"การจากโลกนี้ไปตลอดกาล คือความปรารถนาสูงสุดของฉันในขณะนี้ และทางเดียวที่จะช่วยฉันได้ คือช่วยให้ชีวิตฉันสิ้นสุดเสียที"
ความในใจบางส่วนของสาววัยต้น 20 หนึ่งในโจทย์ที่ยากและท้าทายของจิตแพทย์ถังเติ้งหัว ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตวัยหนุ่มสาว จากสถาบันสุขภาพจิต มหาวิทยาลัยปักกิ่ง
เธอยังเล่าถึงพฤติกรรมที่ขัดแย้งกันในตัวเองว่า ได้เก็บงำความคิดที่จะฆ่าตัวตายไว้โดยไม่ให้พ่อแม่รู้ เวลาอยู่กับครอบครัวจะแกล้งแสดงออกว่ามีความสุขดี เพื่อให้ท่านสบายใจและไม่คอยจับจ้องพฤติกรรมของเธอมากเกินไป อันจะเป็นหน้าต่างแห่งโอกาสที่เธอจะได้ฆ่าตัวตาย
ในแต่ละวัน จะมีผู้ป่วยที่มีอาการบ่งชี้ว่ากำลังประสบกับความกดดันทางจิตใจมาพบนายแพทย์ถังจำนวนไม่น้อย สำหรับบุคคลเหล่านี้ ความสุขที่เรียบง่ายมันคล้าย 'ความรู้สึกจากต่างดาว' ที่ไกลเกินเอื้อม และไม่ว่าพวกเขาจะพยายามปลดปล่อยตัวเองจากความสิ้นหวังมากแค่ไหน แต่ดูเหมือนความทุกข์ความเจ็บปวดก็ยังคงดำเนินต่อไป
เด็กจีนคิดอยากตายสูง
งานวิจัยของจิตแพทย์ถังเติ้งหัวระบุว่า มีเด็กและหนุ่มสาวราว 10% ในแดนมังกรที่ทุกข์ทรมานอยู่กับความเก็บกดทางใจ ซึ่งเป็นอาการป่วยทางจิตที่มีความสัมพันธ์อย่างมากกับการฆ่าตัวตาย ในจำนวนนี้ 70% มีแนวโน้มจะพัฒนาไปสู่การทำอัตวินิบาตกรรม
ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขจีนยังชี้ว่า ในบรรดาเด็กและหนุ่มสาวทั้งหมด 340 ล้านคน ในช่วงอายุ 17 ปีและต่ำกว่า มีอย่างน้อย 30 ล้านคนที่มีความผิดปกติทางลักษณะนิสัยและอารมณ์ โดยมักมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับคนรอบข้าง จิตใจไม่มั่นคง
เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันสุขภาพจิตแห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ได้ทำการสำรวจวิทยาลัย 16 แห่งในปักกิ่ง เพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่นักเรียนพักการเรียนหรือลาออก
ผลปรากฏว่า ก่อนปี 1982 สาเหตุขั้นพื้นฐานที่ทำให้นักเรียนละทิ้งการศึกษา คือโรคติดต่ออย่าง ไวรัสตับอักเสบบี แต่หลังจากปี 1982 'ความเจ็บป่วยทางจิตใจ' กลับกลายเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ขาดเรียนเป็นเวลานานจนถึงขั้นหยุดเรียน อีกทั้งมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนั้น 15%ของเด็กอายุระหว่าง 8-15 ปีที่นครเทียนจิน ซึ่งอยู่ติดกับกรุงปักกิ่ง กำลังเจ็บป่วยด้วยความกดดันทางใจ
ขณะเดียวกัน ผลสำรวจนักเรียนระดับมัธยมจำนวน 2,500 คนในนครเซี่ยงไฮ้ พบว่า มีนักเรียนถึง 24% ที่มุ่งมาดปรารถนาจะฆ่าตัวตาย 15.23% ครุ่นคิดอย่างหนักที่จะทำเช่นนั้น และ 5.85% เคยพยายามที่จะฆ่าตัวเองมาแล้ว
เหตุแห่งเรื่องน่าเศร้า
รายงานจากหลายสำนักยังชี้ว่า เด็กที่คิดสั้นมักมาจากสาเหตุ บกพร่องทางความสัมพันธ์กับคนรอบข้างรวมทั้งคนรัก หรือไม่สามารถบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาได้
