ซิป้า จับมือ IPA ประเทศญี่ปุ่น ลงนามพัฒนาอุตสาหกรรม Embedded Software วางเป้าพลิกไทยเป็นฐานป้อนตลาดโลก จับกลุ่มทุนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เพิ่มจุดแข็งในตลาดซอฟต์แวร์เฉพาะทาง
นายอาวุธ พลอยส่องแสง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า เปิดเผยว่า ในวันที่ 18 มกราคมนี้ ซิป้าจะลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับ Information Technology Promotion Agency หรือ IPA ประเทศญี่ปุ่น ในการพัฒนาอุตสาหกรรม Embedded Software หรือซอฟต์แวร์ที่ฝังตัวในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อควบคุมการทำงาน โดยมี นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) เป็นประธาน ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นการถ่ายทอดด้านเทคโนโลยีดังกล่าว พร้อมกับการจัดตั้งศูนย์ Embedded Technology Skill Standard (ETSS) ให้กับประเทศไทย อีกด้วย
“ความร่วมมือที่เกิดขึ้นจะเป็นจุดเริ่มของการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไปอีกก้าวหนึ่ง โดยตลาดเอมเบดเด็ด เป็นตลาดที่มีมูลค่ามหาศาลมาก ไม่ต่างในกลุ่มอื่น แต่มีจุดต่างที่กลุ่มนี้ มีประเทศที่เป็นผู้สร้าง เพียงไม่กี่ประเทศ เมื่อเทียบกับตลาดซอฟต์แวร์ในกลุ่มอื่น ถ้าเราเข้าไปอยู่ในกลุ่มที่เริ่ม ก็จะทำให้ ประเทศไทยมีจุดแข็งในตลาดซอฟต์แวร์ ซึ่งจะเป็นประเทศที่รับงานในกลุ่มนี้ได้”
ทั้งนี้ จากผลศึกษาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทย กำลังเผชิญกับการแข่งขันทางการค้าทั้งในประเทศและการแข่งขันระดับภูมิภาคหรือระดับโลก ข้อได้เปรียบในเรื่องของแรงงานราคาต่ำ หรือทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มากค่อยๆ ลดลงไป ดังนั้นอุตสาหกรรมสนับสนุนของไทยจึงต้องพยายามหาทางปรับปรุงพัฒนาตนเองเพื่อความอยู่รอด โดยจะต้องหาจุดแข็งในการเป็นผู้พัฒนาหรือผู้คิดค้น ซึ่งการที่หันไปตลาดเอมเบดเด็ด จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ และยังเป็นการสร้างจุดแข็งในตลาดซอฟต์แวร์เฉพาะทาง
อย่างไรก็ตาม งบประมาณในการเข้ามาสนับสนุนในเบื้องต้น ซิป้าได้เตรียมงบประมาณในช่วงเริ่มต้นไว้จำนวน 10 ล้านบาท ซึ่งงบดังกล่าวจะเป็นงบที่ซิป้าจะใช้เข้าไปดำเนินงาน การจัดหาบุคคลากร การอบรม และสถานที่ในการใช้ฝึกอบรม ซึ่งการลงทุนดังกล่าวนอกเหนือจากซิป้าแล้วอาจจะยังมีการได้รับงบสนับสนุนจากภาคเอกชน หรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความต้องการบุคลากรในด้านนี้ โดยเฉพาะบริษัทสาขาของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเบื้องต้นได้ บริษัท โตโยต้าเข้ามาสนับสนุนแล้ว
นายอาวุธ กล่าวอีกว่า ความร่วมมือที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ซิป้าได้ทำการเจรจากับทาง IPA ประเทศญี่ปุ่น มาอย่างต่อเนื่องถึงแนวทางในการที่ซิป้า จะมุ่งส่งเสริมในอุตสาหกรรมเอมเบดเด็ดอีกสาขาหนึ่ง ซึ่งไอพีเอได้ให้ความสนใจ พร้อมกับระบุความต้องการของตลาดที่ต้องการให้มีจำนวนผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านนี้เข้าสู่ตลาดไม่น้อยกว่าแสนราย ซึ่งการสร้างบุคลากรในประเทศญี่ปุ่นไม่เพียงพอต่อตลาดได้หากไทยสนใจทางไอพีเอ จึงยินดีให้การถ่ายทอดเทคโนโลยี
“หากมองสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นกล้องดิจิตอล กล้องวิดีโอ พรินเตอร์ หรือแม้กระทั่งตู้เย็น รถยนต์ ต่างมีซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยทำงาน ดังนั้น คุณเห็นหรือไม่ว่าตลาดนั้นใหญ่มากแค่ไหน ถ้าไทยเราเป็นหนึ่งในผู้ที่รับงานตรงนี้มา เงินจะเข้าประเทศได้ขนาดไหน มูลค่านั้นไม่ใช่แค่ขายซอฟต์แวร์ไปครั้งเดียวจากที่ทำ แต่จะขายแบบไลเซนส์ต่อเครื่องต่อชิ้น ซึ่งยังไม่รวมถึงการขยายตัวการลงทุน ที่กลุ่มทุนญี่ปุ่นจะหันมาลงทุนในประเทศเราเพิ่มอีกขนาดไหน”
