ศูนย์ข่าวภูเก็ต -การรื้อถอนรีสอร์ตหรูบนหาดในหาน ที่นายทุนลอบสร้างโดยไม่ขออนุญาตอบต.ราไวย์ จำนวน 23 หลังสะดุด คาดต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะรื้อได้ เหตุเจ้าของรีสอร์ตดิ้นทำหนังสืออุทธรณ์ให้คณะกรรมการอุทธรณ์จังหวัด แม้คณะกรรมการฯจะยืนยันคำสั่งอบต. แต่เจ้าของยังฟ้องศาลปกครองได้จนถึงศาลปกครองสูงสุด
นายทวี หอมหวล วิศวกรวิชาชีพ 8 (วิศวกรรมโยธา) สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดภูเก็ต เปิดเผย ถึงการตรวจสอบรื้อถอนรีสอร์ตหรูบนหาดในหาน ที่นายทุนก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลราไวย์(อบต.ราไวย์) จำนวน 23 หลังว่า ภายหลังจากที่อบต.ราไวย์ ตรวจสอบพบว่า มีการลักลอบก่อสร้างรีสอร์ตดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็ได้สั่งแจ้งให้เจ้าของรีสอร์ตยื่นขออนุญาตก่อสร้างและระงับการก่อสร้าง ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2547
หลังจากนั้นในวันที่ 26 เมษายน 2547 นางสาวสมจิตร เจริญสุขเจี่ย เจ้าของรีสอร์ตได้ยื่นขออนุญาตก่อสร้างตามแบบ ข1. เลขที่ 117/47 ลงวันที่ 26 เมษายน 2547 แต่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อนุญาต เนื่องจากขาดเอกสารหลักฐานที่ดิน เพราะในการก่ออนุญาตก่อสร้าง จะต้องมีเอกสารหลักฐานที่ดินที่เป็น ส.ค. 1 ใบตราจอง นส.3 นส.3 ก. โฉนดที่ดินเท่านั้น แต่เจ้าของรีสอร์ตได้ยื่นเอกสารหลักฐาน ที่เป็นใบรับรองการจ่ายภาษีบำรุงท้องที่เท่านั้น ซึ่งตามกฎหมายไม่สามารถที่จะออกใบอนุญาตก่อสร้างให้ได้
อบต.ราไวย์ จึงได้แจ้งให้เจ้าของรีสอร์ตทำการรื้อถอน ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2547 ให้เสร็จภายใน 30 วัน แต่ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 เจ้าของรีสอร์ตได้ทำหนังสืออุทธรณ์มายังอบต.ว่าคำสั่งของอบต.ราไวย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และอบต.ได้ส่งหนังสืออุทธรณ์ให้คณะกรรมการอุทธรณ์จังหวัดภูเก็ต ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน พิจารณา เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2547 ซึ่งคณะกรรมการฯจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วัน
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการอุทธรณ์ ปรากฏ ว่ายังขาดหลักฐานคำชี้แจงของเจ้าพนักงานท้องถิ่นคือนายกอบต.ราไวย์ จึงได้ทำหนังสือด่วนไปยังอบต.ราไวย์ให้ส่งหนังสือชี้แจงดังกล่าวเข้ามาภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2547 ซึ่งอบต.ราไวย์ได้ส่งหนังสือชี้แจงมาแล้ว และขณะนี้อยู่ในการนัดคณะกรรมการอุทธรณ์ประชุมเพื่อพิจารณา ซึ่งเมื่อผลการพิจารณาเป็นอย่างไรจะต้องแจ้งให้ทั้งอบต.ราไวย์และเจ้าของรีสอร์ตทราบ เพราะในส่วนของเจ้าของรีสอร์ตสามารถที่จะฟ้องร้องผ่านทางศาลปกครองได้ ภายใน 30 วัน
นายทวี กล่าวอีกว่า การฟ้องร้องมายังคณะกรรมการอุทธรณ์ กรณีที่คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ชอบด้วยกฎหมายในปีนี้ มีเพียงเรื่องรีสอร์ตที่หาดในหานเพียงเรื่องเดียว แต่ในปีที่ผ่านมามีทั้งหมด 3 เรื่อง ที่ป่าตอง เชิงทะเล และรัษฎา โดยการก่อสร้างบ้านที่อยู่อาศัยและร้านค้าไม่ได้รับอนุญาตจากอบต.
