การประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ (17 ส.ค.)สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะได้รายงานความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง กระบวนการทำงานระหว่างสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาจิกับรัฐบาล เข้าสู่ครม. ตามที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งมอบให้ สศช.ประชุมร่วมกับสำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ.เพื่อจัดทำความเห็นผลการพิจารณา และผลการดำเนินการต่อข้อปรึกษาและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ
โดยสรุปได้ว่า ควรจัดตั้งให้สำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ ที่มีความอิสระให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของประธานสภาที่ปรึกษาฯ เพื่อให้การบริหารสำนักงานมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ โดยไม่ยึดติดกับระบบกฎเกณฑ์ทางราชการ ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่กำหนดให้สำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ เป็นส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือ ทบวง อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี สำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ ไม่ควรมีบทบาทอย่างใดทั้งสิ้นในกระบวนการสรรหา สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เนื่องจากเป็นเพียงหน่วยงานธุรกการมีหน้าที่ในการดำเนินการต่างๆ
นอกจากนี้ควรจัดสรรบุคลากรและงบประมาณในการดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาฯ อย่างเพียงพอ เพื่อให้สภาที่ปรึกษาฯ สามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ส่วนในกรณีที่รัฐบาลจะจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินแทน “แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ” รัฐบาลมีนโยบายที่จะให้สภาที่ปรึกษาฯ มีบทบาทหน้าที่อย่างไรต่อไป และ “แผนอื่นๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติต้องให้สภาที่ปรึกษาฯ ให้ความเห็นก่อนพิจารณาประกาศใช้” จะประกอบด้วยแผนใดบ้าง
“ทั้งนี้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ซึ่งจะต้องพิจารณาประกาศใช้ในปี 2550 รัฐบาลยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนว่า จะดำเนินการหรือไม่ อย่างไร แต่ครม.ได้มีความเห็นว่า จะมีการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) ในรูปของแผนยุทธศาสตร์ที่จะมีรูปแบบที่มีความยืดหยุ่นกว่าแผนพัฒนาที่ผ่านมา ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นจริง สภาที่ปรึกษาฯ ก็สามารถที่จะให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ได้ ตามมาตรา 10 (1) และมาตรา 13 หรือ ครม.อาจจะส่งให้สภาที่ปรึกษาฯ พิจารณาให้คำปรึกษาเพื่อเสนอความเห็นต่อครม. ตามมาตรา 12 และมาตรา 15”
พร้อมกันนี้ควรสร้างรูปแบบอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเนื้อหาและรูปแบบการจัดทำรายงานผลการพิจารณาและผลการดำเนินการของ ครม.ในเรื่องที่สภาที่ปรึกษาฯ ให้ความเห็นชอบและข้อเสนอแนะ รวมทั้งรูปแบบอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการเปิดเผยเหตุผลในการพิจาณาาและผลการดำเนินการของครม.ให้สาธารณชนทราบ โดยเฉพาะเนื้อหาที่จะเผยแพร่ ช่องทางและระยะเวลาในการเปิดเผยสู่สาธารณชน และควรจัดสรรสื่อของรัฐ เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างสภาที่ปรึกษากับประชาชน
โดยสรุปได้ว่า ควรจัดตั้งให้สำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ ที่มีความอิสระให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของประธานสภาที่ปรึกษาฯ เพื่อให้การบริหารสำนักงานมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ โดยไม่ยึดติดกับระบบกฎเกณฑ์ทางราชการ ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่กำหนดให้สำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ เป็นส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือ ทบวง อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี สำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ ไม่ควรมีบทบาทอย่างใดทั้งสิ้นในกระบวนการสรรหา สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เนื่องจากเป็นเพียงหน่วยงานธุรกการมีหน้าที่ในการดำเนินการต่างๆ
นอกจากนี้ควรจัดสรรบุคลากรและงบประมาณในการดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาฯ อย่างเพียงพอ เพื่อให้สภาที่ปรึกษาฯ สามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ส่วนในกรณีที่รัฐบาลจะจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินแทน “แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ” รัฐบาลมีนโยบายที่จะให้สภาที่ปรึกษาฯ มีบทบาทหน้าที่อย่างไรต่อไป และ “แผนอื่นๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติต้องให้สภาที่ปรึกษาฯ ให้ความเห็นก่อนพิจารณาประกาศใช้” จะประกอบด้วยแผนใดบ้าง
“ทั้งนี้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ซึ่งจะต้องพิจารณาประกาศใช้ในปี 2550 รัฐบาลยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนว่า จะดำเนินการหรือไม่ อย่างไร แต่ครม.ได้มีความเห็นว่า จะมีการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) ในรูปของแผนยุทธศาสตร์ที่จะมีรูปแบบที่มีความยืดหยุ่นกว่าแผนพัฒนาที่ผ่านมา ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นจริง สภาที่ปรึกษาฯ ก็สามารถที่จะให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ได้ ตามมาตรา 10 (1) และมาตรา 13 หรือ ครม.อาจจะส่งให้สภาที่ปรึกษาฯ พิจารณาให้คำปรึกษาเพื่อเสนอความเห็นต่อครม. ตามมาตรา 12 และมาตรา 15”
พร้อมกันนี้ควรสร้างรูปแบบอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเนื้อหาและรูปแบบการจัดทำรายงานผลการพิจารณาและผลการดำเนินการของ ครม.ในเรื่องที่สภาที่ปรึกษาฯ ให้ความเห็นชอบและข้อเสนอแนะ รวมทั้งรูปแบบอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการเปิดเผยเหตุผลในการพิจาณาาและผลการดำเนินการของครม.ให้สาธารณชนทราบ โดยเฉพาะเนื้อหาที่จะเผยแพร่ ช่องทางและระยะเวลาในการเปิดเผยสู่สาธารณชน และควรจัดสรรสื่อของรัฐ เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างสภาที่ปรึกษากับประชาชน