นักพยากรณ์เศรษฐกิจ ฟันธง เศรษฐกิจไทยปีหน้ายังคงเติบโตจากการใช้จ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาล ชี้ธุรกิจสินค้าสำหรับคนรุ่นใหม่ เทคโนโลยี และสุขภาพ มาแรง ชี้น้ำมัน โรคระบาด สถานการณ์ภาคใต้ยังเป็นขณะที่คนรักสุขภาพหันเล่นกีฬาผู้ประกอบการฉวยโอกาสจับสปอร์ตมาร์เก็ตติ้งดันยอดโต
ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวในงานสัมมนาใหญ่ประจำปี “ฟันธงการตลาดปี 2548” ซึ่งจัดโดยสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ว่าด้วยเรื่อง “พร้อมเผชิญวิกฤต...ส่องกล้อง มองไกล เศรษฐกิจไทย...จะฉลุย หรือชะลอ?” ว่า เศรษฐกิจโดยรวมของประไทยปี 2548 ยังคงเติบโตต่อเนื่องหรือประมาณ 5.5% ซึ่งปัจจัยบวกมากจากการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลผ่านวงเงินงบประมาณ ไปพร้อมๆกับการเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณในโครงการต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศ และกระจายเงินสู่ประชาชนระดับรากหญ้า โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคของภาครัฐบาล ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น
ขณะเดียวกันการส่งออกก็ยังคงขยายตัวต่อเนื่องตามสถานการณ์ตลาดโลก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเปิดการค้าเสรีในกลุ่มประเทศต่างๆ ซึ่งตรงนี้จะส่งผลให้เกิดการลงทุนและการแข่งขันที่จะมีสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นผู้ผลิตคนไทย โดยเฉพาะสินค้าที่ทำเพื่อจำหน่ายในชุมชนหรือในประเทศ เช่น โลคัลแบรนด์ต่างๆ หรือร้านโชว์ห่วย ต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด และการแข่งขันที่รุนแรงทำให้สินค้าไม่สามารถปรับขึ้นราคาได้ จึงมีกำไรต่อชิ้นลดลง แต่ได้ปริมาณการใช้ที่เพิ่มขึ้น
**ราคาน้ำมัน-โรคระบาดตัวฉุดเศรษฐกิจ**
อย่างไรก็ตามในปี 2548 ปัจจัยลบที่จะฉุดการเติบโตของเศรษฐกิจก็ยังมีอยู่ไม่น้อย เช่น การปรับขึ้นของราคาน้ำมันโดยเฉพาะน้ำมันดีเซล ซึ่งจะมีผลโดยตรงกับตัวเลขเงินเฟ้อที่จะขึ้นสูงตามไปด้วย ดังนั้นการที่รัฐบาลเข้ามาพยุงราคาเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งในการกดตัวเลขเงินเฟ้อไม่ให้สูงมาก แนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่น่าจะอยู่ประมาณ 0.5-0.75 รวมถึงแนวโน้มค่าเงินบาทที่จะแข็งขึ้นหรือมีอัตราและเปลี่ยนที่ประมาณ 38-38.5 บาท ต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ส่วนปัจจัยลบต่อเนื่องจากปี2547 ได้ แก่ สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ ปัญหาไข้หวัดนก รวมถึงการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจจีน โดยปัญหาไข้หวัดนก หากมีการกลายเป็นไข้หวัดใหญ่ที่สามารถติดต่อถึงคนได้ จะส่งผลกับการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งรายได้ที่จะนำเงินตราต่างประเทศเข้าไทย มีผลโดยตรงกับ ดุลบัญชีของประเทศ