นายอุดมศักดิ์ อัศวรางกูร ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ในการพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์ คงจะพิจารณาตามเอกสารหลักฐานที่มีอยู่ ซึ่งเอกสารที่เจ้าของรีสอร์ตได้ยื่นเพื่อขออนุญาตก่อสร้างรีสอร์ตเป็นเอกสารหลักฐานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายการขออนุญาตก่อสร้าง เพราะเป็นเพียงใบรับรองการจ่ายภาษีบำรุงท้องที่เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว คิดว่าการรื้อรีสอร์ตดังกล่าวคงต้องใช้เวลาอีกหลายปี เพราะเชื่อแน่ว่า เมื่อคณะกรรมการฯเห็นชอบคำสั่งของอบต.ราไวย์ เจ้าของรีสอร์ตจะต้องฟ้องร้องไปยังศาลปกครอง และหากศาลปกครองยังยืนยันคำสั่งของอบต.ราไวย์ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าของรีสอร์ตก็ยังสามารถฟ้องร้องถึงศาลปกครองสูงสุดได้อีก ซึ่งเรื่องนี้คงจะไม่จบลงง่ายอย่างแน่นอน เพราะกฎหมายได้เปิดทางให้กับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย
นายทวี หอมหวล วิศวกรวิชาชีพ 8 (วิศวกรรมโยธา) สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดภูเก็ต เปิดเผย ถึงการตรวจสอบรื้อถอนรีสอร์ตหรูบนหาดในหาน ที่นายทุนก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลราไวย์(อบต.ราไวย์) จำนวน 23 หลังว่า ภายหลังจากที่อบต.ราไวย์ ตรวจสอบพบว่า มีการลักลอบก่อสร้างรีสอร์ตดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็ได้สั่งแจ้งให้เจ้าของรีสอร์ตยื่นขออนุญาตก่อสร้างและระงับการก่อสร้าง ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2547
หลังจากนั้นในวันที่ 26 เมษายน 2547 นางสาวสมจิตร เจริญสุขเจี่ย เจ้าของรีสอร์ตได้ยื่นขออนุญาตก่อสร้างตามแบบ ข1. เลขที่ 117/47 ลงวันที่ 26 เมษายน 2547 แต่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อนุญาต เนื่องจากขาดเอกสารหลักฐานที่ดิน เพราะในการก่ออนุญาตก่อสร้าง จะต้องมีเอกสารหลักฐานที่ดินที่เป็น ส.ค. 1 ใบตราจอง นส.3 นส.3 ก. โฉนดที่ดินเท่านั้น แต่เจ้าของรีสอร์ตได้ยื่นเอกสารหลักฐาน ที่เป็นใบรับรองการจ่ายภาษีบำรุงท้องที่เท่านั้น ซึ่งตามกฎหมายไม่สามารถที่จะออกใบอนุญาตก่อสร้างให้ได้
อบต.ราไวย์ จึงได้แจ้งให้เจ้าของรีสอร์ตทำการรื้อถอน ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2547 ให้เสร็จภายใน 30 วัน แต่ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 เจ้าของรีสอร์ตได้ทำหนังสืออุทธรณ์มายังอบต.ว่าคำสั่งของอบต.ราไวย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และอบต.ได้ส่งหนังสืออุทธรณ์ให้คณะกรรมการอุทธรณ์จังหวัดภูเก็ต ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน พิจารณา เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2547 ซึ่งคณะกรรมการฯจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วัน
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการอุทธรณ์ ปรากฏ ว่ายังขาดหลักฐานคำชี้แจงของเจ้าพนักงานท้องถิ่นคือนายกอบต.ราไวย์ จึงได้ทำหนังสือด่วนไปยังอบต.ราไวย์ให้ส่งหนังสือชี้แจงดังกล่าวเข้ามาภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2547 ซึ่งอบต.ราไวย์ได้ส่งหนังสือชี้แจงมาแล้ว และขณะนี้อยู่ในการนัดคณะกรรมการอุทธรณ์ประชุมเพื่อพิจารณา ซึ่งเมื่อผลการพิจารณาเป็นอย่างไรจะต้องแจ้งให้ทั้งอบต.ราไวย์และเจ้าของรีสอร์ตทราบ เพราะในส่วนของเจ้าของรีสอร์ตสามารถที่จะฟ้องร้องผ่านทางศาลปกครองได้ ภายใน 30 วัน
นายทวี กล่าวอีกว่า การฟ้องร้องมายังคณะกรรมการอุทธรณ์ กรณีที่คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ชอบด้วยกฎหมายในปีนี้ มีเพียงเรื่องรีสอร์ตที่หาดในหานเพียงเรื่องเดียว แต่ในปีที่ผ่านมามีทั้งหมด 3 เรื่อง ที่ป่าตอง เชิงทะเล และรัษฎา โดยการก่อสร้างบ้านที่อยู่อาศัยและร้านค้าไม่ได้รับอนุญาตจากอบต.
นายอุดมศักดิ์ อัศวรางกูร ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ในการพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์ คงจะพิจารณาตามเอกสารหลักฐานที่มีอยู่ ซึ่งเอกสารที่เจ้าของรีสอร์ตได้ยื่นเพื่อขออนุญาตก่อสร้างรีสอร์ตเป็นเอกสารหลักฐานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายการขออนุญาตก่อสร้าง เพราะเป็นเพียงใบรับรองการจ่ายภาษีบำรุงท้องที่เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว คิดว่าการรื้อรีสอร์ตดังกล่าวคงต้องใช้เวลาอีกหลายปี เพราะเชื่อแน่ว่า เมื่อคณะกรรมการฯเห็นชอบคำสั่งของอบต.ราไวย์ เจ้าของรีสอร์ตจะต้องฟ้องร้องไปยังศาลปกครอง และหากศาลปกครองยังยืนยันคำสั่งของอบต.ราไวย์ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าของรีสอร์ตก็ยังสามารถฟ้องร้องถึงศาลปกครองสูงสุดได้อีก ซึ่งเรื่องนี้คงจะไม่จบลงง่ายอย่างแน่นอน เพราะกฎหมายได้เปิดทางให้กับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย