ในสถานการณ์
เสนาคาม
บังคับชำระภาษีรถยนต์พ่วงประกันภัยใครได้ประโยชน์?
แม้จะไม่เป็นข่าวครึกโครมนัก แต่การดีเดย์บังคับ ็ปรับรอบภาษีิ ให้ผู้ใช้รถต้องควักเงินจ่ายซื้อ พ.ร.บ.ประกันภัยบุคคลที่ 3 ไปพร้อมๆ กับการชำระภาษีประจำปี เมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา ของกรมการขนส่งทางบก ก็สร้างความโกลาหลอลหม่านไม่น้อย ให้กับผู้ใช้รถทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
เรื่องของเรื่อง เพราะบางคนเพิ่งจะเสียเงินซื้อ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถไปสดๆ ร้อนๆ ไม่กี่วัน แต่พอมายื่นขอต่อทะเบียน จะให้เขาควักจ่ายใหม่อีกรอบ แล้วใครหน้าไหนมันจะยอม!
แม้กรมการขนส่งทางบก จะยืนกระต่ายขาเดียว อ้างว่าเพื่อสนับสนุนให้ผู้ใช้รถได้ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด และเพื่อให้ประชาชนมีหลักประกัน ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นก็ตาม
แต่ในมุมของคนใช้รถที่ต้องควักกระเป๋าจ่ายเงินซ้ำซ้อน เขาไม่คิดอย่างนั้นด้วย แถมยังตั้งข้อสงสัยเอาอีกต่างหากว่า กรมการขนส่งทางบก กำลังมุบมิบทำอะไรกับใครอยู่..
เพราะเหตุผลทั้ง 2 ข้อ ที่ยกขึ้นมาอ้างนั้น มันฟังไม่ขึ้น!
ทั้งหลายทั้งปวง เนื่องจากกฎหมายที่มีอยู่ระบุไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่า รถทุกคัน ไม่เว้นแม้กระทั่งมอเตอร์ไซด์ ก็ต้องมี พ.ร.บ.บุคคลที่ 3 ด้วย ส่วนหากคันไหนที่ไม่มี หรือหมดอายุแล้วไม่ยอมต่อ หากตรวจพบก็ต้องเสียค่าปรับในอัตราที่สูงลิ่ว คิดเป็นเงินนับหมื่นบาท
นอกจากนั้น เวลามาต่อทะเบียน หรือชำระภาษีประจำปี หากรถคันไหนที่ไม่มี พ.ร.บ.บุคคลที่ 3 ก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ต่อทะเบียนเช่นกัน
ดังนั้น การออกระเบียบบังคับ ปรับรอบิภาษีรถชนปีิพ่วงกับการชำระค่าประกันภัย จึงเป็นอะไรที่น่าคิดอยู่ไม่น้อย ว่าใครกันแน่ที่ได้ประโยชน์! เสียประโยชน์!
และเหนือสิ่งอื่นใด มีการตั้งข้อสังเกตกันว่า การออกคำสั่งให้ผู้ใช้รถทำประกันภัยภาคบังคับของกรมการขนส่งทางบกหนนี้ น่าจะเป็น ็คำสั่งเถื่อนิด้วยซ้ำ เพราะไม่มีกฎหมายฉบับไหนรองรับ
กฎหมายที่มีอยู่บังคับให้ผู้ใช้รถ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีประจำปี แต่ไม่ได้บอกให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจ ็ปฏิเสธ"ิหรือไม่รับชำระภาษีจากผู้ใช้รถ ยกเว้นอำนาจตาม พ.ร.บ.บุคคลที่ 3 ที่กล่าวถึงข้างต้น
เรื่องนี้เห็นว่าแม้แต่คนในกรมการขนส่งทางบกเองแท้ๆ ยังมีมากเกินกว่าครึ่งค่อน ที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว และยุให้ผู้ใช้รถไปฟ้องศาลปกครองด้วยซ้ำว่า เป็นการใช้อำนาจทางปกครองที่ชอบหรือไม่?