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยแวดล้อมทางสังคมเป็นเพียงส่วนหนึ่ง โดย 'ความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง' ก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
"ช่วงวัยหนุ่ม-สาว ระบบต่อมไร้ท่อภายในร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และบางครั้งอาจกระทบการทำงานของสมอง ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ สามารถพบแพทย์เพื่อรับยามาบรรเทาอาการให้ดีขึ้น" จิตแพทย์ถังกล่าว
แต่ปัญหาอยู่ที่ กลุ่มวัยรุ่นมักไม่กล้าเข้ารับการรักษา โดยเฉพาะกับเจ้าหน้าที่จิตเวชประจำสถานศึกษา เนื่องจากถ้าถูกระบุอย่างแน่ชัดว่ามีความผิดปกติทางจิต ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกบังคับให้ลาออก
คุณหมอถังเผยว่า การอยู่กับพวกเขาตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นวิธีจะช่วยหยุดยั้งอาการ 'สิ้นคิด' ของคนกลุ่มนี้ได้ แต่ในความเป็นจริง นั่นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก วิธีที่ดีที่สุด คือการให้เขาเหล่านั้นตระหนักว่า อาการเก็บกดทางจิตก็แค่โรคธรรมดาโรคหนึ่งเท่านั้น
"คนจำนวนมากที่ตกอยู่ภายใต้ภาวะตกต่ำทางจิตใจมักไม่ไปหาหมอ หรือรู้สึกอายที่จะต้องกลายเป็นคนที่ผิดปกติทางจิต อันนำไปสู่การฆ่าตัวตายอย่างน่าเสียดายมาแล้วหลายกรณี" ไมเคิล ฟิลลิปส์ นักจิตวิทยาชาวแคนนาดาซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในเมืองจีนมาถึง 20 ปี ระบุในฐานะผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งเมืองปักกิ่ง
รักลูกให้ถูกทาง
การสำรวจของมหาวิทยาลัยฟู่ตันและสถาบันศึกษาศาสตร์แห่งนครเซี่ยงไฮ้ยังชี้ว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่นอกจากจะไม่รู้ว่าเด็กๆ คิดอะไรกันอยู่ ยังมักเอ็ดตะโรพวกเขาอย่างรุนแรง
"พ่อแม่ส่วนใหญ่มักคาดหวังในตัวลูกสูงเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่กดดันให้เยาวชนคิดฆ่าตัวตาย" หวังเจินเฟิง ผู้อำนวยการสถาบันดูแลสุขภาพจิตแห่งกรุงปักกิ่งเสริม
นักจิตวิทยายังตำหนิสาเหตุแห่งเรื่องน่าเศร้าว่า มาจากการบ้านมากมายในแต่ละวัน การหมกมุ่นอยู่กับอินเทอร์เน็ต การแข่งขันอย่างดุเดือดในสังคม จังหวะก้าวของชีวิตมนุษย์ที่เร่งรีบขึ้น ตลอดจนความขัดแย้งระหว่างความคิดสมัยใหม่และเก่า โดย บันไดก้าวแรกที่จะช่วยหยุดการทำอัตวินิบาตกรรมในหมู่เยาวชน คือการบ่มเพาะความรู้สึกตระหนักในคุณค่าของตัวเอง ซึ่งพ่อแม่ชาวจีนมักไม่เคยคำนึงถึงเลย
ส่วนคุณหมอถังชี้ว่า การรักลูกมากเกินไปและการขาดวินัยของเด็กๆ ก็เป็นปัจจัยต่อสุขภาพจิตของเยาวชนเช่นกัน สิ่งสำคัญควรสอนให้เขาเรียนรู้ที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ทั้งทางความคิดและจิตใจ โดยพยายามฝึกให้สามารถควบคุมและรู้จักรับผิดชอบตัวเองให้ได้ตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่อให้พร้อมรับมือกับแรงกดดันจากสังคม ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าเป็นตัวเร่งสถิติการฆ่าตัวตายให้เพิ่มขึ้น
