ท่ามกลางกระแสทุนนิยมอันเชี่ยวกราก วัดเส้าหลิน แหล่งกำเนิดกังฟูอันเลื่องชื่อ กำลังเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต เม็ดเงินที่หลั่งไหลเข้ามาพร้อมกับกระแสความคลั่งไคล้ศิลปะการต่อสู้แบบจีน ทำให้ชีวิตบรรพชิตในวัดอายุกว่า 1,500 ปีแห่งนี้ สะดวกสบายและทันสมัยขึ้น หากแต่สิ่งเหล่านี้ก็ได้บั่นทอนความสงบสุขและมนต์ขลังของวัดเส้าหลินไป
เช้านี้ก็เหมือนกับทุกเช้าที่ผ่านมา ขบวนรถบัสที่บรรทุกนักท่องเที่ยวกระเป๋าหนักมาเต็มคัน ต่างทยอยกันเข้ามาเยี่ยมเยือนวัดเส้าหลิน แต่ภายในใจของหลี่เหยาจิ้น ไม่ได้รู้สึกอินังขังขอบกับภาพที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า หากแต่รู้สึกโหยหาวันเวลาในอดีตเมื่อครั้งที่เข้ามาบวชเป็นพระในวัดแห่งนี้เมื่อ 20 ปีก่อน
“เดี๋ยวนี้ ที่นี่มีคนมากเกินไป” หลี่กล่าวขณะยืนอยู่กลางลานวัด ท่ามกลางเสียงเซ็งแซ่ของภาษาต่างประเทศหลายสิบภาษา
“มันยากที่จะหาสถานที่เงียบสงบสำหรับฝึกสมาธิ”
วัดเส้าหลิน แหล่งกำเนิดของกังฟูหรือศิลปะการต่อสู้แบบจีนอันเลื่องลือ สามารถดูดสตางค์จากกระเป๋านักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้เป็นจำนวนมหาศาลในแต่ละวัน
“ความจริงแล้ว พวกเราเองก็รู้สึกกังวลต่อผลกระทบจากการท่องเที่ยว แต่เราก็ทำอะไรไม่ได้” หลี่ซ่งเจียง เจ้าหน้าที่คนหนึ่งของวัดกล่าว
“ผมสามารถพูดแทนพระในวัดเส้าหลินได้เลยว่า พวกเราที่นี่ไม่มีใครสักคนที่ยินดีกับการมาของบรรดานักท่องเที่ยวเหล่านี้”
ผลจากการไหลทะลักของนักท่องเที่ยว ทำให้ภิกษุในวัด 180 รูป กลายเป็นคนแปลกหน้าใน ‘บ้าน’ ของตัวเอง และที่แย่ไปกว่านั้นคือ ถูกใช้เป็นเครื่องมือของธุรกิจท่องเที่ยว
พ่อแม่ส่งซุนจงเฟยมาอยู่วัด ตั้งแต่เขาอายุ 10 ขวบ พวกเขาคิดว่าซุนจะได้รับการศึกษาและขัดเกลาจิตใจตามวิถีทางของนักบวช แต่วันเวลา 3 ปีที่ซุนใช้ชีวิตอยู่ในอารามแห่งนี้ กลับหมดไปกับการขายของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยว
“แม่และพ่อของผมพูดว่า คำสอนของพุทธศาสนาได้ให้สิ่งดีๆแก่มนุษย์ ท่านจึงอยากให้ผมใช้ชีวิตรับใช้ศาสนา” ซุนกล่าว ขณะยืนขายเสื้อทีเชิ้ตลายวัดเส้าหลินราคาตัวละ 60 หยวน (180 บาท)
สิ่งปลูกสร้างหลายหลัง รวมถึงเครื่องอำนวยความสะดวกอื่นๆอีกมากมาย ถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการท่องเที่ยว นอกจากนี้ การเดินทางที่ยาวไกลกว่า 1,500 ปี ก็มีส่วนทำให้อารามแห่งนี้ มีสภาพทรุดโทรมไป
อย่างไรก็ตาม ชื่อเสียงของวิชากังฟูของวัดเส้าหลิน มิได้ลดน้อยลงตามกาลเวลา ในทางตรงข้าม ยิ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ตลอดทางจากเมืองเติงเฟิง จนถึงธรณีประตูของวัด มีโรงเรียนสอนกังฟูอยู่ถึง 83 แห่ง มีนักเรียนรวมๆกันแล้วราว 40,000 คน เรียกได้ว่าเป็นถนนสู่อาชีพบอดี้การ์ดและนักแสดงบทบู๊ ก็ว่าได้
