กกต.ประชุมวันนี้อาจไม่ได้วันเลือกตั้ง แต่ส่งสัญญาณหน่วยงานสนับสนุนจัดเลือกตั้งเร็ว กองสลากขานรับเลือกตั้ง 6 ก.พ.พิมพ์บัตรแบบบัญชีรายชื่อทัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเรื่องกำหนดวันเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ที่เดิมวางแผนไว้ว่าจะมีการประชุมตัดสินในวันนี้ (7ธ.ค.) อาจจะไม่ข้อยุติออกมา เนื่องจากในช่วงเช้าจะไม่มีการประชุม เพราะมีกรรมการบางคนไม่อยู่ และติดภารกิจที่ต้องไปอบรมชี้แจงเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนสอบสวน แต่ช่วงบ่ายมีวาระที่ต้องประชุมพิจารณาเรื่องของการเลือกตั้งท้องถิ่น ที่ยังค้างอยู่เป็นจำนวนมากประกอบกับเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องพิจารณา ถ้าไม่นำมาพิจารณาเรื่องก็จะขาดอายุความไป และเวลา 15.00 น. กกต.จะต้องไปร่วม งานสโมสรสันนิบาต
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าหากมีการพิจารณาเรื่องเร่งด่วนที่ค้างอยู่เสร็จ และมีเวลาเหลือพอก็จะมีการหยิบเรื่องการกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นมาหารือ โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เตรียมข้อมูลต่างๆ ไว้เสนอคณะกรรมการฯเรียบร้อยแล้ว
รายงานข่าวแจ้งว่า มีความเป็นไปได้ที่กกต.จะกำหนดให้วันที่ 6 ก.พ.เป็นวันเลือกตั้ง ตามที่มีกระแสข่าวออกมาก่อนหน้านี้ โดยมีการส่งสัญญาณบางอย่างจาก กกต.ไปยังหน่วยงานนอกที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยจัดการเลือกตั้ง ซึ่งในส่วนของการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อที่ทางสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จะเป็นผู้ดำเนินการนั้น ก็ระบุว่าหากมีการเลือกตั้งในวันที่ 6 ก.พ.ก็พอจะจัดพิมพ์บัตรได้ทัน แต่ถ้าเป็นวันที่ 30 ม.ค. ตามที่มีกระแสข่าวในตอนแรก ก็ไม่สามารถจัดพิมพ์ให้ได้
นอกจากนี้ยังพบว่า ทางกกต.ได้มีการประสานไปยังพรรคการเมือง ให้ทำการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่จะส่งลงสมัครให้เรียบร้อย เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในเรื่องการมาร้องคัดค้านการเป็นผู้สมัครตามมา โดยทาง กกต.ได้มีการให้หมายเลขโทรศัพท์หน่วยงานต่าง ๆ ที่กกต.จะเป็นผู้ขอให้ตรวจสอบคุณสมบัติฯกับพรรคการเมืองให้ไปดำเนินการสอบถามได้เลย
เพราะในทางปฏิบัติแล้วกกต.จะร่นวันสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อให้เหลือเพียง 2 วันจากเดิมที่กำหนด 3วัน และระบบแบ่งเขตในนั้น ก็จะกำหนดวันสมัคร 5 วันเช่นเดิม เนื่องจากกฎหมายเขียนบังคับไว้เช่นนั้น และก็จะให้เป็นนโยบายกับผู้อำนวยเขตเลือกตั้งว่า เมื่อถึงเวลารับสมัครก็ให้ทยอยตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่ยื่นสมัครทุกวัน ไม่ต้องรอปิดการรับสมัครก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า
อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว พ.ร.บ.กกต.ไม่ได้กำหนดว่าเป็นเรื่องที่จะต้องใช้เสียงเป็นเอกฉันท์ เพียงแต่เป็นเสียงข้างมากก็สามารถกำหนดวันเลือกตั้งออกมาได้ ซึ่งการจัดการเลือกตั้งวันที่ 6 ก.พ.นั้น ทางฝ่ายปฏิบัติก็เห็นว่า ระยะเวลาที่มี 31 วันนับแต่วันครบวาระ พอที่จะดำเนินการได้ แต่ถ้าจะให้เกิดความสมบูรณ์ในการจัดการเสี่ยงต่อความผิดพลาดน้อย วันที่ 13 ก.พ.ถือเป็นวันที่เหมาะสม เพราะการมีเวลาจัดการเลือกตั้งน้อย ทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ
ในกรณีการเลือกตั้งส.ส.ปี 44 ที่ จ.บุรีรัมย์ ที่พบว่าความผิดไม่ได้เกิดจากตัวผู้สมัคร แต่เป็นเจ้าหน้าที่ที่กลับละเลยการตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งจนทำให้มีชื่อผู้ไม่มีสิทธิ์เลือกตั้งไปปรากฎอยู่ในบัญชีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวนมาก ทำให้เกิดคะแนนเสียงที่ไม่เป็นจริงขึ้น จนกกต.ต้องสั่งล้มกระดานให้มีการเลือกตั้งใหม่ และได้ดำเนินการเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งขณะนี้เรื่องยังคงอยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเรื่องกำหนดวันเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ที่เดิมวางแผนไว้ว่าจะมีการประชุมตัดสินในวันนี้ (7ธ.ค.) อาจจะไม่ข้อยุติออกมา เนื่องจากในช่วงเช้าจะไม่มีการประชุม เพราะมีกรรมการบางคนไม่อยู่ และติดภารกิจที่ต้องไปอบรมชี้แจงเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนสอบสวน แต่ช่วงบ่ายมีวาระที่ต้องประชุมพิจารณาเรื่องของการเลือกตั้งท้องถิ่น ที่ยังค้างอยู่เป็นจำนวนมากประกอบกับเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องพิจารณา ถ้าไม่นำมาพิจารณาเรื่องก็จะขาดอายุความไป และเวลา 15.00 น. กกต.จะต้องไปร่วม งานสโมสรสันนิบาต
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าหากมีการพิจารณาเรื่องเร่งด่วนที่ค้างอยู่เสร็จ และมีเวลาเหลือพอก็จะมีการหยิบเรื่องการกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นมาหารือ โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เตรียมข้อมูลต่างๆ ไว้เสนอคณะกรรมการฯเรียบร้อยแล้ว
รายงานข่าวแจ้งว่า มีความเป็นไปได้ที่กกต.จะกำหนดให้วันที่ 6 ก.พ.เป็นวันเลือกตั้ง ตามที่มีกระแสข่าวออกมาก่อนหน้านี้ โดยมีการส่งสัญญาณบางอย่างจาก กกต.ไปยังหน่วยงานนอกที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยจัดการเลือกตั้ง ซึ่งในส่วนของการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อที่ทางสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จะเป็นผู้ดำเนินการนั้น ก็ระบุว่าหากมีการเลือกตั้งในวันที่ 6 ก.พ.ก็พอจะจัดพิมพ์บัตรได้ทัน แต่ถ้าเป็นวันที่ 30 ม.ค. ตามที่มีกระแสข่าวในตอนแรก ก็ไม่สามารถจัดพิมพ์ให้ได้
นอกจากนี้ยังพบว่า ทางกกต.ได้มีการประสานไปยังพรรคการเมือง ให้ทำการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่จะส่งลงสมัครให้เรียบร้อย เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในเรื่องการมาร้องคัดค้านการเป็นผู้สมัครตามมา โดยทาง กกต.ได้มีการให้หมายเลขโทรศัพท์หน่วยงานต่าง ๆ ที่กกต.จะเป็นผู้ขอให้ตรวจสอบคุณสมบัติฯกับพรรคการเมืองให้ไปดำเนินการสอบถามได้เลย
เพราะในทางปฏิบัติแล้วกกต.จะร่นวันสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อให้เหลือเพียง 2 วันจากเดิมที่กำหนด 3วัน และระบบแบ่งเขตในนั้น ก็จะกำหนดวันสมัคร 5 วันเช่นเดิม เนื่องจากกฎหมายเขียนบังคับไว้เช่นนั้น และก็จะให้เป็นนโยบายกับผู้อำนวยเขตเลือกตั้งว่า เมื่อถึงเวลารับสมัครก็ให้ทยอยตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่ยื่นสมัครทุกวัน ไม่ต้องรอปิดการรับสมัครก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า
อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว พ.ร.บ.กกต.ไม่ได้กำหนดว่าเป็นเรื่องที่จะต้องใช้เสียงเป็นเอกฉันท์ เพียงแต่เป็นเสียงข้างมากก็สามารถกำหนดวันเลือกตั้งออกมาได้ ซึ่งการจัดการเลือกตั้งวันที่ 6 ก.พ.นั้น ทางฝ่ายปฏิบัติก็เห็นว่า ระยะเวลาที่มี 31 วันนับแต่วันครบวาระ พอที่จะดำเนินการได้ แต่ถ้าจะให้เกิดความสมบูรณ์ในการจัดการเสี่ยงต่อความผิดพลาดน้อย วันที่ 13 ก.พ.ถือเป็นวันที่เหมาะสม เพราะการมีเวลาจัดการเลือกตั้งน้อย ทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ
ในกรณีการเลือกตั้งส.ส.ปี 44 ที่ จ.บุรีรัมย์ ที่พบว่าความผิดไม่ได้เกิดจากตัวผู้สมัคร แต่เป็นเจ้าหน้าที่ที่กลับละเลยการตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งจนทำให้มีชื่อผู้ไม่มีสิทธิ์เลือกตั้งไปปรากฎอยู่ในบัญชีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวนมาก ทำให้เกิดคะแนนเสียงที่ไม่เป็นจริงขึ้น จนกกต.ต้องสั่งล้มกระดานให้มีการเลือกตั้งใหม่ และได้ดำเนินการเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งขณะนี้เรื่องยังคงอยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)