กมธ.พัฒนาการเมือง สภาผู้แทนฯ มีมติให้ทุกพรรคร่วมแก้ไข กม.เลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว.มาตรา 44 เกี่ยวกับข้อห้ามผู้สมัครกระทำการจูงใจให้ประชาชนมาเลือกตัวเอง โดยให้กำหนดระยะต้องห้ามภายใน 60 วันก่อนครบวาระจนถึงวันเลือกตั้ง หลัง กกต.ไม่สามารถออกกฎเหล็กแนวปฎิบัติและระยะเวลาในการทำกิจกรรมการเมืองได้ โดยต้องแก้ไขให้เสร็จทันการเลือกตั้งครั้งหน้า ด้าน กกต.ห่วงนักการเมืองจะใช้ช่องนอกกรอบเวลาโกงเลือกตั้ง
ที่รัฐสภา วานนี้ (30ก.ย.) นายวิฑูรย์ นามบุตร ประธานคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง สภาผู้แทนราษฎร แถลงผลการประชุมว่า ที่ประชุมได้หยิบยกกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไม่สามารถออกระเบียบเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติและกำหนดระยะเวลาการทำกิจกรรมทางการเมือง สำหรับผู้ลงสมัคร ส.ส.และ ส.ว.ได้ เพราะอาจจะขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 147 เนื่องจากรัฐธรรมนูญเพียงใช้คำว่า“ก่อนได้รับเลือกตั้ง” ไม่เหมือนกับกฎหมายการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น
ที่กำหนดเวลาชัดเจนว่าห้ามทำผิดกฎหมายก่อนเลือกตั้ง 60 วัน
ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบหรือกกต.ถูกวิจารณ์ว่า ใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยโดยเลือกปฏิบัติ คณะกรรมาธิการฯ จึงมีมติเอกฉันท์ให้แก้ไข กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว. พ.ศ 2541 เฉพาะมาตรา 44 เกี่ยวกับการห้ามผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการจูงใจให้ประชาชน มาเลือกตนเอง หรือผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง โดยเพิ่มข้อความ“ห้ามมิให้กระทำการภายใน 60 ก่อนวันครบวาระการดำรงตำแหน่งจนถึงวันเลือกตั้ง”
นายวิฑูรย์ กล่าวว่า ที่ประชุมได้ขอให้กรรมาธิการฯจากทุกพรรคการเมือง ได้ไปชี้แจงต่อพรรคเพื่อเสนอร่างกฏหมายแก้ไขต่อสภาในสัปดาห์หน้าซึ่งจะมีการเสนอ เลื่อนระเบียบวาระเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน เพื่อจะให้มีผลในทางปฏิบัติได้ในการ เลือกตั้ง ส.ส. ที่จะถึงนี้ โดยจะขอให้พิจารณา 3 วาระรวด และจะประสานงานเรื่องนี้ไปยัง วุฒิสภาเพื่อให้เร่งการพิจารณา
นายวิฑูร กล่าวว่า ในเรื่องของระยะเวลาที่ห้ามกระทำการดังกล่าว มีกรรมาธิการ ได้เสนอเวลา 90 วัน เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการสังกัดพรรคการเมือง ของผู้สมัคร แต่หลังจากพิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนกับการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติควรให้อยู่ในบรรทัดฐานเดียวกัน จึงได้ข้อสรุปว่าเป็นระยะเวลา 60 วัน