ไม่เฉพาะแต่คนจีนเท่านั้น แม้แต่ชาวต่างชาติก็นิยมมาเรียนศิลปะการต่อสู้ที่นี่ ตั้งแต่วัดเส้าหลินเปิดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในปี 1988 เป็นต้นมา คาดว่ามีหนุ่มสาวชาวต่างชาติ ที่เข้ามารับ ‘วิทยายุทธ์’ จากสำนักเส้าหลินไปแล้วราว 10,000 คน จึงไม่ต้องแปลกใจที่พบเห็น ‘ศิษย์สำนักเส้าหลิน’ ในที่อื่นๆทั่วโลก
ธุรกิจศิลปะการป้องกัน ภายใต้แบรนด์ ‘เส้าหลิน’ เฟื่องขนาดว่าเจ้าตำรับศิลปะการต่อสู้แดนมังกร ต้องลุกขึ้นมาจัดตั้ง ‘บริษัทพัฒนาอุตสาหกรรมวัดเส้าหลินแห่งเหอหนัน’ ขึ้น เพื่อปกป้องสิทธิปัญญาของตนเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา
แต่อย่างน้อยเงาแห่งธุรกิจ ยังไม่ได้มีชัยเหนือวัดเส้าหลินเสียทีเดียว นักเรียนที่นี่ยังหวังว่าทักษะที่ได้รับจากอารามแห่งนี้ จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อหาเลี้ยงตัวเองได้ในอนาคต
“กังฟู จะทำให้ร่างกายของคุณแข็งแรง และยังช่วยยกระดับจิตใจด้วย” ข่งหลิงฟาง นักเรียนวัย 21 ปีกล่าว “คุณสามารถนำไปใช้ในงานหลายอย่าง แม้แต่เป็นพนักงานธนาคาร แต่โดยส่วนตัวแล้ว ผมอยากเป็นบอดี้การ์ด”
ท่ามกลางบรรยากาศที่เข้มงวด ข่งมีหน้าที่ฝึกเด็กหนุ่ม 18 คน
“ความรับผิดชอบของผมคือให้พวกเขาได้เรียนดี ฝึกดี และกินดี ผมไม่ได้รับอนุญาตให้ตีพวกเขา แต่ผมสามารถทำโทษเขาได้เพื่อให้เขาพัฒนาขึ้น” ครูฝึกกล่าว
แต่ความยากลำบากจากการฝึก ไม่ใช่อุปสรรคขัดขวางเ ต๋าเซาเหว่ย เด็กหนุ่มวัย 15 ปี ที่ใฝ่ฝันว่าจะมีอาชีพที่ทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำ
“คุณจะโค้ชหรือเปิดการแสดงในต่างประเทศก็ได้” เขากล่าวขณะพันมือเพื่อเข้าเรียนในชั่วโมงหมัดมวย
เต๋าจ่ายเงินค่าเล่าเรียน 5,000 หยวนต่อปีหรือราว25,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่ค่อนข้างมากสำหรับชาวจีนส่วนใหญ่ แต่ดูเหมือนว่าไม่มีนักเรียนคนใดคิดว่าการฝึกนี้หนักเกินไปสำหรับพวกเขา แม้ว่าภาระผูกพันนี้จะนำพาชีวิตให้เข้าสู่วังวนแห่งการฝึกฝนที่เข้มงวดตั้งแต่รุ่งสางจนตะวันตกดิน
เช่นเดียวกับ ภิกษุในวัดเส้าหลิน ที่แม้ว่าจะมีโทรทัศน์ เครื่องเล่นวีซีดี เครื่องคอมพิวเตอร์ หลายรูปมีโทรศัพท์มือถือใช้ เวลาว่างก็นั่งเบียดกันในกุฏิดูละครชุด ‘มังกรหยก’ แต่วิถีชีวิตประจำวันของพระในวัดเส้าหลินก็ยังตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อนั่งสมาธิ สวดมนต์ ฝึกกังฟู และท่องตำรา เหมือนอย่างที่เคยปฏิบัติสืบมาในอดีต
