นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานบอร์ดบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น กล่าวถึงการติดไมโครโฟนดักฟังในห้องผู้สื่อข่าวประจำกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร หรือ ไอวีทีว่า ได้สั่งการให้ฝ่ายบริหารของทศท แถลงข่าวด่วนถึงกรณี ที่มีการพบอุปกรณ์ลักษณะคล้ายไมโครโฟนติดตั้งในห้องผู้สื่อข่าวประจำกระทรวง ไอซีที เนื่องจากห้องผู้สื่อข่าวอยู่ภายในอาคารของทศท
“ผมไม่รู้เรื่องนี้เลย และเชื่อว่าท่านรัฐมนตรีสุรพงษ์ (สืบวงศ์ลี) ก็ไม่ทราบเรื่อง เช่นกัน แต่ผมสั่งให้ฝ่ายบริหารทศทแถลงข่าวชี้แจงโดนด่วนเพื่อให้ผู้สื่อข่าวสามารถซักถามได้ทุกประเด็นที่สงสัย"
ปัจจุบันที่ตั้งของกระทรวงไอซีทีตั้งอยู่ 3 ชั้นบนสุดของอาคาร 9 ทศท สำนักงานใหญ่แจ้งวัฒนะ โดยมีห้องผู้สื่อข่าวอยู่ชั้น 1 ใกล้ๆกับห้องทำงานของฝ่ายประชาสัมพันธ์ทศท โดยห้องผู้สื่อข่าวประจำกระทรวงไอซีที ได้มีการใช้งานมานานหลายเดือน แล้ว
ด้านนายจำรัส ตันตรีสุคนธ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ทศท กล่าวว่าอุปกรณ์ดังกล่าวติดตั้งขึ้นเพื่อทดสอบความสมบูรณ์แบบระบบเสียงภายในห้อง เนื่องจากห้อง ผู้สื่อข่าวเป็นห้องที่แบ่งซอยมาจากห้องแถลงข่าวทศท ที่ทั้งห้องจะติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวไว้รวม 4 ชุด แต่เมื่อแบ่งห้องแล้วอุปกรณ์ยังคงเหลืออยู่อีก 2 ชุด และทศท ยังไม่ได้นำอุปกรณ์ออกเพราะเห็นว่าเป็นการทดสอบระบบเสียง
“ผมยืนยันว่าไม่ได้ตั้งใจจะดักฟังข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น เพราะหากเป็นการดักฟังจริง จะไม่สามารถสังเกตอุปกร์ได้ชัดเจนขนาดนี้และขอให้ผู้สื่อข่าวสบายใจได้”
น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.ไอซีที กล่าวว่าจะดำเนินการตรวจสอบว่าอุปกรณ์ดังกล่าวเชื่อมโยงไปที่ห้องไหนและมีวัตถุประสงค์อะไรที่จะต้องติดไว้ที่ห้องผู้สื่อข่าว ซึ่งหากเป็นอุปกรณ์ที่สามารถดักฟังได้จริง ก็ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและจะเอาผิดกับทศททันที
นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ เลขาธิการสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะถ้ามีการดักฟังการสนทนา ของผู้สื่อข่าวจริงถือว่า เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรงและยังเป็นการแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชนอันเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย และรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น เพื่อความกระจ่างในเรื่องดังกล่าว ทางกรรมการสมาคมฯ มีความเห็น ร่วมกันว่า จะตั้งคณะทำงาน โดยมีนายภัทระ คำพิทักษ์ส อุปนายกสมาคมฯ ฝ่ายสิทธิเสรีภาพ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน กรรมการประกอบด้วย ประธานชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ กรรมการสมาคมฯ ด้านสิทธิเสรีภาพ เลขาธิการสมาคมฯ ฯลฯ ขึ้นมาหาข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน
ขณะเดียวกันทางสมาคม ฯ ขอเรียกร้องให้ น.พ. สุรพงษ์ส สืบวงศ์ลี รมว.ไอซีที เร่งสอบสวนเรื่องนี้ให้กระจ่างด้วยการแต่งตั้งบุคคลภายนอกขึ้นมาดำเนินการและเปิดเผยผลการสอบสวนต่อสาธารณชนโดยเร็วิส นายประสงค์กล่าว
ด้าน นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ได้ยินแล้วรู้สึกตกใจ เพราะตลอด 30 ปีที่ทำงานการเมืองไม่เคยมีเรื่องเช่นนี้ และไม่ทราบว่าไปดักฟังทำไม หรืออาจจะเกิดความระแวงว่าผู้สื่อข่าวจะนินทารัฐมนตรีหรือรัฐบาล ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผลดีทั้งสิ้น เพราะเป็นนักการเมืองเป็นบุคคลสาธารณะ ใครจะวิจารณ์บ้างถือเป็นเรื่องปกติที่ต้องพึงรับฟัง ซึ่งเรื่องนี้ตามรัฐธรรมนูญก็ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิชัดเจน แต่จะเอากฎหมายมาดำเนินการคงลำบาก แต่ในแง่มารยาทและความรู้สึกนึกคิดทางการเมืองเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความคับแคบที่ไม่เคยมีมาก่อน
