ยุทธศาสตร์ใหม่ซิป้าในการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ผนึกพันธมิตรต่อยอดในการพัฒนาแอปพลิเคชัน ปูพื้นให้บุคลากรตั้งแต่เด็ก ไม่ทำแบบเบี้ยหัวแตก มั่นใจภายใต้การนำของบอร์ดชุดใหม่ 3 ปี สร้างมูลค่าตลาดได้มากกว่าแสนล้านบาท
นายพีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า กล่าวว่า ที่ผ่านมาชื่อของซิป้ายังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ในช่วง 3 ปีจากนี้ไปจะเปิดการทำงานเชิงรุกมากขึ้น เพื่อสร้างคนสร้างงาน สร้างมูลค่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในไทยให้ได้อย่างน้อยแสนล้านบาท จากปีที่ผ่านมาสามารถทำได้เพียง 5 หมื่นล้านบาท ทั้งที่มูลค่าตลาดรวมมีสูงถึง 2 แสนกว่าล้านบาท หรือ 7.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าตลาดรวมทั้งโลกที่มีประมาณ 7 หมื่นกว่าล้านเหรียญสหรัฐ
“ช่วงซิป้าตั้งใหม่ๆ คือประมาณ 3-4 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการโตของมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์ปีละ 17-18% ผมมองว่าถ้าในช่วงสองสามปีข้างหน้าน่าจะทำให้มูลค่าโตได้ถึง 2-3 เท่า หรืออย่างต่ำหนึ่งแสนล้านถึงแสนสามหมื่นล้านบาท”
แต่สิ่งที่ไทยยังขาดอยู่มากคือเรื่องของบุคลากรที่มีทักษะในการพัฒนาโปรแกรม และการที่จะสร้างมูลค่าตลาดให้ได้ตามเป้าบุคลากรต้องมีเริ่มต้น 5 พันคน ซึ่งเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพจริงๆ เทียบเท่ากับบุคลากรของไมโครซอฟท์ หรือไอบีเอ็ม และในอีก 3 ปีข้างหน้าจะพัฒนาคนให้ได้ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นคน
“ทำไม บิลล์ เกตส์ จะมาจ้างคนไทยทำงานช่วงที่เขามาเมืองไทย เพราะเห็นคนไทยมีศักยภาพสู้เวียดนามไม่ได้ จึงไปจ้างคนเวียดนามแทน หรืออินเทลทำไมไปตั้งโรงานที่เวียดนาม เพราะเขาเห็นว่าเวียดนามดีกว่า ซึ่งทำให้เราเสียโอกาสตรงนี้มาก”
ในสายตาของประธานบอร์ดซิป้าชุดนี้เห็นว่า สาขาที่น่าสนใจ คือ คอมพิวเตอร์เอนจิเนียริง ทั้งเรื่องของฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ขาดแคลนมาก โดยในสหรัฐอเมริกาสูงถึง 2 แสนตำแหน่ง หรือญี่ปุ่นก็ขาดแคลนในระดับที่ใกล้เคียงกันเนื่องจากโลกเปลี่ยนเร็วมาก
“เราไม่ได้ทิ้งผู้ประกอบการไทย แต่จะทำอย่างไรถึงจะให้คนไทยมีศักยภาพเหมือนอเมริกา อินเดียที่ทำงานในประเทศแต่รับเงินเดือนจากนานาชาติได้”
จากนโยบายที่จะทำงานเชิงรุกของซิป้า คือ การร่วมมือกับพันธมิตรหลัก หรือพาร์ตเนอร์ชิป ทั้งในไทยและต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้มีแผนจะร่วมมือกับนักลงทุนจากญี่ปุ่นในพัฒนาโปรแกรมในลักษณะต่อยอด ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น อเมริกา จากเดิมไปร่วมงานกับผู้ประกอบเหล่านี้ พร้อมกันนี้ ยังมีบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องอุปโภคบริโภครายใหญ่ในไทย ยอมให้ซอร์สโค้ดกับซิป้าฟรี เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ซึ่งจะเป็นการสร้างทั้งคนและงาน
นอกจากนี้ สร้างคนหรือพัฒนาคนจากนักศึกษา หรือเยาวชน เช่น การทำค่ายวิทยาศาสตร์กับคอมพิวเตอร์ โดยเริ่มพัฒนาจากเด็กอายุ 10 ขวบ ในการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเหล่านี้ และตั้งเป้าไว้ว่าอายุ 15 ปีต้องเขียนโปรแกรมได้ ต่อวงจรเป็น
