“ซิป้า”ปรับกลยุทธ์ดันอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้เติบโต หลังเปิดตัวเลขมูลค่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ปี 49 สูงถึง 52,763 ล้านบาทจากยอดอุตฯไอซีทีรวม 131,480 ล้านบาท ผอ.อาวุธยันซิป้าไม่เงียบหรือไร้ผลงาน ขณะนี้ซุ่มเจรจาต่างชาติพันธมิตรร่วมหนุนงานสร้างผลงานซอฟต์แวร์ไทยหลายราย ล่าสุดได้กระทรวงพาณิชย์เข้ามาช่วยนำโปรดักส์ไทยไปนำเสนอผ่านช่องทางการค้าทั่วโลก ดึงทุนนอกเข้ามาช่วยกระจายงาน แถมได้ สสว.และเอสเอ็มแบงก์ร่วมหนุน
นายอาวุธ พลอยส่องแสง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า กล่าวว่า ในช่วง 3-6 เดือนที่มา ซิป้าได้มีการปรับแผนการส่งเสริมและผลักดันอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและการจำแนกกลุ่มเป้าหมายการผลักดันให้ตรงกับความต้องการของตลาดให้มากที่สุด ทั้งกลุ่มผู้ใช้งานและกลุ่มผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่เข้ารับการส่งเสริมกับซิป้า โดยเฉพาะการนำซอฟต์แวร์ไทยขยายไปยังตลาดผู้ใช้ต่างประเทศ ให้เกิดการจ้างผลิตและการเข้าร่วมลงทุน ที่ขณะนี้ซิป้าได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงพาณิชย์ช่วยซิป้านำผลงานแอนนิเมชั่น แอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ ไปกระจายผ่านสำนักงาน 59 แห่งทั่วโลกเช่นเดียวกับสินค้าส่งออกอื่นๆ ที่กระทรวงพาณิชย์เปิดตลาดในต่างประเทศอยู่
“การเปิดตลาดซอฟต์แวร์ในต่างประเทศ ได้ง่ายขึ้น จากที่ผ่านมาซอฟต์แวร์ของไทยไม่ค่อยได้รับการเชื่อถือมากนัก ซึ่งเบื้องต้นจะโฟกัสในแถบเอเชียเป็นหลัก ตั้งเป้าว่า จะทำให้มูลค่าการส่งออกซอฟต์แวร์ในปีนี้เติบโตเท่าตัว หรือประมาณ 6 พันล้านบาทสิ้นปีนี้ และเพิ่มเป็น 1.2 หมื่นล้านบาทในปีหน้า จากปีที่ผ่านมามีมูลค่า 2.8 พันล้านบาท”
ส่วนการส่งเสริมผู้ประกอบการในประเทศ ซิป้าจะให้ความสำคัญเรื่องการจับคู่ทางธุรกิจ (บิสสิเนส แมทชิ่ง) ระหว่างบริษัทไทยกับบริษัทต่างประเทศมากขึ้นซึ่งเป็นแนวทางมาตั้งแต่คณะกรรมการ (บอร์ด) ชุดที่แล้ว ช่วยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายเล็กมีโอกาสเติบโตได้มากขึ้น รวมทั้งการหาความร่วมมือทางแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการ เช่น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)เพราะปัญหาปัจจุบัน คือ ซอฟต์แวร์ไทยไม่ได้รับการยอมรับจากสถาบันการเงินเท่าที่ควร
นอกจากนี้ ซิป้าจะส่งเสริมการใช้งานซอฟต์แวร์ระบบเปิด (โอเพ่นซอร์ส) สู่การใช้งานในวงกว้าง หรือตลาดแมสมากขึ้น โดยเฉพาะแอปพลิเคชัน หรือโซลูชัน ให้สำหรับกลุ่มเอสเอ็มอีที่หันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านไอทีมากขึ้น ซึ่งทางซิป้าจะให้เห็นถึงข้อดีของการใช้โอเพ่นซอร์ส ถึงการช่วยลดต้นทุนที่จะช่วยให้ตลาดซอฟต์แวร์ในประเทศเติบโตกว่าเดิม และยังไม่รวมถึงการให้ผู้ใช้ทั่วไป กลุ่มโฮมยูส หันมาเลือกนำไปใช้งาน
“หากทุกฝ่ายร่วมกันใช้จะเป็นส่วนหนึ่งของกลไกในการสร้างอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่ผลิตในประเทศรวมถึงบุคคลากรให้เกิดการขยายตัวเพิ่มากขึ้น ถึงแม้โอเพ่นซอร์สหลายคนมาองว่าจะเป็นซอฟต์แวร์แจกจ่ายฟรี และส่วนนี้หากมีการแก้ไขให้มีการนำไปต่อยอดและให้เห็นเป็นมูลค่าขึ้นมา ตรงส่วนนี้จะเป็นส่วนสำคัญในการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศได้เป็นอย่างดียิ่ง”