ส่วนการเคลื่อนไหวที่จะให้เสนอศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตีความในปัญหาดังกล่าว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา266 นั้นนายวิฑูรย์ กล่าวว่า ที่ประชุมได้หารือเรื่องดังกล่าวเช่นกัน แต่เห็นว่าการเสนอตีความดังกล่าวจะต้องเกิดความขัดแย้งเกี่ยวกับการทำหน้าที่ขององค์กรต่างๆ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เป็นความขัดแย้งเป็นเพียง กกต. ไม่สามารถออกระเบียบได้จึงเกรงว่าศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับพิจารณา อีกทั้งหากยื่นตีความอาจจะใช้เวลาพิจารณามาก อาจไม่ทันต่อวาระของสภาจึงเสนอให้มีการ แก้ไขกฏหมายเพียงมาตราเดียว ซึ่งกรรมาธิการของพรรคไทยรักไทยก้ได้รับจะไปประสานงานกับคณะกรรมการประสานงาน (วิป) พรรคร่วมรัฐบาล
อย่างไรก็ตามได้เน้นให้เสนอแก้ไขเพียงประเด็นเดียว อย่าเสนอมากกว่านี้ เพราะอาจมีการถกเถียงกันไม่จบและจะใช้ไม่ทันในการเลือกตังที่จะถึงนี้
นายปริญญา นาคฉัตรีย์ กกต. กล่าวว่า หากส.ส.จะเร่งพิจารณาแก้ไขกฎหมาย เลือกตั้ง เพื่อให้ กกต.กำหนดกรอบเวลาห้ามดำเนินการที่เป็นการจูงใจเลือกตั้ง ก่อนประกาศกฤษฎีกาเลือกตั้ง กกต.ก็พร้อมจะดำเนินการตามกฎหมาย แต่ขอยืนยันว่า ที่ผ่านมา กกต.ได้ออกมติยืนยันว่าไม่กำหนดกรอบเวลาห้ามหาเสียงก่อนนั้นก็เพราะไม่มีกฎหมายรองรับเอาไว้
ผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นห่วงว่าการกำหนดกรอบเวลาดังกล่าวจะทำให้ผู้สมัคร หาช่องทำผิดมากขึ้นหรือไม่ นายปริญญา กล่าวว่า ตนก็เป็นห่วงอยู่เหมือนกัน แต่รัฐธรรมนูญก็ยังให้อำนาจของ กกต.ในการกำกับดูแลการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรม อยู่ดี หากเห็นว่ามีพฤติการณ์ใดที่อยู่ในข่ายเป็นการจูงใจให้ผู้มีสิทธิไปลงคะแนน ให้ผู้หนึ่งผู้ใดนั้น ก็ต้องเอาผิดอยู่ดี อย่างไรก็ตาม หากจะมีการแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งจริง ก็ขอให้พิจารณาแก้ไขเรื่องการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรด้วย เพราะสิ้นเปลืองงบประมาณมาก หากจะให้มีการใช้สิทธิจริงก็ควรเป็นเฉพาะข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศเท่านั้น
ที่รัฐสภา วานนี้ (30ก.ย.) นายวิฑูรย์ นามบุตร ประธานคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง สภาผู้แทนราษฎร แถลงผลการประชุมว่า ที่ประชุมได้หยิบยกกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไม่สามารถออกระเบียบเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติและกำหนดระยะเวลาการทำกิจกรรมทางการเมือง สำหรับผู้ลงสมัคร ส.ส.และ ส.ว.ได้ เพราะอาจจะขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 147 เนื่องจากรัฐธรรมนูญเพียงใช้คำว่า“ก่อนได้รับเลือกตั้ง” ไม่เหมือนกับกฎหมายการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น
ที่กำหนดเวลาชัดเจนว่าห้ามทำผิดกฎหมายก่อนเลือกตั้ง 60 วัน
ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบหรือกกต.ถูกวิจารณ์ว่า ใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยโดยเลือกปฏิบัติ คณะกรรมาธิการฯ จึงมีมติเอกฉันท์ให้แก้ไข กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว. พ.ศ 2541 เฉพาะมาตรา 44 เกี่ยวกับการห้ามผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการจูงใจให้ประชาชน มาเลือกตนเอง หรือผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง โดยเพิ่มข้อความ“ห้ามมิให้กระทำการภายใน 60 ก่อนวันครบวาระการดำรงตำแหน่งจนถึงวันเลือกตั้ง”