เอาเป็นว่า เรื่องนี้ไม่ว่าจะออกมาจากมันสมองก้อนโตของใคร..ระหว่างนักการเมือง ข้าราชการประจำ และบริษัทประกันภัย ใครจะตกเป็นเครื่องมือของใครก็ตาม
แต่รับรองงานใหญ่ขนาดนี้ มีเบื้องหลังการถ่ายทำแน่!
โดยเฉพาะตัวเลข 3 เปอร์เซ็นต์ จากรถมอเตอร์ไซด์ และ 12 เปอร์เซ็นต์ จากรถยนต์ทุกประเภท ที่มีการพูดจาต่อรองหักหัวคิวจากบริษัทประกัน งานนี้เห็นว่าลองลัดนิ้วดูกันคร่าวๆ แล้ว จะมีเงินนอกระบบไหลเข้ากระเป๋าใครต่อใครบ้างไม่รู้ สูงถึงปีละไม่น้อยกว่า 400 ล้านบาท ว่ากันอย่างนั้น..
ทั้งหมดทั้งมวลที่ว่ามา อยากให้รองนายกรัฐมนตรี จาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีช่วยคมนาคม นิกร จำนง และอธิบดี ปิยะพันธุ์ จัมปาสุต ช่วยไปตรวจสอบดูหน่อยว่า ข้อเท็จจริงมันเป็นอย่างที่ว่าหรือไม่
โดยเฉพาะที่อาคาร 2 ของกรมการขนส่งทางบก ที่แบ่งพื้นที่ให้ตัวแทนบริษัทรถยนต์ และบริษัทประกัน มาปักหลักตั้งโต๊ะทำงาน ถ่ายหนัก ถ่ายเบา ใช้น้ำใช้ไฟหลวง แบบไม่เสียเงินสักบาทนั้น
ใครมันได้ประโยชน์!
อย่าเพิ่งร้อนตัวแอบไปติดมิเตอร์กันเสียก่อนล่ะ เพราะ สตง.คงไม่โง่พอที่จะไม่ขอดูหลักฐานย้อนหลังหรอกครับ.
เสนาคาม
บังคับชำระภาษีรถยนต์พ่วงประกันภัยใครได้ประโยชน์?
แม้จะไม่เป็นข่าวครึกโครมนัก แต่การดีเดย์บังคับ ็ปรับรอบภาษีิ ให้ผู้ใช้รถต้องควักเงินจ่ายซื้อ พ.ร.บ.ประกันภัยบุคคลที่ 3 ไปพร้อมๆ กับการชำระภาษีประจำปี เมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา ของกรมการขนส่งทางบก ก็สร้างความโกลาหลอลหม่านไม่น้อย ให้กับผู้ใช้รถทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
เรื่องของเรื่อง เพราะบางคนเพิ่งจะเสียเงินซื้อ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถไปสดๆ ร้อนๆ ไม่กี่วัน แต่พอมายื่นขอต่อทะเบียน จะให้เขาควักจ่ายใหม่อีกรอบ แล้วใครหน้าไหนมันจะยอม!
แม้กรมการขนส่งทางบก จะยืนกระต่ายขาเดียว อ้างว่าเพื่อสนับสนุนให้ผู้ใช้รถได้ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด และเพื่อให้ประชาชนมีหลักประกัน ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นก็ตาม
แต่ในมุมของคนใช้รถที่ต้องควักกระเป๋าจ่ายเงินซ้ำซ้อน เขาไม่คิดอย่างนั้นด้วย แถมยังตั้งข้อสงสัยเอาอีกต่างหากว่า กรมการขนส่งทางบก กำลังมุบมิบทำอะไรกับใครอยู่..
เพราะเหตุผลทั้ง 2 ข้อ ที่ยกขึ้นมาอ้างนั้น มันฟังไม่ขึ้น!