ผู้อำนวยการซิป้ากล่าวอีกว่า ด้านการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร ซิป้าได้มีการปรับเพิ่มอีกหนึ่งแผนเข้ามาในเรื่องของซอฟต์แวร์ฝังตัวในอุปกรณ์ชิ้นส่วน(Embedded Software) ที่จะเป็นกลุ่มที่มีความต้องการจากตลาดโลกสูง แต่ไทยยังขาดความเชี่ยวชาญด้านนี้ โดยขณะนี้ทางบริษัท โตโยต้า ประเทศญี่ปุ่น ให้การตอบรับที่จะให้ประเทศไทยส่งบุคลลากรไปอบรม เพื่อวางรากฐาน และปูทางสู่การผลิตให้กับโตโยต้าในอนาคตด้วย
ล่าสุดซิป้าได้จัดให้มีการสำรวจตลาดซอฟต์แวร์ในประเทศไทยประจำปี 2549 ขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการสำรวจตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ประจำปี 2549 ซึ่งการสำรวจตลาดครั้งนี้ ได้มีการขยายขอบเขตการสำรวจในตลาดซอฟต์แวร์ให้ครอบคลุมซอฟต์แวร์ 5 ประเภทหลัก คือ Enterprise Software, Mobile Application, Embedded System Software, กลุ่มธุรกิจ Animation และซอฟต์แวร์กลุ่มอื่นๆ ที่ไม่สามารถจัดหมวดหมู่ได้ โดยมอบให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำรวจ เพื่อประเมินมูลค่าการใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ที่เกิดขึ้นในประเทศ รวมทั้งศึกษาถึงสถานภาพของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ โดยการสำรวจดังกล่าวมีขึ้นระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2549 - มกราคม 2550
“การสำรวจครั้งนี้ทางเราและเนคเทคได้ร่วมกัน โดยไปสอบถามกลุ่มผู้ประกอบการในธุรกิจไอซีทีและอุตสาหกรรมไอซีที 1 พันรายซึ่งส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือและให้ข้อมูลอย่างดี ที่ต้องการช่วยส่งเสริมผลักดันให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยมีเติบโตมากขึ้นและสามารถนำไปประกอบข้อมูลส่งเสริมการทำตลาดแข่งขันได้”
ผลการสำรวจมูลค่าตลาดไอทีพบว่า ในปี 2549 มูลค่าของตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ และตลาดบริการด้านคอมพิวเตอร์รวมกันมีมูลค่า 131,480 ล้านบาท ตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์มีสัดส่วนถือครองตลาดสูงสุด มีมูลค่า 65,947 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50 ของตลาด โดยตลาดซอฟต์แวร์และตลาดบริการด้านคอมพิวเตอร์อยู่ในลำดับรองลงมา โดยมีมูลค่า 52,763 ล้านบาท และ 12,770 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อย 40 และร้อยละ 10 ตามลำดับ
ขณะที่ตลาดซอฟต์แวร์ได้มีการขยายขอบเขตของการสำรวจ โดยรวมธุรกิจด้าน Animation เข้าไว้ด้วย ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตลาดคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์มีมูลค่า 52,763 ล้านบาท เมื่อพิจารณาซอฟต์แวร์หลัก 4 ประเภท โดยไม่รวมซอฟต์แวร์ในกลุ่มอื่นๆที่จัดประเภทไม่ได้พบว่า ซอฟต์แวร์กลุ่ม Enterprise มีสัดส่วนสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 84 รองลงมาได้แก่ กลุ่ม Animation คิดเป็นร้อยละ 5 ในขณะที่ กลุ่ม Mobile Application และกลุ่ม Embedded System Software มีขนาดเท่ากันอยู่ที่ร้อยละ 3 แต่เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มของตลาดที่ผู้ประกอบการเป็นผู้ขายหรือผู้ผลิตซอฟต์แวร์ คือไม่รวมกลุ่ม Animation พบว่า ตลาดซอฟต์แวร์ของปี 2549 ในนิยามแคบนี้ มีมูลค่า 50,064 ล้านบาท ซึ่งโตจากปี 2548 ถึงร้อยละ 21
