ศูนย์ข่าวภูเก็ต -ครม.อนุมัติงบประมาณกว่า 300 ล้านบาท ปรับปรุงท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต ให้ได้ตามมาตรฐานอียู เพื่อยกระดับมาตรฐานสัตว์น้ำสู่การส่งออก และให้ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายปลาทูน่าไปต่างประเทศ คาดหลังปรับปรุงเสร็จ เรือทูน่าต่างชาติใช้บริการเพิ่มขึ้นจากมูลค่าในปัจจุบัน 500 ล้านบาท
นายประมวล รักษ์ใจ ผู้อำนวยการกองท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต องค์การสะพานปลา เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายในการที่จะยกระดับท่าเทียบเรือประมง 5 แห่งในประเทศ ให้เป็นท่าเทียบเรือที่ได้มาตรฐานตามที่ยุโรปกำหนดในการส่งออกสัตว์น้ำของไทยไปยังประเทศในกลุ่มยุโรป
ประกอบด้วย ท่าเทียบเรือประมงที่สมุทรปราการ ที่ขณะนี้ดำเนินการปรับปรุงไปแล้ว 80% ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช ปรับปรุงแล้วเสร็จ ท่าเทียบเรือประมงนราธิวาส ปรับปรุงคืบหน้าไปแล้ว 80% ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตและท่าเทียบเรือประมงปัตตานี
ในส่วนของท่าเทียบเรือประมงจังหวัดภูเก็ต ขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบโครงการปรับปรุงสุขอนามัยท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต และอนุมัติงบประมาณปี 2548 จากงบกลางรายการค่าใช้จ่ายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน และการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ จำนวน 300 ล้านบาทแล้ว ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พ.ย.2547
นายประมวล กล่าวอีกว่า การปรับปรุงสุขอนามัยท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต เพื่อปรับปรุงและพัฒนาท่าเทียบเรือประมงให้ได้มาตรฐานการส่งออก โดยจะทำให้สินค้าสัตว์น้ำมีคุณภาพดีขึ้น สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้ โดยเฉพาะตลาดในอียู เพราะสัตว์น้ำที่นำมาขึ้นที่จังหวัดภูเก็ตส่วนหนึ่งส่งเข้าไปยังโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ ที่จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อส่งออกไปยังยุโรป
ภายหลังจากสร้างเสร็จ ยุโรปก็จะมาตรวจอีกครั้งหนึ่ง ว่าได้มาตรฐานตามที่ยุโรปกำหนดหรือไม่, รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนด้านสุขอนามัย การบริโภคอาหารทะเลให้กับคนไทยและนักท่องเที่ยว ที่เข้ามาในจังหวัดภูเก็ต และเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยรอบพื้นที่
ตลอดจนผลักดันให้ภูเก็ต เป็นศูนย์กลางการประมงทูน่าในภูเก็ต เนื่องจากขณะนี้เรือทูน่าที่ทำประมงทูน่าอยู่ในมหาสมุทรอินเดียใช้ฐานการขึ้นปลาและส่งออกที่ศรีลังกา ปีนังและภูเก็ตบางส่วน เมื่อภูเก็ตมีการขยายท่าเรือให้ยาวเป็น 600 เมตรจาก 180 เมตรจะสามารถรองรับเรือทูน่าของต่างชาติได้มากยิ่งขึ้นทั้งจากจีน และไต้หวัน
สำหรับการปรับปรุงท่าเทียบเรือประมง ประกอบด้วย การปรับปรุงและขยายถนนทางเข้าเป็นสี่เลนกว้าง 14 เมตร,ปรับปรุงท่าเทียบเรือประมงเดิมยาว 180 เมตรมขยายเท่าเทียบเรือประมงให้ยาวเพิ่มอีก 584 เมตร,ก่อสร้างโรงคลุมคัดเลือกสัตว์น้ำ 2 โรง ขนาดความยาว 120 เมตร กว้าง 20 เมตร และขนาดความยาว 60 เมตร กว้าง 60 เมตร