ความในใจบางส่วนของสาววัยต้น 20 หนึ่งในโจทย์ที่ยากและท้าทายของจิตแพทย์ถังเติ้งหัว ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตวัยหนุ่มสาว จากสถาบันสุขภาพจิต มหาวิทยาลัยปักกิ่ง
เธอยังเล่าถึงพฤติกรรมที่ขัดแย้งกันในตัวเองว่า ได้เก็บงำความคิดที่จะฆ่าตัวตายไว้โดยไม่ให้พ่อแม่รู้ เวลาอยู่กับครอบครัวจะแกล้งแสดงออกว่ามีความสุขดี เพื่อให้ท่านสบายใจและไม่คอยจับจ้องพฤติกรรมของเธอมากเกินไป อันจะเป็นหน้าต่างแห่งโอกาสที่เธอจะได้ฆ่าตัวตาย
ในแต่ละวัน จะมีผู้ป่วยที่มีอาการบ่งชี้ว่ากำลังประสบกับความกดดันทางจิตใจมาพบนายแพทย์ถังจำนวนไม่น้อย สำหรับบุคคลเหล่านี้ ความสุขที่เรียบง่ายมันคล้าย 'ความรู้สึกจากต่างดาว' ที่ไกลเกินเอื้อม และไม่ว่าพวกเขาจะพยายามปลดปล่อยตัวเองจากความสิ้นหวังมากแค่ไหน แต่ดูเหมือนความทุกข์ความเจ็บปวดก็ยังคงดำเนินต่อไป
เด็กจีนคิดอยากตายสูง
งานวิจัยของจิตแพทย์ถังเติ้งหัวระบุว่า มีเด็กและหนุ่มสาวราว 10% ในแดนมังกรที่ทุกข์ทรมานอยู่กับความเก็บกดทางใจ ซึ่งเป็นอาการป่วยทางจิตที่มีความสัมพันธ์อย่างมากกับการฆ่าตัวตาย ในจำนวนนี้ 70% มีแนวโน้มจะพัฒนาไปสู่การทำอัตวินิบาตกรรม
ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขจีนยังชี้ว่า ในบรรดาเด็กและหนุ่มสาวทั้งหมด 340 ล้านคน ในช่วงอายุ 17 ปีและต่ำกว่า มีอย่างน้อย 30 ล้านคนที่มีความผิดปกติทางลักษณะนิสัยและอารมณ์ โดยมักมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับคนรอบข้าง จิตใจไม่มั่นคง
เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันสุขภาพจิตแห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ได้ทำการสำรวจวิทยาลัย 16 แห่งในปักกิ่ง เพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่นักเรียนพักการเรียนหรือลาออก
ผลปรากฏว่า ก่อนปี 1982 สาเหตุขั้นพื้นฐานที่ทำให้นักเรียนละทิ้งการศึกษา คือโรคติดต่ออย่าง ไวรัสตับอักเสบบี แต่หลังจากปี 1982 'ความเจ็บป่วยทางจิตใจ' กลับกลายเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ขาดเรียนเป็นเวลานานจนถึงขั้นหยุดเรียน อีกทั้งมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนั้น 15%ของเด็กอายุระหว่าง 8-15 ปีที่นครเทียนจิน ซึ่งอยู่ติดกับกรุงปักกิ่ง กำลังเจ็บป่วยด้วยความกดดันทางใจ
ขณะเดียวกัน ผลสำรวจนักเรียนระดับมัธยมจำนวน 2,500 คนในนครเซี่ยงไฮ้ พบว่า มีนักเรียนถึง 24% ที่มุ่งมาดปรารถนาจะฆ่าตัวตาย 15.23% ครุ่นคิดอย่างหนักที่จะทำเช่นนั้น และ 5.85% เคยพยายามที่จะฆ่าตัวเองมาแล้ว
เหตุแห่งเรื่องน่าเศร้า
รายงานจากหลายสำนักยังชี้ว่า เด็กที่คิดสั้นมักมาจากสาเหตุ บกพร่องทางความสัมพันธ์กับคนรอบข้างรวมทั้งคนรัก หรือไม่สามารถบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาได้
