ไอออนพอร์ต แต่งตั้งทรานซิชั่น เป็นผู้ทำตลาดสินค้าด้านอีเมล์และเว็บ ซีเคียวริตี้ ตั้งเป้ายอดเติบโตกว่า 200% จากรายได้ปีที่ผ่านมาประมาณ 50-60 ล้านบาท ชี้ศักยภาพขอตลาดระบบรักษาความปลอดภัยยังเติบโตสูง
นายกิตติพงศ์ ทุมนัส ผู้จัดการประจำประเทศไทยและอินโดจีน บริษัท ไอออนพอร์ต ซิสเต็มส์ กล่าวว่าบริษัทได้แต่งตั้งบริษัท ทรานซิซั่น ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) ให้เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย เพื่อทำตลาดครอบคลุมในส่วนที่ไอออนพอร์ตยังไม่สามารถเปิดตลาดได้ และเพื่อรองรับการทำตลาดแนวรุกทางด้านระบบเกตเวย์ซีเคียวริตี้และเพื่อทำตลาดสินค้าใหม่ด้านเว็บ ซีเคียวริตี้ เพื่อแก้ปัญหาสปายแวร์ การเจาะระบบภายในองค์กรผ่านอินเทอร์เน็ตที่ระบาดอย่างรุนแรง รวมทั้งมีระบบตรวจสอบและควบคุมปัญหาความปลอดภัยการใช้งานเว็บภายในองค์กร
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะเป็นองค์กรธุรกิจตั้งแต่ระดับกลางถึงระดับใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับการป้องกันระบบอีเมล์และอินเทอร์เน็ต โดยปัจจุบันขนาดของตลาดรวมของระบบซีเคียวริตี้ทั้งหมดประมาณ 2.5-3 พันล้านบาทแต่ถ้าเป็นระบบเว็บ เมล์ซีเคียวริตี้จะอยู่ที่ประมาณ 400-500 ล้านบาทและคาดว่าจะเติบโตขึ้นมากกว่า 10% ในปีนี้ โดยที่สินค้าของไอออนพอร์ตมีส่วนแบ่งประมาณ 10% หรือ 50-60 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา แต่ในปีนี้คาดว่าจะเติบโตกว่า 200%
สำหรับไอออนพอร์ต ซิสเต็มส์ เป็นผู้ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ รักษาความปลอดภัยขององค์กร โดยสินค้า IronPort C-Series เป็นสินค้ารักษาความปลอดภัยสำหรับอีเมล์และ IronPort S-Series เป็นสินค้ารักษาความปลอดภัยสำหรับเว็บ ในส่วนของอุปกรณ์เกตเวย์สำหรับรักษาความปลอดภัยทุกตัวของไอออนพอร์ต มีการติดตั้งเทคโนโลยี SenderBase ซึ่งเป็นเครือข่ายและฐานข้อมุลสำหรับการตรวจสอบแหล่งแพร่กระจายปัญหาทั้งสแปมเมอร์ ไวรัส และสปายแวร์ต่างๆ
นายสมชาย หิรัณยากร กรรมการผู้จัดการบริษัท ทรานซิชั่น ซิสเต็มส์แอนด์เน็ตเวิร์ก (ไทยแลนด์) กล่าวว่าการเลือกจัดจำหน่ายสินค้าของไอออนพอร์ตเป็นเพราะ1.ความเป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านเมล์และเว็บ ซีเคียวริตี้ 2.เติมเต็มสินค้าและโซลูชั่นที่มีอยุ่ให้ครบถ้วนเพื่อให้พาร์ตเนอร์ของบริษัทที่เป็นซิสเต็มส์อินทริเกเตอร์ (SI) ที่มีอยู่ 60 กว่ารายสามารถนำเสนอสินค้าในลักษณะครบวงจรหรือวันสต็อปเซอร์วิส 3.เป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เพราะในอุตสาหกรรมไอที ในส่วนของระบบซีเคียวริตี้มีการเติบโตเร็วที่สุด และองค์กรส่วนใหญ่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีครบถ้วนหมดแล้ว เหลือแต่เพียงด้านซีเคียวริตี้เท่านั้นทำให้ตลาดยังมีโอกาสขยายตัวอีกมาก รวมทั้งแอปพลิเคชั่นหรือระบบสื่อสารต่างๆภายในองค์กรเป็นเว็บเบส ซึ่งจำเป็นต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่เชื่อถือได้
สำหรับบริษัท ทรานซิชั่นฯ สำนักงานใหญ่ตั้งที่ประเทศสิงคโปร์ มีธุรกิจใน 12 ประเทศและมีสำนักงานสาขาอยู่ 7 ประเทศ คืออินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม บรูไนและประเทศไทย โดยจะทำธุรกิจขายส่งผ่าน SI เพียงอย่างเดียวโดยจัดจำหน่ายสินค้า 3 หมวดหลักคือด้านเน็ตเวิร์ก ด้านเน็ตเวิร์ก ซีเคียวริตี้และด้านวอยซ์ วิดีโอ คอนเฟอร์เรนซ์ โดยมีสินค้าที่ทำตลาดทั้งหมด 12 ยี่ห้อ อาทิ F5 Network, Polycom, McAfee, CrossBean, Tippingpoint, Aruba NetScout, SafeNet ตลาดหลักอยู่ที่องค์กรธุรกิจตั้งแต่ขนาดกลางถึงองค์กรขนาดใหญ่ โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะอยู่ในอุตสาหกรรมสื่อสาร ไอเอสพี หน่วยงานราชการ ธนาคาร สถาบันการศึกษา และองค์กรธุรกิจทั่วๆไป