ปรับปรุงลานจอดรถคอนกรีตพื้นที่รวมประมาณ 10,000 ตารางเมตร ,ก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวมที่สามารถบำบัดได้วันละ 1,000 คิว,ก่อสร้างระบบน้ำสะอาดสำหรับกิจการล้างและทำความสะอาดสัตว์น้ำ ซึ่งผลิตน้ำได้วันละ 480 คิวและติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัย ได้แก่ เครื่องชั่งน้ำหนัก เครนยกสัตว์น้ำ โต๊ะสเตนเลสคัดเลือกสัตว์น้ำ เครื่องฉีดน้ำร้อนฆ่าเชื้อแรงดันสูง 1 ชุด กล้องวงจรปิดระบบรักษาความปลอดภัย 1 ชุด และเครื่องประมูลคอมพิวเตอร์ชนิดเคลื่อนที่ได้ (Mobile Auction) 1 ชุด
นายประมวล เผยอีกว่า สำหรับสัตว์น้ำที่เรือประมง นำมาขึ้นที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต มีปีละประมาณ 20,000 ตัน มูลค่าประมาณ 1,500 ล้านบาท เป็นปลาทูน่าเพื่อส่งออก 10% มูลค่าประมาณ 500 ล้านบาท แบ่งเป็นสัตว์น้ำที่ใช้บริโภคในภูเก็ต 45% ที่เหลือส่งไปโรงงานแปรรูปที่จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อส่งออกไปอียู หรือบางส่วนส่งไปยังสิงคโปร์ มาเลเซีย โดยผ่านทางด้านจังโหลน จ.สงขลา และบางส่วนที่เป็นปลาทูน่าส่งไปยังญี่ปุ่น
ในส่วนของปลาทูน่านี้คาดว่า เมื่อท่าเรือแล้วเสร็จเรือทูน่าของจีนและไต้หวัน จะเข้ามาใช้บริการมากขึ้นจากท่าเรือที่ยาวขึ้นสามารถรองรับได้สะดวกและรวดเร็วจากเดิมที่ใช้ริการท่าเรือของเอกชน และต่อไปผู้ซื้อจากญี่ปุ่นสามารถที่จะบินมาเจรจาซื้อขายที่ภูเก็ตได้สะดวก เพราะภูเก็ตมีเที่ยวบินตรงจากญี่ปุ่นเข้ามา
ส่วนการดำเนินการปรัปปรุง นายประมวล กล่าวว่า ขณะนี้แบบการปรับปรุงเสร็จแล้ว คาดว่าจะสามารถเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนก.พ.ปีหน้า ใช้เวลาก่อสร้าง 1 ปี หากไม่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น คาดว่าในเดือนมีนาคม 2549 ภูเก็ตจะได้ท่าเทียบเรือประมง ที่ได้มาตรฐานแห่งหนึ่งของประเทศ
นายประมวล รักษ์ใจ ผู้อำนวยการกองท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต องค์การสะพานปลา เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายในการที่จะยกระดับท่าเทียบเรือประมง 5 แห่งในประเทศ ให้เป็นท่าเทียบเรือที่ได้มาตรฐานตามที่ยุโรปกำหนดในการส่งออกสัตว์น้ำของไทยไปยังประเทศในกลุ่มยุโรป
ประกอบด้วย ท่าเทียบเรือประมงที่สมุทรปราการ ที่ขณะนี้ดำเนินการปรับปรุงไปแล้ว 80% ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช ปรับปรุงแล้วเสร็จ ท่าเทียบเรือประมงนราธิวาส ปรับปรุงคืบหน้าไปแล้ว 80% ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตและท่าเทียบเรือประมงปัตตานี
ในส่วนของท่าเทียบเรือประมงจังหวัดภูเก็ต ขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบโครงการปรับปรุงสุขอนามัยท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต และอนุมัติงบประมาณปี 2548 จากงบกลางรายการค่าใช้จ่ายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน และการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ จำนวน 300 ล้านบาทแล้ว ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พ.ย.2547