พระลูกวัดเหยียนฟาง เล่าว่า ภิกษุหลายรูปเคยนั่งสมาธิกลางหิมะ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการฝึกบำเพ็ญตบะอย่างหนึ่ง และถ้าใครมานั่งสมาธิสาย จะถูกลงโทษให้คุกเข่าจนหมด 1 ก้านธูป
หนทางแห่งความพยายามในการอนุรักษ์วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของวัดเก่าแก่แห่งนี้ ยังคงอีกยาวไกล ท่ามกลางคลื่นลมแห่งกระแสทุนนิยมที่เชี่ยวกราก
ประวัติวัดเส้าหลิน
วัดเส้าหลิน สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 495 สมัยไท่เหอ เจ้าผู้ครองรัฐวุ่ยเหนือ (ค.ศ. 386-534 ) เนื่องจากวัดเส้าหลิน ตั้งอยู่บนยอดเขา ‘เส้าซื่อ’ ทางทิศตะวันตกของภูเขาซงซัน และครอบคลุมไปด้วยป่าหรือหลิน ในภาษาจีน และนี่เองเป็นที่มาของชื่อวัดเส้าหลิน
หลังจากก่อตั้งได้ 32 ปี พระโพธิธรรมเถระหรือ “ต๋าม๋อ” ( ตั๊กม้อ) จากอินเดีย ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พุทธศาสนานิกายเซนที่วัดเส้าหลินเป็นครั้งแรก ชื่อเสียงของวัดเส้าหลินในฐานะเป็นต้นกำเนิดของศาสนาพุทธนิกายเซนในจีน ทำให้วัดที่อยู่ท่ามกลางป่าเขาแห่งนี้ เป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
กล่าวกันว่า ศิลปะการต่อสู้แบบเส้าหลินมีต้นกำเนิดจากการที่พระในวัดฝึกออกกำลังกาย เพื่อขจัดความเมื่อยล้าจากการนั่งกรรมฐานเป็นเวลานาน ต่อมาได้มีการพัฒนาจนมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของเส้าหลิน โดยเชื่อว่า ผู้ที่คิดค้นสุดยอดวิชากังฟูไม่ใช่ใครอื่น คือ ปรมาจารย์ตั๊กม้อ พระภิกษุผู้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลจากชมพูทวีป เพื่อมาเผยแพร่พุทธศาสนานิกายเซนนั่นเอง
ตามบันทึกบน ‘ถังไท่จงชื่อเส้าหลินซื่อจู่เจี้ยวเปย’ แท่นหินสลักคำสอนหลักของวัดเส้าหลิน ระบุว่าพระ 13 รูปของวัดเส้าหลินได้ช่วยจักรพรรดิถังไท่จง (หลี่ซื่อหมิน แห่งราชวงศ์ถัง ( ค.ศ. 618- 907) ฝ่าวงล้อม ระหว่างการสู้รบกับทหารของราชวงศ์ซุ่ยตอนปลาย ต่อมาถังไท่จง ได้ทรงแต่งตั้งให้เฟิงถันจง ภิกษุที่ร่วมรบให้ขึ้นเป็นแม่ทัพ และอนุญาตให้พระวัดเส้าหลินร่วมฝึกซ้อมแบบทหาร
ขณะเดียวกันก็อนุญาตให้ภิกษุสัตว์ตัดชีวิต รวมทั้งฉันเนื้อสัตว์ได้ และจากการสนับสนุนในด้านต่างๆจากราชสำนัก ทำให้วัดเส้าหลินได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนเป็นที่รู้จักทั้งในและนอกประเทศ ในสมัยซ่งหรือซ้อง (ค.ศ. 960-1279) กังฟูของวัดเส้าหลิน ได้รับการพัฒนาจนถึงขีดสูงสุด จนถึงสมัยราชวงศ์ชิง ( ค.ศ.1616-1911) จากเหตุผลทางการเมือง ราชสำนักได้ลดบทบาทของวัดเส้าหลินลง