สำหรับธุรกิจดาวรุ่งในปี 2548 ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวและภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงมาก จะเป็นพื้นฐานให้เกิดการลงทุน หรือการออมในรูปแบบที่ได้ผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงินในธนาคาร หรืออาจนำไปใช้บริโภคสินค้าที่มีราคาไม่สูงมาก ซึ่งเห็นแล้วว่าคุ้มกว่าการฝากเงิน ดังนั้นจึงมีสินค้าหลายกลุ่มที่จะได้ผลประโยชน์จากเหตุผลดังกล่าว เช่น ธุรกิจที่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจใหม่ เช่น ธุรกิจโทรคมนาคม คอมพิวเตอร์ และบริการ กลุ่มธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น สปา หรืออาหาร ชีวจิต กลุ่มธุรกิจที่รัฐบาลให้การสนับสนุนอยู่ในยุทธศาสตร์ของประเทศ เช่น ท่องเที่ยว ยานยนต์ แฟชั่น(เสื้อผ้า เครื่องหนัง และเครื่องประดับ) ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ และอุตสาหกรรมอาหาร ธุรกิจบันเทิง รวมถึงธุรกิจที่สามารถใช้ประโยชน์จากสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำได้ เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์
อย่างไรก็ตาม จากการเปิดเสรีทางการค้า และการที่รัฐบาลเร่งสร้างถนนเพื่อเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน จะส่งผลดีกับธุรกิจขนส่ง โดยไทยต้องการเป็นเกรทเวย์เชื่อมต่อทุกประเทศในอินโดจีน
**สปอร์ต มาร์เก็ตติ้งดันยอดชัวร์**
นายวรวุฒิ โรจนพานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทศภาค จำกัด กล่าวถึงการใช้กลยุทธ์สปอร์ต มาร์เก็ตติ้งในการกระตุ้นยอดขาย ว่า การแฝงการตลาดในการกีฬาหรือสปอร์ต มาร์เก็ตติ้งถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ในตลาดระดับโลก แต่ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับตลาดประเทศไทย เพราะเจ้าของสินค้าส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับว่ากลยุทธ์ดังกล่าวจะสามารถช่วยกระตุ้นยอดขายได้จริงหรือไม่ แต่ในอนาคตการทำตลาดกับการกีฬาจะได้รับความสนใจมากขึ้นตามแนวโน้มของโลกที่คนหันมาให้ความสำคัญกับกีฬามากขึ้น โดยเฉพาะกีฬาฟุตบอล ซึ่งเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมจากคนทั่วโลก
กีฬาเป็นสื่อที่เจาะกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างและครอบคลุมทั้งกลุ่มเด็กและผู้ใหญ่ การเป็นผู้สนับสนุนรายการกีฬาต่างๆ จึงสามารถที่จะจับกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลาย ในขณะที่ละครซึ่งเจ้าของสินค้าส่วนใหญ่ให้ความสนใจเลือกซื้อสื่อมากกว่านั้น เจาะกลุ่มเป้าหมายเพียงกลุ่มเดียว คือ กลุ่มแม่บ้าน
ในฐานะที่ทศภาคทำสปอร์ต มาร์เก็ตติ้งให้กับเจ้าของสินค้าหลายแบรนด์ และเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์รายการกีฬาระดับโลกหลายรายการ มั่นใจว่ากลยุทธ์สปอร์ต มาร์เก็ตติ้งช่วยเพิ่มยอดขายให้กับสินค้า สร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้าได้จริง และมีผลทางด้านจิตใจกับผู้บริโภคมาก
หลังจากที่ทศภาคได้เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกทั้ง 62 แมตซ์ในปี 2545 ด้วยมูลค่าลิขสิทธิ์ 5 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ภาพของสปอร์ต มาร์เก็ตติ้งในไทยชัดเจนมากขึ้น โดยทศภาคได้เปิดเจรจากับบริษัท เบียร์ไทย (1991) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์ช้างให้เป็นผู้สนับสนุนหลักในการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอล ด้วยขอเสนอจะต้องไม่มีโฆษณาระหว่างการแข่งขัน เพื่อช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับเบียร์ช้างและสอดรับกับแคมเปญที่เบียร์ช้างใช้ในเรื่อง “คืนกำไรสู่สังคม” ด้วยการถ่ายทอดฟุตบอลโลกแบบไม่มีโฆษณาระหว่างการแข่งขันเป็นครั้งแรกในเมืองไทย