นายประมวล กล่าวอีกว่า การปรับปรุงสุขอนามัยท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต เพื่อปรับปรุงและพัฒนาท่าเทียบเรือประมงให้ได้มาตรฐานการส่งออก โดยจะทำให้สินค้าสัตว์น้ำมีคุณภาพดีขึ้น สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้ โดยเฉพาะตลาดในอียู เพราะสัตว์น้ำที่นำมาขึ้นที่จังหวัดภูเก็ตส่วนหนึ่งส่งเข้าไปยังโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ ที่จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อส่งออกไปยังยุโรป
ภายหลังจากสร้างเสร็จ ยุโรปก็จะมาตรวจอีกครั้งหนึ่ง ว่าได้มาตรฐานตามที่ยุโรปกำหนดหรือไม่, รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนด้านสุขอนามัย การบริโภคอาหารทะเลให้กับคนไทยและนักท่องเที่ยว ที่เข้ามาในจังหวัดภูเก็ต และเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยรอบพื้นที่
ตลอดจนผลักดันให้ภูเก็ต เป็นศูนย์กลางการประมงทูน่าในภูเก็ต เนื่องจากขณะนี้เรือทูน่าที่ทำประมงทูน่าอยู่ในมหาสมุทรอินเดียใช้ฐานการขึ้นปลาและส่งออกที่ศรีลังกา ปีนังและภูเก็ตบางส่วน เมื่อภูเก็ตมีการขยายท่าเรือให้ยาวเป็น 600 เมตรจาก 180 เมตรจะสามารถรองรับเรือทูน่าของต่างชาติได้มากยิ่งขึ้นทั้งจากจีน และไต้หวัน
สำหรับการปรับปรุงท่าเทียบเรือประมง ประกอบด้วย การปรับปรุงและขยายถนนทางเข้าเป็นสี่เลนกว้าง 14 เมตร,ปรับปรุงท่าเทียบเรือประมงเดิมยาว 180 เมตรมขยายเท่าเทียบเรือประมงให้ยาวเพิ่มอีก 584 เมตร,ก่อสร้างโรงคลุมคัดเลือกสัตว์น้ำ 2 โรง ขนาดความยาว 120 เมตร กว้าง 20 เมตร และขนาดความยาว 60 เมตร กว้าง 60 เมตร
ปรับปรุงลานจอดรถคอนกรีตพื้นที่รวมประมาณ 10,000 ตารางเมตร ,ก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวมที่สามารถบำบัดได้วันละ 1,000 คิว,ก่อสร้างระบบน้ำสะอาดสำหรับกิจการล้างและทำความสะอาดสัตว์น้ำ ซึ่งผลิตน้ำได้วันละ 480 คิวและติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัย ได้แก่ เครื่องชั่งน้ำหนัก เครนยกสัตว์น้ำ โต๊ะสเตนเลสคัดเลือกสัตว์น้ำ เครื่องฉีดน้ำร้อนฆ่าเชื้อแรงดันสูง 1 ชุด กล้องวงจรปิดระบบรักษาความปลอดภัย 1 ชุด และเครื่องประมูลคอมพิวเตอร์ชนิดเคลื่อนที่ได้ (Mobile Auction) 1 ชุด
นายประมวล เผยอีกว่า สำหรับสัตว์น้ำที่เรือประมง นำมาขึ้นที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต มีปีละประมาณ 20,000 ตัน มูลค่าประมาณ 1,500 ล้านบาท เป็นปลาทูน่าเพื่อส่งออก 10% มูลค่าประมาณ 500 ล้านบาท แบ่งเป็นสัตว์น้ำที่ใช้บริโภคในภูเก็ต 45% ที่เหลือส่งไปโรงงานแปรรูปที่จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อส่งออกไปอียู หรือบางส่วนส่งไปยังสิงคโปร์ มาเลเซีย โดยผ่านทางด้านจังโหลน จ.สงขลา และบางส่วนที่เป็นปลาทูน่าส่งไปยังญี่ปุ่น
ในส่วนของปลาทูน่านี้คาดว่า เมื่อท่าเรือแล้วเสร็จเรือทูน่าของจีนและไต้หวัน จะเข้ามาใช้บริการมากขึ้นจากท่าเรือที่ยาวขึ้นสามารถรองรับได้สะดวกและรวดเร็วจากเดิมที่ใช้ริการท่าเรือของเอกชน และต่อไปผู้ซื้อจากญี่ปุ่นสามารถที่จะบินมาเจรจาซื้อขายที่ภูเก็ตได้สะดวก เพราะภูเก็ตมีเที่ยวบินตรงจากญี่ปุ่นเข้ามา
ส่วนการดำเนินการปรัปปรุง นายประมวล กล่าวว่า ขณะนี้แบบการปรับปรุงเสร็จแล้ว คาดว่าจะสามารถเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนก.พ.ปีหน้า ใช้เวลาก่อสร้าง 1 ปี หากไม่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น คาดว่าในเดือนมีนาคม 2549 ภูเก็ตจะได้ท่าเทียบเรือประมง ที่ได้มาตรฐานแห่งหนึ่งของประเทศ