ในปี 1727 หลังการขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิหย่งเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิงได้ 5 ปี แม้ว่าประชาชนจะถูกห้ามไม่ให้ฝึกกังฟู แต่ยังคงมีแอบฝึกกันอย่างลับๆทั้งในและนอกวัด ทำให้วิชากังฟูแบบเส้าหลิน ยังคงได้รับการสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้
เช้านี้ก็เหมือนกับทุกเช้าที่ผ่านมา ขบวนรถบัสที่บรรทุกนักท่องเที่ยวกระเป๋าหนักมาเต็มคัน ต่างทยอยกันเข้ามาเยี่ยมเยือนวัดเส้าหลิน แต่ภายในใจของหลี่เหยาจิ้น ไม่ได้รู้สึกอินังขังขอบกับภาพที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า หากแต่รู้สึกโหยหาวันเวลาในอดีตเมื่อครั้งที่เข้ามาบวชเป็นพระในวัดแห่งนี้เมื่อ 20 ปีก่อน
“เดี๋ยวนี้ ที่นี่มีคนมากเกินไป” หลี่กล่าวขณะยืนอยู่กลางลานวัด ท่ามกลางเสียงเซ็งแซ่ของภาษาต่างประเทศหลายสิบภาษา
“มันยากที่จะหาสถานที่เงียบสงบสำหรับฝึกสมาธิ”
วัดเส้าหลิน แหล่งกำเนิดของกังฟูหรือศิลปะการต่อสู้แบบจีนอันเลื่องลือ สามารถดูดสตางค์จากกระเป๋านักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้เป็นจำนวนมหาศาลในแต่ละวัน
“ความจริงแล้ว พวกเราเองก็รู้สึกกังวลต่อผลกระทบจากการท่องเที่ยว แต่เราก็ทำอะไรไม่ได้” หลี่ซ่งเจียง เจ้าหน้าที่คนหนึ่งของวัดกล่าว
“ผมสามารถพูดแทนพระในวัดเส้าหลินได้เลยว่า พวกเราที่นี่ไม่มีใครสักคนที่ยินดีกับการมาของบรรดานักท่องเที่ยวเหล่านี้”
ผลจากการไหลทะลักของนักท่องเที่ยว ทำให้ภิกษุในวัด 180 รูป กลายเป็นคนแปลกหน้าใน ‘บ้าน’ ของตัวเอง และที่แย่ไปกว่านั้นคือ ถูกใช้เป็นเครื่องมือของธุรกิจท่องเที่ยว
พ่อแม่ส่งซุนจงเฟยมาอยู่วัด ตั้งแต่เขาอายุ 10 ขวบ พวกเขาคิดว่าซุนจะได้รับการศึกษาและขัดเกลาจิตใจตามวิถีทางของนักบวช แต่วันเวลา 3 ปีที่ซุนใช้ชีวิตอยู่ในอารามแห่งนี้ กลับหมดไปกับการขายของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยว
“แม่และพ่อของผมพูดว่า คำสอนของพุทธศาสนาได้ให้สิ่งดีๆแก่มนุษย์ ท่านจึงอยากให้ผมใช้ชีวิตรับใช้ศาสนา” ซุนกล่าว ขณะยืนขายเสื้อทีเชิ้ตลายวัดเส้าหลินราคาตัวละ 60 หยวน (180 บาท)
สิ่งปลูกสร้างหลายหลัง รวมถึงเครื่องอำนวยความสะดวกอื่นๆอีกมากมาย ถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการท่องเที่ยว นอกจากนี้ การเดินทางที่ยาวไกลกว่า 1,500 ปี ก็มีส่วนทำให้อารามแห่งนี้ มีสภาพทรุดโทรมไป
อย่างไรก็ตาม ชื่อเสียงของวิชากังฟูของวัดเส้าหลิน มิได้ลดน้อยลงตามกาลเวลา ในทางตรงข้าม ยิ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ตลอดทางจากเมืองเติงเฟิง จนถึงธรณีประตูของวัด มีโรงเรียนสอนกังฟูอยู่ถึง 83 แห่ง มีนักเรียนรวมๆกันแล้วราว 40,000 คน เรียกได้ว่าเป็นถนนสู่อาชีพบอดี้การ์ดและนักแสดงบทบู๊ ก็ว่าได้