แนวคิดดังกล่าวบริษัทโฆษณาส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เพราะมองว่าผู้บริโภคจะปฏิเสธการดูโฆษณาในช่วงพักครึ่งการแข่งขัน แต่ต้องยอมรับว่าการซื้อโฆษณาในรายการเกมโชว์ ละครต่างๆ ก็ไม่สามารถรับประกันได้ 100% ว่าผู้บริโภคจะรับชมโฆษณาอย่างต่อเนื่องในช่วงพักรายการเช่นเดียวกัน
ทศภาคใช้แนวคิดเก็บผลประโยชน์ทุกเรื่องจากลิขสิทธิ์รายการกีฬาที่ซื้อมา ซึ่งฟีฟ่าเองก็ทำเช่นเดียวกัน โดยช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2545 ทศภาคได้ประกาศจะฟ้องร้านอาหารต่างๆ หากนำการถ่ายทอดสดมาจัดโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขายให้กับร้าน ส่งผลให้ร้านอาหารต่างๆ กว่า 10,000 ราย ติดต่อขอจ่ายค่าลิขสิทธิ์ แต่ทศภาคใช้กลยุทธ์ให้ร้านดังกล่าวนำเบียร์ช้างเข้าไปจำหน่ายแทนการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ ทำให้เบียร์ช้างหลังจบฟุตบอลโลกมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มจาก 40% เป็น 70-80% ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าการทำ สปอร์ต มาร์เก็ตติ้งร่วมกับเจ้าของลิขสิทธิ์รายการกีฬาสามารถช่วยเพิ่มยอดขายได้
นอกจากนี้ การทำสปอร์ต มาร์เก็ตติ้งสามารถประชาสัมพันธ์แบรนด์ได้ตลอดเวลาทั้งในช่วงก่อนการแข่งขัน ระหว่างการแข่งขัน หลังการแข่งขัน และในปีหน้าทศภาคก็เตรียมออกแคมเปญใหญ่เกี่ยวกับการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2549 ไว้แล้ว ซึ่งจะช่วยทำให้สปอร์ต มาร์เก็ตติ้งได้รับความสนใจอีกครั้ง
**สื่อบนค้าปลีกมาแรง**
นายณรงค์ ตรีสุชน ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ออพติมัม มีเดีย ไดเร็คชั่น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงการเลือกใช้สื่อแบบไม่ละลายแม่น้ำ ว่า ทิศทางการเลือกใช้สื่อในยุคนี้จะต้องเข้าถึงผู้บริโภคแล้วสามารถตอบความต้องการของผู้บริโภคได้ชัดเจนมากที่สุด ไม่จำเป็นต้องทุ่มงบมหาศาลเพื่อสร้างทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ แต่จะต้องคำนึกถึงวิธีการใช้สื่อที่สามารถสร้างยอดขายได้ เพราะมีสินค้าหลายประเภทสร้างทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ได้แต่ขายสินค้าไม่ได้
ในปีนี้สื่อใหม่ที่เกิดขึ้นในค้าปลีกอย่างเทสโก้ โลตัส, คาร์ฟูร์, บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น เป็นสื่อที่มาแรงและกำลังได้รับความนิยมจากเจ้าของสินค้าเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นสถานที่ที่มีกลุ่มผู้บริโภคจำนวนมากต้องการไปเพื่อซื้อสินค้าโดยเฉพาะ โดยมียอดการซื้อสื่อดังกล่าวประมาณ 27 ล้านบาทต่อเดือนจากทั้งหมด 152 ค้าปลีกชั้นนำ
แนวโน้มของสื่อดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าอัตราการใช้สื่อโทรทัศน์ของเจ้าของสินค้าจะลดลง ในขณะที่สื่อบีโลว์เดอะไลน์จะมีอัตราการใช้ที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการแข่งขันในแต่ละประเภทสินค้ารุนแรงมาก จึงต้องกระจายสื่อให้ครอบคลุมมากขึ้นเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด และสื่อโทรทัศน์ในปัจจุบันมีข้อจำกัดในการนำเสนอคุณสมบัติของสินค้ามากขึ้นด้วย
ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวในงานสัมมนาใหญ่ประจำปี “ฟันธงการตลาดปี 2548” ซึ่งจัดโดยสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ว่าด้วยเรื่อง “พร้อมเผชิญวิกฤต...ส่องกล้อง มองไกล เศรษฐกิจไทย...จะฉลุย หรือชะลอ?” ว่า เศรษฐกิจโดยรวมของประไทยปี 2548 ยังคงเติบโตต่อเนื่องหรือประมาณ 5.5% ซึ่งปัจจัยบวกมากจากการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลผ่านวงเงินงบประมาณ ไปพร้อมๆกับการเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณในโครงการต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศ และกระจายเงินสู่ประชาชนระดับรากหญ้า โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคของภาครัฐบาล ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น
ขณะเดียวกันการส่งออกก็ยังคงขยายตัวต่อเนื่องตามสถานการณ์ตลาดโลก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเปิดการค้าเสรีในกลุ่มประเทศต่างๆ ซึ่งตรงนี้จะส่งผลให้เกิดการลงทุนและการแข่งขันที่จะมีสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นผู้ผลิตคนไทย โดยเฉพาะสินค้าที่ทำเพื่อจำหน่ายในชุมชนหรือในประเทศ เช่น โลคัลแบรนด์ต่างๆ หรือร้านโชว์ห่วย ต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด และการแข่งขันที่รุนแรงทำให้สินค้าไม่สามารถปรับขึ้นราคาได้ จึงมีกำไรต่อชิ้นลดลง แต่ได้ปริมาณการใช้ที่เพิ่มขึ้น
**ราคาน้ำมัน-โรคระบาดตัวฉุดเศรษฐกิจ**
อย่างไรก็ตามในปี 2548 ปัจจัยลบที่จะฉุดการเติบโตของเศรษฐกิจก็ยังมีอยู่ไม่น้อย เช่น การปรับขึ้นของราคาน้ำมันโดยเฉพาะน้ำมันดีเซล ซึ่งจะมีผลโดยตรงกับตัวเลขเงินเฟ้อที่จะขึ้นสูงตามไปด้วย ดังนั้นการที่รัฐบาลเข้ามาพยุงราคาเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งในการกดตัวเลขเงินเฟ้อไม่ให้สูงมาก แนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่น่าจะอยู่ประมาณ 0.5-0.75 รวมถึงแนวโน้มค่าเงินบาทที่จะแข็งขึ้นหรือมีอัตราและเปลี่ยนที่ประมาณ 38-38.5 บาท ต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ส่วนปัจจัยลบต่อเนื่องจากปี2547 ได้ แก่ สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ ปัญหาไข้หวัดนก รวมถึงการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจจีน โดยปัญหาไข้หวัดนก หากมีการกลายเป็นไข้หวัดใหญ่ที่สามารถติดต่อถึงคนได้ จะส่งผลกับการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งรายได้ที่จะนำเงินตราต่างประเทศเข้าไทย มีผลโดยตรงกับ ดุลบัญชีของประเทศ