ส่วนผลการสำรวจจำนวนบุคลากรในบริษัทซอฟต์แวร์โดยรวมในปี 2549 พบว่า มีบุคลากรทั้งสิ้น 46,944 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ประมาณ 4,000 คน แบ่งเป็นบุคลากรด้านเทคนิคร้อยละ 86 และบุคลากรที่ไม่ใช่ด้านเทคนิคร้อยละ 14 ดังรายละเอียดตารางที่ 6 จะเห็นได้ว่าบุคลากรในธุรกิจซอฟต์แวร์ทั่วไปซึ่งไม่รวม Animation มีบุคลากรด้านเทคนิครวม 38, 975 คน พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในตำแหน่ง Programmer/Developer ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 48 สำหรับในกลุ่มของ Animation ซึ่งปี 2549 เป็นปีแรกที่ทำการสำรวจพบว่ามีพนักงานด้านเทคนิคประมาณ 1,300 คน โดยร้อยละ 18 อยู่ในตำแหน่ง Animator
สำหรับในปี 2550 นั้น มีการคาดการณ์ว่าตลาดโดยรวมจะเติบโตประมาณร้อยละ 13 ตลาดซอฟต์แวร์จะเป็นส่วนที่มีการขยายตัวมากที่สุด อยู่ที่ประมาณร้อยละ 18 ตลาดบริการด้านคอมพิวเตอร์จะมีการเติบโตตามไปด้วยในอัตราร้อยละ 15 ขณะที่ตลาดของฮาร์ดแวร์เติบโตร้อยละ 9 ซึ่งในภาพรวมถือได้ว่าการเติบโตอยู่ในระดับต่ำกว่าแนวโน้มโดยปรกติเล็กน้อย อาจเนื่องมาจากความไม่แน่นอนทางการเมือง รวมทั้งความไม่มั่นใจในทิศทางของเศรษฐกิจ เมื่อพิจารณาสัดส่วนการถือครองตลาดพบว่า ตลาดฮาร์ดแวร์มีสัดส่วนการถือครองตลาดสูงอยู่ที่ร้อยละ 50.2 รองลงมาคือตลาดซอฟต์แวร์ และตลาดบริการด้านคอมพิวเตอร์อยู่ที่ร้อยละ 40.1 และร้อยละ 9.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม พบว่าตลาดซอฟต์แวร์มีแนวโน้มจะมีสัดส่วนการตลาดสูงขึ้น
Company Related Links :
SIPA
นายอาวุธ พลอยส่องแสง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า กล่าวว่า ในช่วง 3-6 เดือนที่มา ซิป้าได้มีการปรับแผนการส่งเสริมและผลักดันอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและการจำแนกกลุ่มเป้าหมายการผลักดันให้ตรงกับความต้องการของตลาดให้มากที่สุด ทั้งกลุ่มผู้ใช้งานและกลุ่มผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่เข้ารับการส่งเสริมกับซิป้า โดยเฉพาะการนำซอฟต์แวร์ไทยขยายไปยังตลาดผู้ใช้ต่างประเทศ ให้เกิดการจ้างผลิตและการเข้าร่วมลงทุน ที่ขณะนี้ซิป้าได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงพาณิชย์ช่วยซิป้านำผลงานแอนนิเมชั่น แอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ ไปกระจายผ่านสำนักงาน 59 แห่งทั่วโลกเช่นเดียวกับสินค้าส่งออกอื่นๆ ที่กระทรวงพาณิชย์เปิดตลาดในต่างประเทศอยู่
“การเปิดตลาดซอฟต์แวร์ในต่างประเทศ ได้ง่ายขึ้น จากที่ผ่านมาซอฟต์แวร์ของไทยไม่ค่อยได้รับการเชื่อถือมากนัก ซึ่งเบื้องต้นจะโฟกัสในแถบเอเชียเป็นหลัก ตั้งเป้าว่า จะทำให้มูลค่าการส่งออกซอฟต์แวร์ในปีนี้เติบโตเท่าตัว หรือประมาณ 6 พันล้านบาทสิ้นปีนี้ และเพิ่มเป็น 1.2 หมื่นล้านบาทในปีหน้า จากปีที่ผ่านมามีมูลค่า 2.8 พันล้านบาท”