Company Related Links:
SIPA
นายอาวุธ พลอยส่องแสง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า เปิดเผยว่า ในวันที่ 18 มกราคมนี้ ซิป้าจะลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับ Information Technology Promotion Agency หรือ IPA ประเทศญี่ปุ่น ในการพัฒนาอุตสาหกรรม Embedded Software หรือซอฟต์แวร์ที่ฝังตัวในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อควบคุมการทำงาน โดยมี นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) เป็นประธาน ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นการถ่ายทอดด้านเทคโนโลยีดังกล่าว พร้อมกับการจัดตั้งศูนย์ Embedded Technology Skill Standard (ETSS) ให้กับประเทศไทย อีกด้วย
“ความร่วมมือที่เกิดขึ้นจะเป็นจุดเริ่มของการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไปอีกก้าวหนึ่ง โดยตลาดเอมเบดเด็ด เป็นตลาดที่มีมูลค่ามหาศาลมาก ไม่ต่างในกลุ่มอื่น แต่มีจุดต่างที่กลุ่มนี้ มีประเทศที่เป็นผู้สร้าง เพียงไม่กี่ประเทศ เมื่อเทียบกับตลาดซอฟต์แวร์ในกลุ่มอื่น ถ้าเราเข้าไปอยู่ในกลุ่มที่เริ่ม ก็จะทำให้ ประเทศไทยมีจุดแข็งในตลาดซอฟต์แวร์ ซึ่งจะเป็นประเทศที่รับงานในกลุ่มนี้ได้”
ทั้งนี้ จากผลศึกษาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทย กำลังเผชิญกับการแข่งขันทางการค้าทั้งในประเทศและการแข่งขันระดับภูมิภาคหรือระดับโลก ข้อได้เปรียบในเรื่องของแรงงานราคาต่ำ หรือทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มากค่อยๆ ลดลงไป ดังนั้นอุตสาหกรรมสนับสนุนของไทยจึงต้องพยายามหาทางปรับปรุงพัฒนาตนเองเพื่อความอยู่รอด โดยจะต้องหาจุดแข็งในการเป็นผู้พัฒนาหรือผู้คิดค้น ซึ่งการที่หันไปตลาดเอมเบดเด็ด จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ และยังเป็นการสร้างจุดแข็งในตลาดซอฟต์แวร์เฉพาะทาง
อย่างไรก็ตาม งบประมาณในการเข้ามาสนับสนุนในเบื้องต้น ซิป้าได้เตรียมงบประมาณในช่วงเริ่มต้นไว้จำนวน 10 ล้านบาท ซึ่งงบดังกล่าวจะเป็นงบที่ซิป้าจะใช้เข้าไปดำเนินงาน การจัดหาบุคคลากร การอบรม และสถานที่ในการใช้ฝึกอบรม ซึ่งการลงทุนดังกล่าวนอกเหนือจากซิป้าแล้วอาจจะยังมีการได้รับงบสนับสนุนจากภาคเอกชน หรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความต้องการบุคลากรในด้านนี้ โดยเฉพาะบริษัทสาขาของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเบื้องต้นได้ บริษัท โตโยต้าเข้ามาสนับสนุนแล้ว
นายอาวุธ กล่าวอีกว่า ความร่วมมือที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ซิป้าได้ทำการเจรจากับทาง IPA ประเทศญี่ปุ่น มาอย่างต่อเนื่องถึงแนวทางในการที่ซิป้า จะมุ่งส่งเสริมในอุตสาหกรรมเอมเบดเด็ดอีกสาขาหนึ่ง ซึ่งไอพีเอได้ให้ความสนใจ พร้อมกับระบุความต้องการของตลาดที่ต้องการให้มีจำนวนผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านนี้เข้าสู่ตลาดไม่น้อยกว่าแสนราย ซึ่งการสร้างบุคลากรในประเทศญี่ปุ่นไม่เพียงพอต่อตลาดได้หากไทยสนใจทางไอพีเอ จึงยินดีให้การถ่ายทอดเทคโนโลยี
“หากมองสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นกล้องดิจิตอล กล้องวิดีโอ พรินเตอร์ หรือแม้กระทั่งตู้เย็น รถยนต์ ต่างมีซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยทำงาน ดังนั้น คุณเห็นหรือไม่ว่าตลาดนั้นใหญ่มากแค่ไหน ถ้าไทยเราเป็นหนึ่งในผู้ที่รับงานตรงนี้มา เงินจะเข้าประเทศได้ขนาดไหน มูลค่านั้นไม่ใช่แค่ขายซอฟต์แวร์ไปครั้งเดียวจากที่ทำ แต่จะขายแบบไลเซนส์ต่อเครื่องต่อชิ้น ซึ่งยังไม่รวมถึงการขยายตัวการลงทุน ที่กลุ่มทุนญี่ปุ่นจะหันมาลงทุนในประเทศเราเพิ่มอีกขนาดไหน”
Company Related Links:
SIPA