สำหรับธุรกิจดาวรุ่งในปี 2548 ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวและภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงมาก จะเป็นพื้นฐานให้เกิดการลงทุน หรือการออมในรูปแบบที่ได้ผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงินในธนาคาร หรืออาจนำไปใช้บริโภคสินค้าที่มีราคาไม่สูงมาก ซึ่งเห็นแล้วว่าคุ้มกว่าการฝากเงิน ดังนั้นจึงมีสินค้าหลายกลุ่มที่จะได้ผลประโยชน์จากเหตุผลดังกล่าว เช่น ธุรกิจที่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจใหม่ เช่น ธุรกิจโทรคมนาคม คอมพิวเตอร์ และบริการ กลุ่มธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น สปา หรืออาหาร ชีวจิต กลุ่มธุรกิจที่รัฐบาลให้การสนับสนุนอยู่ในยุทธศาสตร์ของประเทศ เช่น ท่องเที่ยว ยานยนต์ แฟชั่น(เสื้อผ้า เครื่องหนัง และเครื่องประดับ) ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ และอุตสาหกรรมอาหาร ธุรกิจบันเทิง รวมถึงธุรกิจที่สามารถใช้ประโยชน์จากสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำได้ เช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์
อย่างไรก็ตาม จากการเปิดเสรีทางการค้า และการที่รัฐบาลเร่งสร้างถนนเพื่อเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน จะส่งผลดีกับธุรกิจขนส่ง โดยไทยต้องการเป็นเกรทเวย์เชื่อมต่อทุกประเทศในอินโดจีน
**สปอร์ต มาร์เก็ตติ้งดันยอดชัวร์**
นายวรวุฒิ โรจนพานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทศภาค จำกัด กล่าวถึงการใช้กลยุทธ์สปอร์ต มาร์เก็ตติ้งในการกระตุ้นยอดขาย ว่า การแฝงการตลาดในการกีฬาหรือสปอร์ต มาร์เก็ตติ้งถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ในตลาดระดับโลก แต่ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับตลาดประเทศไทย เพราะเจ้าของสินค้าส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับว่ากลยุทธ์ดังกล่าวจะสามารถช่วยกระตุ้นยอดขายได้จริงหรือไม่ แต่ในอนาคตการทำตลาดกับการกีฬาจะได้รับความสนใจมากขึ้นตามแนวโน้มของโลกที่คนหันมาให้ความสำคัญกับกีฬามากขึ้น โดยเฉพาะกีฬาฟุตบอล ซึ่งเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมจากคนทั่วโลก
กีฬาเป็นสื่อที่เจาะกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างและครอบคลุมทั้งกลุ่มเด็กและผู้ใหญ่ การเป็นผู้สนับสนุนรายการกีฬาต่างๆ จึงสามารถที่จะจับกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลาย ในขณะที่ละครซึ่งเจ้าของสินค้าส่วนใหญ่ให้ความสนใจเลือกซื้อสื่อมากกว่านั้น เจาะกลุ่มเป้าหมายเพียงกลุ่มเดียว คือ กลุ่มแม่บ้าน
ในฐานะที่ทศภาคทำสปอร์ต มาร์เก็ตติ้งให้กับเจ้าของสินค้าหลายแบรนด์ และเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์รายการกีฬาระดับโลกหลายรายการ มั่นใจว่ากลยุทธ์สปอร์ต มาร์เก็ตติ้งช่วยเพิ่มยอดขายให้กับสินค้า สร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้าได้จริง และมีผลทางด้านจิตใจกับผู้บริโภคมาก
หลังจากที่ทศภาคได้เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกทั้ง 62 แมตซ์ในปี 2545 ด้วยมูลค่าลิขสิทธิ์ 5 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ภาพของสปอร์ต มาร์เก็ตติ้งในไทยชัดเจนมากขึ้น โดยทศภาคได้เปิดเจรจากับบริษัท เบียร์ไทย (1991) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์ช้างให้เป็นผู้สนับสนุนหลักในการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอล ด้วยขอเสนอจะต้องไม่มีโฆษณาระหว่างการแข่งขัน เพื่อช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับเบียร์ช้างและสอดรับกับแคมเปญที่เบียร์ช้างใช้ในเรื่อง “คืนกำไรสู่สังคม” ด้วยการถ่ายทอดฟุตบอลโลกแบบไม่มีโฆษณาระหว่างการแข่งขันเป็นครั้งแรกในเมืองไทย