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยแวดล้อมทางสังคมเป็นเพียงส่วนหนึ่ง โดย 'ความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง' ก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
"ช่วงวัยหนุ่ม-สาว ระบบต่อมไร้ท่อภายในร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และบางครั้งอาจกระทบการทำงานของสมอง ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ สามารถพบแพทย์เพื่อรับยามาบรรเทาอาการให้ดีขึ้น" จิตแพทย์ถังกล่าว
แต่ปัญหาอยู่ที่ กลุ่มวัยรุ่นมักไม่กล้าเข้ารับการรักษา โดยเฉพาะกับเจ้าหน้าที่จิตเวชประจำสถานศึกษา เนื่องจากถ้าถูกระบุอย่างแน่ชัดว่ามีความผิดปกติทางจิต ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกบังคับให้ลาออก
คุณหมอถังเผยว่า การอยู่กับพวกเขาตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นวิธีจะช่วยหยุดยั้งอาการ 'สิ้นคิด' ของคนกลุ่มนี้ได้ แต่ในความเป็นจริง นั่นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก วิธีที่ดีที่สุด คือการให้เขาเหล่านั้นตระหนักว่า อาการเก็บกดทางจิตก็แค่โรคธรรมดาโรคหนึ่งเท่านั้น
"คนจำนวนมากที่ตกอยู่ภายใต้ภาวะตกต่ำทางจิตใจมักไม่ไปหาหมอ หรือรู้สึกอายที่จะต้องกลายเป็นคนที่ผิดปกติทางจิต อันนำไปสู่การฆ่าตัวตายอย่างน่าเสียดายมาแล้วหลายกรณี" ไมเคิล ฟิลลิปส์ นักจิตวิทยาชาวแคนนาดาซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในเมืองจีนมาถึง 20 ปี ระบุในฐานะผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งเมืองปักกิ่ง
รักลูกให้ถูกทาง
การสำรวจของมหาวิทยาลัยฟู่ตันและสถาบันศึกษาศาสตร์แห่งนครเซี่ยงไฮ้ยังชี้ว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่นอกจากจะไม่รู้ว่าเด็กๆ คิดอะไรกันอยู่ ยังมักเอ็ดตะโรพวกเขาอย่างรุนแรง
"พ่อแม่ส่วนใหญ่มักคาดหวังในตัวลูกสูงเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่กดดันให้เยาวชนคิดฆ่าตัวตาย" หวังเจินเฟิง ผู้อำนวยการสถาบันดูแลสุขภาพจิตแห่งกรุงปักกิ่งเสริม
นักจิตวิทยายังตำหนิสาเหตุแห่งเรื่องน่าเศร้าว่า มาจากการบ้านมากมายในแต่ละวัน การหมกมุ่นอยู่กับอินเทอร์เน็ต การแข่งขันอย่างดุเดือดในสังคม จังหวะก้าวของชีวิตมนุษย์ที่เร่งรีบขึ้น ตลอดจนความขัดแย้งระหว่างความคิดสมัยใหม่และเก่า โดย บันไดก้าวแรกที่จะช่วยหยุดการทำอัตวินิบาตกรรมในหมู่เยาวชน คือการบ่มเพาะความรู้สึกตระหนักในคุณค่าของตัวเอง ซึ่งพ่อแม่ชาวจีนมักไม่เคยคำนึงถึงเลย
ส่วนคุณหมอถังชี้ว่า การรักลูกมากเกินไปและการขาดวินัยของเด็กๆ ก็เป็นปัจจัยต่อสุขภาพจิตของเยาวชนเช่นกัน สิ่งสำคัญควรสอนให้เขาเรียนรู้ที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ทั้งทางความคิดและจิตใจ โดยพยายามฝึกให้สามารถควบคุมและรู้จักรับผิดชอบตัวเองให้ได้ตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่อให้พร้อมรับมือกับแรงกดดันจากสังคม ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าเป็นตัวเร่งสถิติการฆ่าตัวตายให้เพิ่มขึ้น