ส่วนการส่งเสริมผู้ประกอบการในประเทศ ซิป้าจะให้ความสำคัญเรื่องการจับคู่ทางธุรกิจ (บิสสิเนส แมทชิ่ง) ระหว่างบริษัทไทยกับบริษัทต่างประเทศมากขึ้นซึ่งเป็นแนวทางมาตั้งแต่คณะกรรมการ (บอร์ด) ชุดที่แล้ว ช่วยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายเล็กมีโอกาสเติบโตได้มากขึ้น รวมทั้งการหาความร่วมมือทางแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการ เช่น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)เพราะปัญหาปัจจุบัน คือ ซอฟต์แวร์ไทยไม่ได้รับการยอมรับจากสถาบันการเงินเท่าที่ควร
นอกจากนี้ ซิป้าจะส่งเสริมการใช้งานซอฟต์แวร์ระบบเปิด (โอเพ่นซอร์ส) สู่การใช้งานในวงกว้าง หรือตลาดแมสมากขึ้น โดยเฉพาะแอปพลิเคชัน หรือโซลูชัน ให้สำหรับกลุ่มเอสเอ็มอีที่หันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านไอทีมากขึ้น ซึ่งทางซิป้าจะให้เห็นถึงข้อดีของการใช้โอเพ่นซอร์ส ถึงการช่วยลดต้นทุนที่จะช่วยให้ตลาดซอฟต์แวร์ในประเทศเติบโตกว่าเดิม และยังไม่รวมถึงการให้ผู้ใช้ทั่วไป กลุ่มโฮมยูส หันมาเลือกนำไปใช้งาน
“หากทุกฝ่ายร่วมกันใช้จะเป็นส่วนหนึ่งของกลไกในการสร้างอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่ผลิตในประเทศรวมถึงบุคคลากรให้เกิดการขยายตัวเพิ่มากขึ้น ถึงแม้โอเพ่นซอร์สหลายคนมาองว่าจะเป็นซอฟต์แวร์แจกจ่ายฟรี และส่วนนี้หากมีการแก้ไขให้มีการนำไปต่อยอดและให้เห็นเป็นมูลค่าขึ้นมา ตรงส่วนนี้จะเป็นส่วนสำคัญในการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศได้เป็นอย่างดียิ่ง”
ผู้อำนวยการซิป้ากล่าวอีกว่า ด้านการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร ซิป้าได้มีการปรับเพิ่มอีกหนึ่งแผนเข้ามาในเรื่องของซอฟต์แวร์ฝังตัวในอุปกรณ์ชิ้นส่วน(Embedded Software) ที่จะเป็นกลุ่มที่มีความต้องการจากตลาดโลกสูง แต่ไทยยังขาดความเชี่ยวชาญด้านนี้ โดยขณะนี้ทางบริษัท โตโยต้า ประเทศญี่ปุ่น ให้การตอบรับที่จะให้ประเทศไทยส่งบุคลลากรไปอบรม เพื่อวางรากฐาน และปูทางสู่การผลิตให้กับโตโยต้าในอนาคตด้วย
ล่าสุดซิป้าได้จัดให้มีการสำรวจตลาดซอฟต์แวร์ในประเทศไทยประจำปี 2549 ขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการสำรวจตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ประจำปี 2549 ซึ่งการสำรวจตลาดครั้งนี้ ได้มีการขยายขอบเขตการสำรวจในตลาดซอฟต์แวร์ให้ครอบคลุมซอฟต์แวร์ 5 ประเภทหลัก คือ Enterprise Software, Mobile Application, Embedded System Software, กลุ่มธุรกิจ Animation และซอฟต์แวร์กลุ่มอื่นๆ ที่ไม่สามารถจัดหมวดหมู่ได้ โดยมอบให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำรวจ เพื่อประเมินมูลค่าการใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ที่เกิดขึ้นในประเทศ รวมทั้งศึกษาถึงสถานภาพของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ โดยการสำรวจดังกล่าวมีขึ้นระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2549 - มกราคม 2550
“การสำรวจครั้งนี้ทางเราและเนคเทคได้ร่วมกัน โดยไปสอบถามกลุ่มผู้ประกอบการในธุรกิจไอซีทีและอุตสาหกรรมไอซีที 1 พันรายซึ่งส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือและให้ข้อมูลอย่างดี ที่ต้องการช่วยส่งเสริมผลักดันให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยมีเติบโตมากขึ้นและสามารถนำไปประกอบข้อมูลส่งเสริมการทำตลาดแข่งขันได้”
