.ประเมินก่อนตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ถ้าประเมินกทม.หรือท้องถิ่นไหนที่ขอรับโอนแล้วไม่ผ่านเกณฑ์ ท้องถิ่นเองก็จะได้รู้ว่า ต้องแก้ไขตรงไหน แม้แต่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติก็ระบุไว้ว่า ท้องถิ่นไหนไม่พร้อม ศธ.มีหน้าที่ต้องทำให้ท้องถิ่นนั้นพร้อมด้วยซ้ำ
ส่วนนายคณิน บุญสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.)ให้ความเห็นว่า การชะลอถ่ายโอนเป็นเรื่องที่ถูกต้องเพราะนอกจากจะมีปัญหาความไม่พร้อมของท้องถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่รู้กันอยู่ว่ามีปัญหามาตรฐานการศึกษาที่แตกต่างกันมาก รวมทั้งปัญหาความขัดแย้งกันระหว่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ กับ พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่ อปท.ว่าด้วยการจัดการศึกษาของชาติอีกด้วย
ที่สำคัญคือ การถ่ายโอนสถานศึกษาในสังกัดศธ.ไปให้แก่ท้องถิ่น.เป็นหลักการที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน ซึ่งตามมาตรา 289 วรรคสอง รัฐธรรมนูญ บัญญัติว่า ็องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ย่อมมีสิทธิที่จะจัดการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพตามความเหมาะสม และความต้องการภายในท้องถิ่นนั้น และเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอบรมของรัฐ แต่ต้องไม่ขัดต่อมาตรา 43 และมาตรา 81 ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติิ
ตรงนี้ แปลความได้ว่า ถ้าเป็นการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่น แล้ว อปท.สามารถจัดให้มีขึ้นได้เลย โดยอาจจะจัดตั้งขึ้นใหม่หรือถ่ายโอนจากส่วนกลาง แต่ก็ต้องดูความพร้อมของ อปท.นั้น ๆ ด้วย แต่ถ้าเป็นการจัดการศึกษาอบรมของรัฐ แล้ว อปท.จะทำได้เพียงแค่ ็มีส่วนร่วมิ เท่านั้น ไม่ใช่จัดการเองทั้งหมด
ดังนั้น การที่ พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.กำหนดระยะเวลา ให้มีการถ่ายโอนสถานศึกษาและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไปให้แก่ อปท.จึงขัดแย้งต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 289 รวมทั้งมาตรา 43 และมาตรา 81 อีกด้วย