ทั้งหลายทั้งปวง เนื่องจากกฎหมายที่มีอยู่ระบุไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่า รถทุกคัน ไม่เว้นแม้กระทั่งมอเตอร์ไซด์ ก็ต้องมี พ.ร.บ.บุคคลที่ 3 ด้วย ส่วนหากคันไหนที่ไม่มี หรือหมดอายุแล้วไม่ยอมต่อ หากตรวจพบก็ต้องเสียค่าปรับในอัตราที่สูงลิ่ว คิดเป็นเงินนับหมื่นบาท
นอกจากนั้น เวลามาต่อทะเบียน หรือชำระภาษีประจำปี หากรถคันไหนที่ไม่มี พ.ร.บ.บุคคลที่ 3 ก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ต่อทะเบียนเช่นกัน
ดังนั้น การออกระเบียบบังคับ ปรับรอบิภาษีรถชนปีิพ่วงกับการชำระค่าประกันภัย จึงเป็นอะไรที่น่าคิดอยู่ไม่น้อย ว่าใครกันแน่ที่ได้ประโยชน์! เสียประโยชน์!
และเหนือสิ่งอื่นใด มีการตั้งข้อสังเกตกันว่า การออกคำสั่งให้ผู้ใช้รถทำประกันภัยภาคบังคับของกรมการขนส่งทางบกหนนี้ น่าจะเป็น ็คำสั่งเถื่อนิด้วยซ้ำ เพราะไม่มีกฎหมายฉบับไหนรองรับ
กฎหมายที่มีอยู่บังคับให้ผู้ใช้รถ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีประจำปี แต่ไม่ได้บอกให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจ ็ปฏิเสธ"ิหรือไม่รับชำระภาษีจากผู้ใช้รถ ยกเว้นอำนาจตาม พ.ร.บ.บุคคลที่ 3 ที่กล่าวถึงข้างต้น
เรื่องนี้เห็นว่าแม้แต่คนในกรมการขนส่งทางบกเองแท้ๆ ยังมีมากเกินกว่าครึ่งค่อน ที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว และยุให้ผู้ใช้รถไปฟ้องศาลปกครองด้วยซ้ำว่า เป็นการใช้อำนาจทางปกครองที่ชอบหรือไม่?
เอาเป็นว่า เรื่องนี้ไม่ว่าจะออกมาจากมันสมองก้อนโตของใคร..ระหว่างนักการเมือง ข้าราชการประจำ และบริษัทประกันภัย ใครจะตกเป็นเครื่องมือของใครก็ตาม
แต่รับรองงานใหญ่ขนาดนี้ มีเบื้องหลังการถ่ายทำแน่!
โดยเฉพาะตัวเลข 3 เปอร์เซ็นต์ จากรถมอเตอร์ไซด์ และ 12 เปอร์เซ็นต์ จากรถยนต์ทุกประเภท ที่มีการพูดจาต่อรองหักหัวคิวจากบริษัทประกัน งานนี้เห็นว่าลองลัดนิ้วดูกันคร่าวๆ แล้ว จะมีเงินนอกระบบไหลเข้ากระเป๋าใครต่อใครบ้างไม่รู้ สูงถึงปีละไม่น้อยกว่า 400 ล้านบาท ว่ากันอย่างนั้น..
ทั้งหมดทั้งมวลที่ว่ามา อยากให้รองนายกรัฐมนตรี จาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีช่วยคมนาคม นิกร จำนง และอธิบดี ปิยะพันธุ์ จัมปาสุต ช่วยไปตรวจสอบดูหน่อยว่า ข้อเท็จจริงมันเป็นอย่างที่ว่าหรือไม่
โดยเฉพาะที่อาคาร 2 ของกรมการขนส่งทางบก ที่แบ่งพื้นที่ให้ตัวแทนบริษัทรถยนต์ และบริษัทประกัน มาปักหลักตั้งโต๊ะทำงาน ถ่ายหนัก ถ่ายเบา ใช้น้ำใช้ไฟหลวง แบบไม่เสียเงินสักบาทนั้น
ใครมันได้ประโยชน์!
อย่าเพิ่งร้อนตัวแอบไปติดมิเตอร์กันเสียก่อนล่ะ เพราะ สตง.คงไม่โง่พอที่จะไม่ขอดูหลักฐานย้อนหลังหรอกครับ.