ไม่เฉพาะแต่คนจีนเท่านั้น แม้แต่ชาวต่างชาติก็นิยมมาเรียนศิลปะการต่อสู้ที่นี่ ตั้งแต่วัดเส้าหลินเปิดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในปี 1988 เป็นต้นมา คาดว่ามีหนุ่มสาวชาวต่างชาติ ที่เข้ามารับ ‘วิทยายุทธ์’ จากสำนักเส้าหลินไปแล้วราว 10,000 คน จึงไม่ต้องแปลกใจที่พบเห็น ‘ศิษย์สำนักเส้าหลิน’ ในที่อื่นๆทั่วโลก
ธุรกิจศิลปะการป้องกัน ภายใต้แบรนด์ ‘เส้าหลิน’ เฟื่องขนาดว่าเจ้าตำรับศิลปะการต่อสู้แดนมังกร ต้องลุกขึ้นมาจัดตั้ง ‘บริษัทพัฒนาอุตสาหกรรมวัดเส้าหลินแห่งเหอหนัน’ ขึ้น เพื่อปกป้องสิทธิปัญญาของตนเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา
แต่อย่างน้อยเงาแห่งธุรกิจ ยังไม่ได้มีชัยเหนือวัดเส้าหลินเสียทีเดียว นักเรียนที่นี่ยังหวังว่าทักษะที่ได้รับจากอารามแห่งนี้ จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อหาเลี้ยงตัวเองได้ในอนาคต
“กังฟู จะทำให้ร่างกายของคุณแข็งแรง และยังช่วยยกระดับจิตใจด้วย” ข่งหลิงฟาง นักเรียนวัย 21 ปีกล่าว “คุณสามารถนำไปใช้ในงานหลายอย่าง แม้แต่เป็นพนักงานธนาคาร แต่โดยส่วนตัวแล้ว ผมอยากเป็นบอดี้การ์ด”
ท่ามกลางบรรยากาศที่เข้มงวด ข่งมีหน้าที่ฝึกเด็กหนุ่ม 18 คน
“ความรับผิดชอบของผมคือให้พวกเขาได้เรียนดี ฝึกดี และกินดี ผมไม่ได้รับอนุญาตให้ตีพวกเขา แต่ผมสามารถทำโทษเขาได้เพื่อให้เขาพัฒนาขึ้น” ครูฝึกกล่าว
แต่ความยากลำบากจากการฝึก ไม่ใช่อุปสรรคขัดขวางเ ต๋าเซาเหว่ย เด็กหนุ่มวัย 15 ปี ที่ใฝ่ฝันว่าจะมีอาชีพที่ทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำ
“คุณจะโค้ชหรือเปิดการแสดงในต่างประเทศก็ได้” เขากล่าวขณะพันมือเพื่อเข้าเรียนในชั่วโมงหมัดมวย
เต๋าจ่ายเงินค่าเล่าเรียน 5,000 หยวนต่อปีหรือราว25,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่ค่อนข้างมากสำหรับชาวจีนส่วนใหญ่ แต่ดูเหมือนว่าไม่มีนักเรียนคนใดคิดว่าการฝึกนี้หนักเกินไปสำหรับพวกเขา แม้ว่าภาระผูกพันนี้จะนำพาชีวิตให้เข้าสู่วังวนแห่งการฝึกฝนที่เข้มงวดตั้งแต่รุ่งสางจนตะวันตกดิน
เช่นเดียวกับ ภิกษุในวัดเส้าหลิน ที่แม้ว่าจะมีโทรทัศน์ เครื่องเล่นวีซีดี เครื่องคอมพิวเตอร์ หลายรูปมีโทรศัพท์มือถือใช้ เวลาว่างก็นั่งเบียดกันในกุฏิดูละครชุด ‘มังกรหยก’ แต่วิถีชีวิตประจำวันของพระในวัดเส้าหลินก็ยังตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อนั่งสมาธิ สวดมนต์ ฝึกกังฟู และท่องตำรา เหมือนอย่างที่เคยปฏิบัติสืบมาในอดีต
พระลูกวัดเหยียนฟาง เล่าว่า ภิกษุหลายรูปเคยนั่งสมาธิกลางหิมะ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการฝึกบำเพ็ญตบะอย่างหนึ่ง และถ้าใครมานั่งสมาธิสาย จะถูกลงโทษให้คุกเข่าจนหมด 1 ก้านธูป
