ผู้จัดการรายวัน - นักรัฐศาสตร์แนะ "ผู้ว่าฯ กทม."ต้องมีความเป็นอิสระ และ กำหนดนโยบายจากความ
ต้องการของคนกรุงเทพฯ เป็นสำคัญ ไม่ใช่เดินตามก้นรัฐบาล รวมทั้งกลุ่มผู้สนับสนุนที่มุ่งหวังแต่ผลประโยชน์
แนะดึงภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร
รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวในงาน
เสวนาเรื่อง "จากความฝันสู่ความเป็นจริงของการเมืองกับการบริหารกรุงเทพมหานคร"ว่า ที่ผ่านมาการ
กระจายอำนาจกับการปกครองส่วนท้องถิ่นยังคงมีอำนาจแฝงที่เข้ามาครอบงำโดยเฉพาะการบริหารงานของผู้
ว่าฯกทม.ที่ต้องอาศัยงบประมาณจากทางรัฐบาลในการจัดสรรลงมา
ดังนั้น โครงการหาเสียงตามที่เคยสัญญาไว้กับประชา ก็ต้องถูกเก็บเข้ากรุ หรือไม่ก็ต้อง
เปลี่ยนแปลงแก้ไขใหม่ให้ตรงใจทางรัฐบาล เพราะหากไม่แก้ไขก็ไม่มีทางที่เกิดขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม นับจากนี้เป็นต้นไป ผู้ว่าฯกทม.ควรตื่นจากความฝันและกรอบเดิมๆ ที่ทาง
รัฐบาลได้ขีดเอาไว้ แล้วลงมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง ด้วยการดึงภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น
เพราะหากมัวแต่เดินตามนโยบายระดับประเทศ อาทิ โครงการบ้านเอื้ออาทร โครงการลดหนี้ภาคประชาชน
ฯลฯ ก็อาจทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีก็ได้
ด้าน ร.ศ.สมชัย ศรีสุทธิยากร กล่าวว่า การบริหารงานของกทม.ที่ผ่านมามองข้ามผู้ช่วยที่
จงรักภักดีอย่างข้าราชการประจำ แต่ไปให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สนับสนุนหรือนักการเมืองมากจนเกินไป
เพราะมีเป้าหมายเพียงแค่การตักตวงผลประโยชน์เท่านั้น
ขณะเดียวกัน ผู้ว่าฯกทม.ก็ควรเลิกพฤติกรรมโยนก้อนหินถามทางจากผู้มีอำนาจเงิน แต่
ควรหันมาโยนก้อนหินถามทางจากชาวบ้านว่าต้องการให้แก้ไขปัญหาใดให้บ้าง
"ไม่ใช่ปากก็บอกว่า กทม.เป็นเจ้าของพื้นที่ก็จริง แต่พอชาวบ้านเดือดร้อนเรื่องน้ำไม่ไหล
ไฟก็ดับ โทรไปแจ้งศูนย์แจ้งข่าวร้องทุกข์คราวใดจะได้แต่คำที่ปัดความรับผิดชอบว่าไม่ใช่หน้าที่รับผิดชอบ
โดยตรง"
ขณะที่ ดร.อรทัย ก๊กผล แสดงความเห็นว่า การบริหารงานจัดการท้องถิ่นของ กทม.มี
ความซ้ำซ้อนเชิงกับการบริหารงานของรัฐบาล เพราะรัฐบาลต้องการใช้พื้นที่ กทม.รองรับรูปแบบแนวการ
บริหารงานเชิงนโยบายของรัฐบาลให้ประชาชนอีก 75 จังหวัดได้รับทราบ
ดังนั้น จึงอยากให้กทม.แยกการบริหารจัดการโครงการที่ซ้ำซ้อนกับทางรัฐบาลออกอย่าง
เป็นรูปธรรมเพื่อไม่ให้เอาเงินภาษีของประชาชนมาละเลงในโครงการเดียวกันอีก เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นต้น
ต้องการของคนกรุงเทพฯ เป็นสำคัญ ไม่ใช่เดินตามก้นรัฐบาล รวมทั้งกลุ่มผู้สนับสนุนที่มุ่งหวังแต่ผลประโยชน์
แนะดึงภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร
รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวในงาน
เสวนาเรื่อง "จากความฝันสู่ความเป็นจริงของการเมืองกับการบริหารกรุงเทพมหานคร"ว่า ที่ผ่านมาการ
กระจายอำนาจกับการปกครองส่วนท้องถิ่นยังคงมีอำนาจแฝงที่เข้ามาครอบงำโดยเฉพาะการบริหารงานของผู้
ว่าฯกทม.ที่ต้องอาศัยงบประมาณจากทางรัฐบาลในการจัดสรรลงมา
ดังนั้น โครงการหาเสียงตามที่เคยสัญญาไว้กับประชา ก็ต้องถูกเก็บเข้ากรุ หรือไม่ก็ต้อง
เปลี่ยนแปลงแก้ไขใหม่ให้ตรงใจทางรัฐบาล เพราะหากไม่แก้ไขก็ไม่มีทางที่เกิดขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม นับจากนี้เป็นต้นไป ผู้ว่าฯกทม.ควรตื่นจากความฝันและกรอบเดิมๆ ที่ทาง
รัฐบาลได้ขีดเอาไว้ แล้วลงมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง ด้วยการดึงภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น
เพราะหากมัวแต่เดินตามนโยบายระดับประเทศ อาทิ โครงการบ้านเอื้ออาทร โครงการลดหนี้ภาคประชาชน
ฯลฯ ก็อาจทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีก็ได้
ด้าน ร.ศ.สมชัย ศรีสุทธิยากร กล่าวว่า การบริหารงานของกทม.ที่ผ่านมามองข้ามผู้ช่วยที่
จงรักภักดีอย่างข้าราชการประจำ แต่ไปให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สนับสนุนหรือนักการเมืองมากจนเกินไป
เพราะมีเป้าหมายเพียงแค่การตักตวงผลประโยชน์เท่านั้น
ขณะเดียวกัน ผู้ว่าฯกทม.ก็ควรเลิกพฤติกรรมโยนก้อนหินถามทางจากผู้มีอำนาจเงิน แต่
ควรหันมาโยนก้อนหินถามทางจากชาวบ้านว่าต้องการให้แก้ไขปัญหาใดให้บ้าง
"ไม่ใช่ปากก็บอกว่า กทม.เป็นเจ้าของพื้นที่ก็จริง แต่พอชาวบ้านเดือดร้อนเรื่องน้ำไม่ไหล
ไฟก็ดับ โทรไปแจ้งศูนย์แจ้งข่าวร้องทุกข์คราวใดจะได้แต่คำที่ปัดความรับผิดชอบว่าไม่ใช่หน้าที่รับผิดชอบ
โดยตรง"
ขณะที่ ดร.อรทัย ก๊กผล แสดงความเห็นว่า การบริหารงานจัดการท้องถิ่นของ กทม.มี
ความซ้ำซ้อนเชิงกับการบริหารงานของรัฐบาล เพราะรัฐบาลต้องการใช้พื้นที่ กทม.รองรับรูปแบบแนวการ
บริหารงานเชิงนโยบายของรัฐบาลให้ประชาชนอีก 75 จังหวัดได้รับทราบ
ดังนั้น จึงอยากให้กทม.แยกการบริหารจัดการโครงการที่ซ้ำซ้อนกับทางรัฐบาลออกอย่าง
เป็นรูปธรรมเพื่อไม่ให้เอาเงินภาษีของประชาชนมาละเลงในโครงการเดียวกันอีก เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นต้น