ผลการสำรวจมูลค่าตลาดไอทีพบว่า ในปี 2549 มูลค่าของตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ และตลาดบริการด้านคอมพิวเตอร์รวมกันมีมูลค่า 131,480 ล้านบาท ตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์มีสัดส่วนถือครองตลาดสูงสุด มีมูลค่า 65,947 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50 ของตลาด โดยตลาดซอฟต์แวร์และตลาดบริการด้านคอมพิวเตอร์อยู่ในลำดับรองลงมา โดยมีมูลค่า 52,763 ล้านบาท และ 12,770 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อย 40 และร้อยละ 10 ตามลำดับ
ขณะที่ตลาดซอฟต์แวร์ได้มีการขยายขอบเขตของการสำรวจ โดยรวมธุรกิจด้าน Animation เข้าไว้ด้วย ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตลาดคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์มีมูลค่า 52,763 ล้านบาท เมื่อพิจารณาซอฟต์แวร์หลัก 4 ประเภท โดยไม่รวมซอฟต์แวร์ในกลุ่มอื่นๆที่จัดประเภทไม่ได้พบว่า ซอฟต์แวร์กลุ่ม Enterprise มีสัดส่วนสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 84 รองลงมาได้แก่ กลุ่ม Animation คิดเป็นร้อยละ 5 ในขณะที่ กลุ่ม Mobile Application และกลุ่ม Embedded System Software มีขนาดเท่ากันอยู่ที่ร้อยละ 3 แต่เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มของตลาดที่ผู้ประกอบการเป็นผู้ขายหรือผู้ผลิตซอฟต์แวร์ คือไม่รวมกลุ่ม Animation พบว่า ตลาดซอฟต์แวร์ของปี 2549 ในนิยามแคบนี้ มีมูลค่า 50,064 ล้านบาท ซึ่งโตจากปี 2548 ถึงร้อยละ 21
ส่วนผลการสำรวจจำนวนบุคลากรในบริษัทซอฟต์แวร์โดยรวมในปี 2549 พบว่า มีบุคลากรทั้งสิ้น 46,944 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ประมาณ 4,000 คน แบ่งเป็นบุคลากรด้านเทคนิคร้อยละ 86 และบุคลากรที่ไม่ใช่ด้านเทคนิคร้อยละ 14 ดังรายละเอียดตารางที่ 6 จะเห็นได้ว่าบุคลากรในธุรกิจซอฟต์แวร์ทั่วไปซึ่งไม่รวม Animation มีบุคลากรด้านเทคนิครวม 38, 975 คน พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในตำแหน่ง Programmer/Developer ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 48 สำหรับในกลุ่มของ Animation ซึ่งปี 2549 เป็นปีแรกที่ทำการสำรวจพบว่ามีพนักงานด้านเทคนิคประมาณ 1,300 คน โดยร้อยละ 18 อยู่ในตำแหน่ง Animator
สำหรับในปี 2550 นั้น มีการคาดการณ์ว่าตลาดโดยรวมจะเติบโตประมาณร้อยละ 13 ตลาดซอฟต์แวร์จะเป็นส่วนที่มีการขยายตัวมากที่สุด อยู่ที่ประมาณร้อยละ 18 ตลาดบริการด้านคอมพิวเตอร์จะมีการเติบโตตามไปด้วยในอัตราร้อยละ 15 ขณะที่ตลาดของฮาร์ดแวร์เติบโตร้อยละ 9 ซึ่งในภาพรวมถือได้ว่าการเติบโตอยู่ในระดับต่ำกว่าแนวโน้มโดยปรกติเล็กน้อย อาจเนื่องมาจากความไม่แน่นอนทางการเมือง รวมทั้งความไม่มั่นใจในทิศทางของเศรษฐกิจ เมื่อพิจารณาสัดส่วนการถือครองตลาดพบว่า ตลาดฮาร์ดแวร์มีสัดส่วนการถือครองตลาดสูงอยู่ที่ร้อยละ 50.2 รองลงมาคือตลาดซอฟต์แวร์ และตลาดบริการด้านคอมพิวเตอร์อยู่ที่ร้อยละ 40.1 และร้อยละ 9.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม พบว่าตลาดซอฟต์แวร์มีแนวโน้มจะมีสัดส่วนการตลาดสูงขึ้น
Company Related Links :
SIPA