นายวิฑูรย์ กล่าวว่า ที่ประชุมได้ขอให้กรรมาธิการฯจากทุกพรรคการเมือง ได้ไปชี้แจงต่อพรรคเพื่อเสนอร่างกฏหมายแก้ไขต่อสภาในสัปดาห์หน้าซึ่งจะมีการเสนอ เลื่อนระเบียบวาระเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน เพื่อจะให้มีผลในทางปฏิบัติได้ในการ เลือกตั้ง ส.ส. ที่จะถึงนี้ โดยจะขอให้พิจารณา 3 วาระรวด และจะประสานงานเรื่องนี้ไปยัง วุฒิสภาเพื่อให้เร่งการพิจารณา
นายวิฑูร กล่าวว่า ในเรื่องของระยะเวลาที่ห้ามกระทำการดังกล่าว มีกรรมาธิการ ได้เสนอเวลา 90 วัน เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการสังกัดพรรคการเมือง ของผู้สมัคร แต่หลังจากพิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนกับการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติควรให้อยู่ในบรรทัดฐานเดียวกัน จึงได้ข้อสรุปว่าเป็นระยะเวลา 60 วัน
ส่วนการเคลื่อนไหวที่จะให้เสนอศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตีความในปัญหาดังกล่าว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา266 นั้นนายวิฑูรย์ กล่าวว่า ที่ประชุมได้หารือเรื่องดังกล่าวเช่นกัน แต่เห็นว่าการเสนอตีความดังกล่าวจะต้องเกิดความขัดแย้งเกี่ยวกับการทำหน้าที่ขององค์กรต่างๆ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เป็นความขัดแย้งเป็นเพียง กกต. ไม่สามารถออกระเบียบได้จึงเกรงว่าศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับพิจารณา อีกทั้งหากยื่นตีความอาจจะใช้เวลาพิจารณามาก อาจไม่ทันต่อวาระของสภาจึงเสนอให้มีการ แก้ไขกฏหมายเพียงมาตราเดียว ซึ่งกรรมาธิการของพรรคไทยรักไทยก้ได้รับจะไปประสานงานกับคณะกรรมการประสานงาน (วิป) พรรคร่วมรัฐบาล
อย่างไรก็ตามได้เน้นให้เสนอแก้ไขเพียงประเด็นเดียว อย่าเสนอมากกว่านี้ เพราะอาจมีการถกเถียงกันไม่จบและจะใช้ไม่ทันในการเลือกตังที่จะถึงนี้
นายปริญญา นาคฉัตรีย์ กกต. กล่าวว่า หากส.ส.จะเร่งพิจารณาแก้ไขกฎหมาย เลือกตั้ง เพื่อให้ กกต.กำหนดกรอบเวลาห้ามดำเนินการที่เป็นการจูงใจเลือกตั้ง ก่อนประกาศกฤษฎีกาเลือกตั้ง กกต.ก็พร้อมจะดำเนินการตามกฎหมาย แต่ขอยืนยันว่า ที่ผ่านมา กกต.ได้ออกมติยืนยันว่าไม่กำหนดกรอบเวลาห้ามหาเสียงก่อนนั้นก็เพราะไม่มีกฎหมายรองรับเอาไว้
ผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นห่วงว่าการกำหนดกรอบเวลาดังกล่าวจะทำให้ผู้สมัคร หาช่องทำผิดมากขึ้นหรือไม่ นายปริญญา กล่าวว่า ตนก็เป็นห่วงอยู่เหมือนกัน แต่รัฐธรรมนูญก็ยังให้อำนาจของ กกต.ในการกำกับดูแลการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรม อยู่ดี หากเห็นว่ามีพฤติการณ์ใดที่อยู่ในข่ายเป็นการจูงใจให้ผู้มีสิทธิไปลงคะแนน ให้ผู้หนึ่งผู้ใดนั้น ก็ต้องเอาผิดอยู่ดี อย่างไรก็ตาม หากจะมีการแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งจริง ก็ขอให้พิจารณาแก้ไขเรื่องการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรด้วย เพราะสิ้นเปลืองงบประมาณมาก หากจะให้มีการใช้สิทธิจริงก็ควรเป็นเฉพาะข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศเท่านั้น