“ตรงนี้จะเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ของการสร้างอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ซึ่งจากนี้ไปเราจะไม่ทำเป็นเบี้ยหัวแตก”
Company Relate Link :
ซิป้า
นายพีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า กล่าวว่า ที่ผ่านมาชื่อของซิป้ายังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ในช่วง 3 ปีจากนี้ไปจะเปิดการทำงานเชิงรุกมากขึ้น เพื่อสร้างคนสร้างงาน สร้างมูลค่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในไทยให้ได้อย่างน้อยแสนล้านบาท จากปีที่ผ่านมาสามารถทำได้เพียง 5 หมื่นล้านบาท ทั้งที่มูลค่าตลาดรวมมีสูงถึง 2 แสนกว่าล้านบาท หรือ 7.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าตลาดรวมทั้งโลกที่มีประมาณ 7 หมื่นกว่าล้านเหรียญสหรัฐ
“ช่วงซิป้าตั้งใหม่ๆ คือประมาณ 3-4 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการโตของมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์ปีละ 17-18% ผมมองว่าถ้าในช่วงสองสามปีข้างหน้าน่าจะทำให้มูลค่าโตได้ถึง 2-3 เท่า หรืออย่างต่ำหนึ่งแสนล้านถึงแสนสามหมื่นล้านบาท”
แต่สิ่งที่ไทยยังขาดอยู่มากคือเรื่องของบุคลากรที่มีทักษะในการพัฒนาโปรแกรม และการที่จะสร้างมูลค่าตลาดให้ได้ตามเป้าบุคลากรต้องมีเริ่มต้น 5 พันคน ซึ่งเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพจริงๆ เทียบเท่ากับบุคลากรของไมโครซอฟท์ หรือไอบีเอ็ม และในอีก 3 ปีข้างหน้าจะพัฒนาคนให้ได้ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นคน
“ทำไม บิลล์ เกตส์ จะมาจ้างคนไทยทำงานช่วงที่เขามาเมืองไทย เพราะเห็นคนไทยมีศักยภาพสู้เวียดนามไม่ได้ จึงไปจ้างคนเวียดนามแทน หรืออินเทลทำไมไปตั้งโรงานที่เวียดนาม เพราะเขาเห็นว่าเวียดนามดีกว่า ซึ่งทำให้เราเสียโอกาสตรงนี้มาก”
ในสายตาของประธานบอร์ดซิป้าชุดนี้เห็นว่า สาขาที่น่าสนใจ คือ คอมพิวเตอร์เอนจิเนียริง ทั้งเรื่องของฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ขาดแคลนมาก โดยในสหรัฐอเมริกาสูงถึง 2 แสนตำแหน่ง หรือญี่ปุ่นก็ขาดแคลนในระดับที่ใกล้เคียงกันเนื่องจากโลกเปลี่ยนเร็วมาก
“เราไม่ได้ทิ้งผู้ประกอบการไทย แต่จะทำอย่างไรถึงจะให้คนไทยมีศักยภาพเหมือนอเมริกา อินเดียที่ทำงานในประเทศแต่รับเงินเดือนจากนานาชาติได้”
จากนโยบายที่จะทำงานเชิงรุกของซิป้า คือ การร่วมมือกับพันธมิตรหลัก หรือพาร์ตเนอร์ชิป ทั้งในไทยและต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้มีแผนจะร่วมมือกับนักลงทุนจากญี่ปุ่นในพัฒนาโปรแกรมในลักษณะต่อยอด ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น อเมริกา จากเดิมไปร่วมงานกับผู้ประกอบเหล่านี้ พร้อมกันนี้ ยังมีบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องอุปโภคบริโภครายใหญ่ในไทย ยอมให้ซอร์สโค้ดกับซิป้าฟรี เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ซึ่งจะเป็นการสร้างทั้งคนและงาน
นอกจากนี้ สร้างคนหรือพัฒนาคนจากนักศึกษา หรือเยาวชน เช่น การทำค่ายวิทยาศาสตร์กับคอมพิวเตอร์ โดยเริ่มพัฒนาจากเด็กอายุ 10 ขวบ ในการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเหล่านี้ และตั้งเป้าไว้ว่าอายุ 15 ปีต้องเขียนโปรแกรมได้ ต่อวงจรเป็น
“ตรงนี้จะเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ของการสร้างอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ซึ่งจากนี้ไปเราจะไม่ทำเป็นเบี้ยหัวแตก”
Company Relate Link :
ซิป้า