“นี่ไปไกลถึงขนาดว่ามีการตั้งเครื่องดักฟัง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายาม ที่จะจับผิด ต่อไปดีไม่ดี ใครก็ตามที่เกิดไปวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะที่ไม่เข้าหูกันขึ้นมา ก็อาจจะมีการข่มขู่คุกคามตามมาอีก ผมคิดว่ามันไม่ใช่ความประพฤติของฝ่าย ปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ภาวะการณ์ดูคล้ายเยอรมันยุคนาซีเข้าไปทุกที ที่มีเกตตาโปคอยจับผิด ถ้ามีอย่างนี้บ่อย ๆ ต่อไปบรรยากาศในบ้านเมืองจะกลายเป็นความหวาดระแวง ความน่าสะพรึงกลัวกันไปหมด บ้านเมืองจะแย่ กลายเป็นอาณาจักรแห่งความหวาดกลัวไป”
ส่วนที่รัฐมนตรีไอซีที บอกว่าไม่ทราบเรื่องโดยอ้างว่าอาจจะเป็นการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ นายบัญญัติ กล่าวว่า ถ้าไม่มีสัญญาณอะไรลงไป ฝ่ายข้าราชการประจำนั้นระมัดระวังตัวไม่อยากเอาตัวเองไปพัวพันก็คงไม่กล้าทำ และจริง ๆ แล้วถ้าข้าราชการประจำทำก็ไม่รู้จะทำไปทำไมจึงน่าจะมีคนส่งสัญญาณลงไปมากกว่า
“เมื่อรัฐบาลตั้งใจจะเข้ามาทำงานในระบบเช่นนี้ ก็จะต้องปรับทัศนคติ ต้องพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ต้องพร้อมที่จะรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ ในฐานะที่เป็นบุคคลสาธารณะ และโอกาสของรัฐบาลในการที่จะชี้แจงทำความเข้าใจ ก็มีอยู่มาก เพราะสามารถใช้สื่ออะไรที่ไหนก็ได้ จึงไม่เข้าใจว่า เหตุใดจึงมีความพยายาม ที่จะปกปิดบิดเบือนอะไรต่ออะไรกันอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งไม่ใช่ ครรลองประชาธิปไตย ผมคิดว่า การกระทำดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลเกิดภาวะขาลงอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้”
“ผมไม่รู้เรื่องนี้เลย และเชื่อว่าท่านรัฐมนตรีสุรพงษ์ (สืบวงศ์ลี) ก็ไม่ทราบเรื่อง เช่นกัน แต่ผมสั่งให้ฝ่ายบริหารทศทแถลงข่าวชี้แจงโดนด่วนเพื่อให้ผู้สื่อข่าวสามารถซักถามได้ทุกประเด็นที่สงสัย"
ปัจจุบันที่ตั้งของกระทรวงไอซีทีตั้งอยู่ 3 ชั้นบนสุดของอาคาร 9 ทศท สำนักงานใหญ่แจ้งวัฒนะ โดยมีห้องผู้สื่อข่าวอยู่ชั้น 1 ใกล้ๆกับห้องทำงานของฝ่ายประชาสัมพันธ์ทศท โดยห้องผู้สื่อข่าวประจำกระทรวงไอซีที ได้มีการใช้งานมานานหลายเดือน แล้ว
ด้านนายจำรัส ตันตรีสุคนธ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ทศท กล่าวว่าอุปกรณ์ดังกล่าวติดตั้งขึ้นเพื่อทดสอบความสมบูรณ์แบบระบบเสียงภายในห้อง เนื่องจากห้อง ผู้สื่อข่าวเป็นห้องที่แบ่งซอยมาจากห้องแถลงข่าวทศท ที่ทั้งห้องจะติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวไว้รวม 4 ชุด แต่เมื่อแบ่งห้องแล้วอุปกรณ์ยังคงเหลืออยู่อีก 2 ชุด และทศท ยังไม่ได้นำอุปกรณ์ออกเพราะเห็นว่าเป็นการทดสอบระบบเสียง
“ผมยืนยันว่าไม่ได้ตั้งใจจะดักฟังข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น เพราะหากเป็นการดักฟังจริง จะไม่สามารถสังเกตอุปกร์ได้ชัดเจนขนาดนี้และขอให้ผู้สื่อข่าวสบายใจได้”
น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.ไอซีที กล่าวว่าจะดำเนินการตรวจสอบว่าอุปกรณ์ดังกล่าวเชื่อมโยงไปที่ห้องไหนและมีวัตถุประสงค์อะไรที่จะต้องติดไว้ที่ห้องผู้สื่อข่าว ซึ่งหากเป็นอุปกรณ์ที่สามารถดักฟังได้จริง ก็ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและจะเอาผิดกับทศททันที
นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ เลขาธิการสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะถ้ามีการดักฟังการสนทนา ของผู้สื่อข่าวจริงถือว่า เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรงและยังเป็นการแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชนอันเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย และรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น เพื่อความกระจ่างในเรื่องดังกล่าว ทางกรรมการสมาคมฯ มีความเห็น ร่วมกันว่า จะตั้งคณะทำงาน โดยมีนายภัทระ คำพิทักษ์ส อุปนายกสมาคมฯ ฝ่ายสิทธิเสรีภาพ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน กรรมการประกอบด้วย ประธานชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ กรรมการสมาคมฯ ด้านสิทธิเสรีภาพ เลขาธิการสมาคมฯ ฯลฯ ขึ้นมาหาข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน
ขณะเดียวกันทางสมาคม ฯ ขอเรียกร้องให้ น.พ. สุรพงษ์ส สืบวงศ์ลี รมว.ไอซีที เร่งสอบสวนเรื่องนี้ให้กระจ่างด้วยการแต่งตั้งบุคคลภายนอกขึ้นมาดำเนินการและเปิดเผยผลการสอบสวนต่อสาธารณชนโดยเร็วิส นายประสงค์กล่าว
ด้าน นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ได้ยินแล้วรู้สึกตกใจ เพราะตลอด 30 ปีที่ทำงานการเมืองไม่เคยมีเรื่องเช่นนี้ และไม่ทราบว่าไปดักฟังทำไม หรืออาจจะเกิดความระแวงว่าผู้สื่อข่าวจะนินทารัฐมนตรีหรือรัฐบาล ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผลดีทั้งสิ้น เพราะเป็นนักการเมืองเป็นบุคคลสาธารณะ ใครจะวิจารณ์บ้างถือเป็นเรื่องปกติที่ต้องพึงรับฟัง ซึ่งเรื่องนี้ตามรัฐธรรมนูญก็ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิชัดเจน แต่จะเอากฎหมายมาดำเนินการคงลำบาก แต่ในแง่มารยาทและความรู้สึกนึกคิดทางการเมืองเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความคับแคบที่ไม่เคยมีมาก่อน
“นี่ไปไกลถึงขนาดว่ามีการตั้งเครื่องดักฟัง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายาม ที่จะจับผิด ต่อไปดีไม่ดี ใครก็ตามที่เกิดไปวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะที่ไม่เข้าหูกันขึ้นมา ก็อาจจะมีการข่มขู่คุกคามตามมาอีก ผมคิดว่ามันไม่ใช่ความประพฤติของฝ่าย ปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ภาวะการณ์ดูคล้ายเยอรมันยุคนาซีเข้าไปทุกที ที่มีเกตตาโปคอยจับผิด ถ้ามีอย่างนี้บ่อย ๆ ต่อไปบรรยากาศในบ้านเมืองจะกลายเป็นความหวาดระแวง ความน่าสะพรึงกลัวกันไปหมด บ้านเมืองจะแย่ กลายเป็นอาณาจักรแห่งความหวาดกลัวไป”
ส่วนที่รัฐมนตรีไอซีที บอกว่าไม่ทราบเรื่องโดยอ้างว่าอาจจะเป็นการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ นายบัญญัติ กล่าวว่า ถ้าไม่มีสัญญาณอะไรลงไป ฝ่ายข้าราชการประจำนั้นระมัดระวังตัวไม่อยากเอาตัวเองไปพัวพันก็คงไม่กล้าทำ และจริง ๆ แล้วถ้าข้าราชการประจำทำก็ไม่รู้จะทำไปทำไมจึงน่าจะมีคนส่งสัญญาณลงไปมากกว่า
“เมื่อรัฐบาลตั้งใจจะเข้ามาทำงานในระบบเช่นนี้ ก็จะต้องปรับทัศนคติ ต้องพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ต้องพร้อมที่จะรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ ในฐานะที่เป็นบุคคลสาธารณะ และโอกาสของรัฐบาลในการที่จะชี้แจงทำความเข้าใจ ก็มีอยู่มาก เพราะสามารถใช้สื่ออะไรที่ไหนก็ได้ จึงไม่เข้าใจว่า เหตุใดจึงมีความพยายาม ที่จะปกปิดบิดเบือนอะไรต่ออะไรกันอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งไม่ใช่ ครรลองประชาธิปไตย ผมคิดว่า การกระทำดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลเกิดภาวะขาลงอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้”