หนทางแห่งความพยายามในการอนุรักษ์วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของวัดเก่าแก่แห่งนี้ ยังคงอีกยาวไกล ท่ามกลางคลื่นลมแห่งกระแสทุนนิยมที่เชี่ยวกราก
วัดเส้าหลิน สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 495 สมัยไท่เหอ เจ้าผู้ครองรัฐวุ่ยเหนือ (ค.ศ. 386-534 ) เนื่องจากวัดเส้าหลิน ตั้งอยู่บนยอดเขา ‘เส้าซื่อ’ ทางทิศตะวันตกของภูเขาซงซัน และครอบคลุมไปด้วยป่าหรือหลิน ในภาษาจีน และนี่เองเป็นที่มาของชื่อวัดเส้าหลิน
หลังจากก่อตั้งได้ 32 ปี พระโพธิธรรมเถระหรือ “ต๋าม๋อ” ( ตั๊กม้อ) จากอินเดีย ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พุทธศาสนานิกายเซนที่วัดเส้าหลินเป็นครั้งแรก ชื่อเสียงของวัดเส้าหลินในฐานะเป็นต้นกำเนิดของศาสนาพุทธนิกายเซนในจีน ทำให้วัดที่อยู่ท่ามกลางป่าเขาแห่งนี้ เป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
กล่าวกันว่า ศิลปะการต่อสู้แบบเส้าหลินมีต้นกำเนิดจากการที่พระในวัดฝึกออกกำลังกาย เพื่อขจัดความเมื่อยล้าจากการนั่งกรรมฐานเป็นเวลานาน ต่อมาได้มีการพัฒนาจนมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของเส้าหลิน โดยเชื่อว่า ผู้ที่คิดค้นสุดยอดวิชากังฟูไม่ใช่ใครอื่น คือ ปรมาจารย์ตั๊กม้อ พระภิกษุผู้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลจากชมพูทวีป เพื่อมาเผยแพร่พุทธศาสนานิกายเซนนั่นเอง
ตามบันทึกบน ‘ถังไท่จงชื่อเส้าหลินซื่อจู่เจี้ยวเปย’ แท่นหินสลักคำสอนหลักของวัดเส้าหลิน ระบุว่าพระ 13 รูปของวัดเส้าหลินได้ช่วยจักรพรรดิถังไท่จง (หลี่ซื่อหมิน แห่งราชวงศ์ถัง ( ค.ศ. 618- 907) ฝ่าวงล้อม ระหว่างการสู้รบกับทหารของราชวงศ์ซุ่ยตอนปลาย ต่อมาถังไท่จง ได้ทรงแต่งตั้งให้เฟิงถันจง ภิกษุที่ร่วมรบให้ขึ้นเป็นแม่ทัพ และอนุญาตให้พระวัดเส้าหลินร่วมฝึกซ้อมแบบทหาร
ขณะเดียวกันก็อนุญาตให้ภิกษุสัตว์ตัดชีวิต รวมทั้งฉันเนื้อสัตว์ได้ และจากการสนับสนุนในด้านต่างๆจากราชสำนัก ทำให้วัดเส้าหลินได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนเป็นที่รู้จักทั้งในและนอกประเทศ ในสมัยซ่งหรือซ้อง (ค.ศ. 960-1279) กังฟูของวัดเส้าหลิน ได้รับการพัฒนาจนถึงขีดสูงสุด จนถึงสมัยราชวงศ์ชิง ( ค.ศ.1616-1911) จากเหตุผลทางการเมือง ราชสำนักได้ลดบทบาทของวัดเส้าหลินลง
ในปี 1727 หลังการขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิหย่งเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิงได้ 5 ปี แม้ว่าประชาชนจะถูกห้ามไม่ให้ฝึกกังฟู แต่ยังคงมีแอบฝึกกันอย่างลับๆทั้งในและนอกวัด ทำให้วิชากังฟูแบบเส้าหลิน ยังคงได้รับการสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้