นครสวรรค์- โรงเยื่อกระดาษเอ็นไวรอนเม็นท์พัลพ์ แอนด์ เปเปอร์ เริ่มผลิตกระดาษจากชานอ้อย วันนี้(7 กันยายน) มั่นใจไร้ปัญหา อีก 1 เดือนส่งขายต่างประเทศทันที
นายอภิชาต นุชประยูร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทเอ็นไวรอนเม็นท์พัลพ์ แอนด์ เปเปอร์จำกัด"EPPCO" เปิดเผยว่า โรงงานอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษไทย เตรียมทดลองเดินเครื่องจักรเพื่อผลิตเป็นเยื่อกระดาษในวันนี้(7 กันยายน )
ทั้งนี้ วัตถุดิบชานอ้อยที่ใช้ในการผลิต เป็นวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานน้ำตาลเกษตรไทย ที่ต้องเผาทิ้งเป็นประจำ กระทั่งนำเครื่องจักรเทคโนโลยีการผลิตอุตสาหกรรมกระดาษจากชานอ้อยของประเทศญี่ปุ่นพร้อมติดตั้งเครื่องดักฝุ่น และสร้างโรงงานไฟฟ้าใช้เอง จำนวน 32 เมกะวัตต์แล้วเสร็จ โดยใช้ถ่านหินคุณภาพสูง กำมะถันต่ำ ผลิตเป็นเยื่อกระดาษ
ตามเป้าหมายของกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษนั้น จะต้องใช้ชานอ้อยจำนวน 1,350 ตันต่อวัน หรือ 450,000 ตันต่อปี จากโรงงานน้ำตาลเกษตรไทย ที่มีกำลังผลิตถึงวันละ 40,000 ตันต่อวัน ซึ่งในช่วงหีบอ้อยปริมาณชานอ้อยมากถึง 9,760 ตันต่อวันหรือ 1,464,000 ตันต่อฤดูที่ต้องเผาทำลาย ทว่ากลับมาผ่านกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษที่ใช้กากอ้อย เช่นเดียวกับไม้ยูคาลิปตัส ทำให้มีผลผลิต 90,000 ตันต่อปีหรือวันละ 300 ตันต่อวัน และมั่นใจว่าอีก 1 เดือนหลังจากทดลองเดินเครื่อง ไร้ปัญหาก็สามารถส่งออกสินค้าได้ทันที
สำหรับโครงการเยื่อกระดาษชานอ้อยของบริษัทเอ็นไวรอนเม็นท์พัลพ์ แอนด์ เปเปอร์ จำกัด ตั้งโรงงานที่ 9/9 หมู่ 1 ต.หนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ทุนจดทะเบียน 1,200 ล้านบาท บนเนื้อที่ 450 ไร่ กำลังผลิต 90,000 ตันต่อปีหรือวันละ 300 ตันต่อวัน มูลค่าการลงทุน 2,800 ล้านบาท ว่าจ้างแรงงานไทยไม่ต่ำกว่า 200 คน
บ.เอ็นไวรอนเม็นท์พัลพ์ แอนด์ เปเปอร์ มีขนาดใหญ่ กว่าโรงกระดาษสยามคราฟเท่าตัว ขนาดเท่าๆกับโรงงาน(แรก)ของฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ โดยมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงค์โปร์ร่วมทุน และมีเป้าหมายเข้าตลาดหลักทรัพย์ที่สิงคโปร์ คาดว่าปีแรกบริษัทควรมีกำไร สินค้ามีจุดขายคือ โรงงานไม่ตัดไม้ทำลายป่า ส่งออกกระดาษในต่างประเทศเป็นหลัก อาทิ ญี่ปุ่น ไต้หวันและเกาหลี
นายอภิชาต นุชประยูร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทเอ็นไวรอนเม็นท์พัลพ์ แอนด์ เปเปอร์จำกัด"EPPCO" เปิดเผยว่า โรงงานอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษไทย เตรียมทดลองเดินเครื่องจักรเพื่อผลิตเป็นเยื่อกระดาษในวันนี้(7 กันยายน )
ทั้งนี้ วัตถุดิบชานอ้อยที่ใช้ในการผลิต เป็นวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานน้ำตาลเกษตรไทย ที่ต้องเผาทิ้งเป็นประจำ กระทั่งนำเครื่องจักรเทคโนโลยีการผลิตอุตสาหกรรมกระดาษจากชานอ้อยของประเทศญี่ปุ่นพร้อมติดตั้งเครื่องดักฝุ่น และสร้างโรงงานไฟฟ้าใช้เอง จำนวน 32 เมกะวัตต์แล้วเสร็จ โดยใช้ถ่านหินคุณภาพสูง กำมะถันต่ำ ผลิตเป็นเยื่อกระดาษ
ตามเป้าหมายของกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษนั้น จะต้องใช้ชานอ้อยจำนวน 1,350 ตันต่อวัน หรือ 450,000 ตันต่อปี จากโรงงานน้ำตาลเกษตรไทย ที่มีกำลังผลิตถึงวันละ 40,000 ตันต่อวัน ซึ่งในช่วงหีบอ้อยปริมาณชานอ้อยมากถึง 9,760 ตันต่อวันหรือ 1,464,000 ตันต่อฤดูที่ต้องเผาทำลาย ทว่ากลับมาผ่านกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษที่ใช้กากอ้อย เช่นเดียวกับไม้ยูคาลิปตัส ทำให้มีผลผลิต 90,000 ตันต่อปีหรือวันละ 300 ตันต่อวัน และมั่นใจว่าอีก 1 เดือนหลังจากทดลองเดินเครื่อง ไร้ปัญหาก็สามารถส่งออกสินค้าได้ทันที
สำหรับโครงการเยื่อกระดาษชานอ้อยของบริษัทเอ็นไวรอนเม็นท์พัลพ์ แอนด์ เปเปอร์ จำกัด ตั้งโรงงานที่ 9/9 หมู่ 1 ต.หนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ทุนจดทะเบียน 1,200 ล้านบาท บนเนื้อที่ 450 ไร่ กำลังผลิต 90,000 ตันต่อปีหรือวันละ 300 ตันต่อวัน มูลค่าการลงทุน 2,800 ล้านบาท ว่าจ้างแรงงานไทยไม่ต่ำกว่า 200 คน
บ.เอ็นไวรอนเม็นท์พัลพ์ แอนด์ เปเปอร์ มีขนาดใหญ่ กว่าโรงกระดาษสยามคราฟเท่าตัว ขนาดเท่าๆกับโรงงาน(แรก)ของฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ โดยมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงค์โปร์ร่วมทุน และมีเป้าหมายเข้าตลาดหลักทรัพย์ที่สิงคโปร์ คาดว่าปีแรกบริษัทควรมีกำไร สินค้ามีจุดขายคือ โรงงานไม่ตัดไม้ทำลายป่า ส่งออกกระดาษในต่างประเทศเป็นหลัก อาทิ ญี่ปุ่น ไต้หวันและเกาหลี