แนวคิดดังกล่าวบริษัทโฆษณาส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เพราะมองว่าผู้บริโภคจะปฏิเสธการดูโฆษณาในช่วงพักครึ่งการแข่งขัน แต่ต้องยอมรับว่าการซื้อโฆษณาในรายการเกมโชว์ ละครต่างๆ ก็ไม่สามารถรับประกันได้ 100% ว่าผู้บริโภคจะรับชมโฆษณาอย่างต่อเนื่องในช่วงพักรายการเช่นเดียวกัน
ทศภาคใช้แนวคิดเก็บผลประโยชน์ทุกเรื่องจากลิขสิทธิ์รายการกีฬาที่ซื้อมา ซึ่งฟีฟ่าเองก็ทำเช่นเดียวกัน โดยช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2545 ทศภาคได้ประกาศจะฟ้องร้านอาหารต่างๆ หากนำการถ่ายทอดสดมาจัดโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขายให้กับร้าน ส่งผลให้ร้านอาหารต่างๆ กว่า 10,000 ราย ติดต่อขอจ่ายค่าลิขสิทธิ์ แต่ทศภาคใช้กลยุทธ์ให้ร้านดังกล่าวนำเบียร์ช้างเข้าไปจำหน่ายแทนการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ ทำให้เบียร์ช้างหลังจบฟุตบอลโลกมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มจาก 40% เป็น 70-80% ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าการทำ สปอร์ต มาร์เก็ตติ้งร่วมกับเจ้าของลิขสิทธิ์รายการกีฬาสามารถช่วยเพิ่มยอดขายได้
นอกจากนี้ การทำสปอร์ต มาร์เก็ตติ้งสามารถประชาสัมพันธ์แบรนด์ได้ตลอดเวลาทั้งในช่วงก่อนการแข่งขัน ระหว่างการแข่งขัน หลังการแข่งขัน และในปีหน้าทศภาคก็เตรียมออกแคมเปญใหญ่เกี่ยวกับการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2549 ไว้แล้ว ซึ่งจะช่วยทำให้สปอร์ต มาร์เก็ตติ้งได้รับความสนใจอีกครั้ง
**สื่อบนค้าปลีกมาแรง**
นายณรงค์ ตรีสุชน ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ออพติมัม มีเดีย ไดเร็คชั่น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงการเลือกใช้สื่อแบบไม่ละลายแม่น้ำ ว่า ทิศทางการเลือกใช้สื่อในยุคนี้จะต้องเข้าถึงผู้บริโภคแล้วสามารถตอบความต้องการของผู้บริโภคได้ชัดเจนมากที่สุด ไม่จำเป็นต้องทุ่มงบมหาศาลเพื่อสร้างทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ แต่จะต้องคำนึกถึงวิธีการใช้สื่อที่สามารถสร้างยอดขายได้ เพราะมีสินค้าหลายประเภทสร้างทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ได้แต่ขายสินค้าไม่ได้
ในปีนี้สื่อใหม่ที่เกิดขึ้นในค้าปลีกอย่างเทสโก้ โลตัส, คาร์ฟูร์, บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น เป็นสื่อที่มาแรงและกำลังได้รับความนิยมจากเจ้าของสินค้าเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นสถานที่ที่มีกลุ่มผู้บริโภคจำนวนมากต้องการไปเพื่อซื้อสินค้าโดยเฉพาะ โดยมียอดการซื้อสื่อดังกล่าวประมาณ 27 ล้านบาทต่อเดือนจากทั้งหมด 152 ค้าปลีกชั้นนำ
แนวโน้มของสื่อดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าอัตราการใช้สื่อโทรทัศน์ของเจ้าของสินค้าจะลดลง ในขณะที่สื่อบีโลว์เดอะไลน์จะมีอัตราการใช้ที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการแข่งขันในแต่ละประเภทสินค้ารุนแรงมาก จึงต้องกระจายสื่อให้ครอบคลุมมากขึ้นเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด และสื่อโทรทัศน์ในปัจจุบันมีข้อจำกัดในการนำเสนอคุณสมบัติของสินค้ามากขึ้นด้วย