นายกิตติพงศ์ ทุมนัส ผู้จัดการประจำประเทศไทยและอินโดจีน บริษัท ไอออนพอร์ต ซิสเต็มส์ กล่าวว่าบริษัทได้แต่งตั้งบริษัท ทรานซิซั่น ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) ให้เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย เพื่อทำตลาดครอบคลุมในส่วนที่ไอออนพอร์ตยังไม่สามารถเปิดตลาดได้ และเพื่อรองรับการทำตลาดแนวรุกทางด้านระบบเกตเวย์ซีเคียวริตี้และเพื่อทำตลาดสินค้าใหม่ด้านเว็บ ซีเคียวริตี้ เพื่อแก้ปัญหาสปายแวร์ การเจาะระบบภายในองค์กรผ่านอินเทอร์เน็ตที่ระบาดอย่างรุนแรง รวมทั้งมีระบบตรวจสอบและควบคุมปัญหาความปลอดภัยการใช้งานเว็บภายในองค์กร
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะเป็นองค์กรธุรกิจตั้งแต่ระดับกลางถึงระดับใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับการป้องกันระบบอีเมล์และอินเทอร์เน็ต โดยปัจจุบันขนาดของตลาดรวมของระบบซีเคียวริตี้ทั้งหมดประมาณ 2.5-3 พันล้านบาทแต่ถ้าเป็นระบบเว็บ เมล์ซีเคียวริตี้จะอยู่ที่ประมาณ 400-500 ล้านบาทและคาดว่าจะเติบโตขึ้นมากกว่า 10% ในปีนี้ โดยที่สินค้าของไอออนพอร์ตมีส่วนแบ่งประมาณ 10% หรือ 50-60 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา แต่ในปีนี้คาดว่าจะเติบโตกว่า 200%
สำหรับไอออนพอร์ต ซิสเต็มส์ เป็นผู้ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ รักษาความปลอดภัยขององค์กร โดยสินค้า IronPort C-Series เป็นสินค้ารักษาความปลอดภัยสำหรับอีเมล์และ IronPort S-Series เป็นสินค้ารักษาความปลอดภัยสำหรับเว็บ ในส่วนของอุปกรณ์เกตเวย์สำหรับรักษาความปลอดภัยทุกตัวของไอออนพอร์ต มีการติดตั้งเทคโนโลยี SenderBase ซึ่งเป็นเครือข่ายและฐานข้อมุลสำหรับการตรวจสอบแหล่งแพร่กระจายปัญหาทั้งสแปมเมอร์ ไวรัส และสปายแวร์ต่างๆ
นายสมชาย หิรัณยากร กรรมการผู้จัดการบริษัท ทรานซิชั่น ซิสเต็มส์แอนด์เน็ตเวิร์ก (ไทยแลนด์) กล่าวว่าการเลือกจัดจำหน่ายสินค้าของไอออนพอร์ตเป็นเพราะ1.ความเป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านเมล์และเว็บ ซีเคียวริตี้ 2.เติมเต็มสินค้าและโซลูชั่นที่มีอยุ่ให้ครบถ้วนเพื่อให้พาร์ตเนอร์ของบริษัทที่เป็นซิสเต็มส์อินทริเกเตอร์ (SI) ที่มีอยู่ 60 กว่ารายสามารถนำเสนอสินค้าในลักษณะครบวงจรหรือวันสต็อปเซอร์วิส 3.เป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เพราะในอุตสาหกรรมไอที ในส่วนของระบบซีเคียวริตี้มีการเติบโตเร็วที่สุด และองค์กรส่วนใหญ่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีครบถ้วนหมดแล้ว เหลือแต่เพียงด้านซีเคียวริตี้เท่านั้นทำให้ตลาดยังมีโอกาสขยายตัวอีกมาก รวมทั้งแอปพลิเคชั่นหรือระบบสื่อสารต่างๆภายในองค์กรเป็นเว็บเบส ซึ่งจำเป็นต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่เชื่อถือได้
สำหรับบริษัท ทรานซิชั่นฯ สำนักงานใหญ่ตั้งที่ประเทศสิงคโปร์ มีธุรกิจใน 12 ประเทศและมีสำนักงานสาขาอยู่ 7 ประเทศ คืออินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม บรูไนและประเทศไทย โดยจะทำธุรกิจขายส่งผ่าน SI เพียงอย่างเดียวโดยจัดจำหน่ายสินค้า 3 หมวดหลักคือด้านเน็ตเวิร์ก ด้านเน็ตเวิร์ก ซีเคียวริตี้และด้านวอยซ์ วิดีโอ คอนเฟอร์เรนซ์ โดยมีสินค้าที่ทำตลาดทั้งหมด 12 ยี่ห้อ อาทิ F5 Network, Polycom, McAfee, CrossBean, Tippingpoint, Aruba NetScout, SafeNet ตลาดหลักอยู่ที่องค์กรธุรกิจตั้งแต่ขนาดกลางถึงองค์กรขนาดใหญ่ โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะอยู่ในอุตสาหกรรมสื่อสาร ไอเอสพี หน่วยงานราชการ ธนาคาร สถาบันการศึกษา และองค์กรธุรกิจทั่วๆไป