ซอฟต์แวร์ไทยเตรียมก้าวขึ้นเวทีส่งออก หลัง ซิป้า และ สมอ. ดึง ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ กว่า 50 ประเทศ จัดเวทีประชุมมาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์นานาชาติ เร่งยกร่าง มาตรฐาน ISO/VSE สำหรับผู้ผลิต ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ที่เป็นองค์กรขนาดเล็กและขนาดย่อม
นายอนุกูล แต้มประเสริฐ นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย กล่าวว่า ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการจัดประชุมมาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์นานาชาติ ครั้งที่19 (19th ISO/IEC SC7 Plenary Meetting 2006) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการนำเสนอร่างและการพัฒนามาตรฐานวิศวกรรมและวิศวกรรมซอฟต์แวร์ต่างๆ ในระดับสากล ขณะเดียวกันยังเป็นการผลักดันในการยกร่างมาตรฐาน ISO/VSE สำหรับผู้ผลิต ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ที่เป็นองค์กรขนาดเล็กและขนาดย่อม ให้สามารถได้การยอมรับและขยายโอกาสแข่งขันในตลาดซอฟต์แวร์ จากเดิมมีเพียงมาตรฐานให้กับผู้ประกอบการที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ โดยการประชุมครั้งนี้ได้มีผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ กว่า 50 ประเทศเข้าร่วม
การยกร่างมาตรฐาน ISO/VSE จะเป็นอีกมาตรฐานหนึ่งที่หลายประเทศได้ให้การสนใจในการที่สร้างมาตรฐานให้กับกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก เพราะเป็นปัญหาใหญ่ในด้านการแข่งขันที่ไม่มีมาตรฐานใดเข้ามารองรับในด้านการแข่งขันได้ ในหลายประเทศที่เป็นกลุ่มประเทศผู้นำหรือประเทศที่เป็นผู้ผลิตต่างก็มีอุปสรรคในจุดนี้ จึงมีความเห็นพ้องกันที่จะดำเนินการให้เกิดมาตรฐานเพิ่มขึ้นอีกจากเดิมที่มีเพียง ISO/IEC โดยเรื่องนี้เกิดขึ้นได้เป็นเพราะประเทศไทยมีการนำเสนอไปยังเวทีโลกและได้มีประเทศผู้นำสนใจเข้าร่วมอีก 6 ประเทศ
“หากเวทีนี้ได้ข้อสรุป การประชุมครั้งต่อไปในปลายนี้ที่ประเทศเกาหลีก็จะได้ยกร่าง และเตรียมนำร่องขึ้นได้ในปีหน้าอย่างแน่นอน ซึ่งไทยก็ได้รับให้เป็นหนึ่งในประเทศที่นำร่อง ก่อนที่จะมีการประกาศใช้ได้อย่างเป็นทางการ ได้ในปี 2551”
อย่างไรก็ตามการผลักดันในด้านการทำมาตรฐาน หน่วยงานภาครัฐได้ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ อาทิ อย่างสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) เพื่อให้ความเป็นมาตรฐานเกิดขึ้นและส่งผลดีต่อผู้ประกอบการไทย โดยขณะนี้ได้ใช้งบไปแล้วกว่า 13 ล้านบาทและคาดว่าจะใช้งบทั้งสิ้นไม่เกิน 20 ล้านบาท ที่เรื่องนี้ออกมาเป็นผลสำเร็จได้ในระยะเวลาภายใน 2 ปีนี้
หากมาตรฐานจัดทำออกมาได้ประเทศไทย จะก้าวไปยืนบนตลาดซอฟต์แวร์โลกได้ดีกว่าที่ผ่านมา โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่เป็นองค์กรขนาดเล็ก ที่ในปัจจุบันมีอยู่กว่า 90% ของทั้งตลาด สามารถสร้างซอฟต์แวร์ที่อยู่ภายใต้มาตรฐานส่วนนี้ ให้ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้งานมีความเป็นสากลมากขึ้น มากกว่าที่จะเป็นการยอมรับหรือมีมาตฐานใช้งานเพียงแค่ในประเทศ
“สิ่งที่ได้รับ คือผู้ประกอบการไทย กว่า 300ถึง 400 บริษัท จะยกระดับขึ้นมาจากเดิม ที่มีข้อจำกัดในการเป็นองค์กรขนาดเล็ก โอกาสการแข่งขันในตลาดโลกจะเพิ่มมากขึ้นและเติบโตขึ้นจากเดิมอีก 3-5 เท่า ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีการยอมรับในระดับหนึ่งแล้วก็ตาม”
นายธานินทร์ อุทยานกะ ซีอีโอ บริษัท สยามกูรู และกรรมการวิชาการคณะที่ 967 มาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์และระบบ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวว่า การพัฒนามาตรฐานซอฟต์แวร์ไทย เพื่อให้มีมาตรฐานได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยขณะนั้นได้มีหลายองค์กรได้รับการรับรองจาก SW-CMM ซึ่งต้องใช้งบประมาณสูง เหมาะสำหรับองค์กรใหญ่เท่านั้น และได้มีการสร้างมาตรฐานให้เป็นของไทย คือ TQS (Thai Quality Standard) มาประยุกต์ใช้ตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 12207 จนได้รับการยอมรับให้เป็นมาตรฐานระดับประเทศในปี 2546
การเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมมาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์นานาชาติครั้งที่ 19 ในประเทศไทยครั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายไปสู่การยกร่างมาตรฐาน VSE เกิดขึ้นและแล้วเสร็จในระยะเวลา 3 ปี โดยการประสานงานและติดตามระหว่างกลุ่ม WG24 และกลุ่มงานที่เกี่ยวข้อง เช่น WG7 WG10 ซึ่งเป็นกลุ่มงานมาตรฐานหลักของISO/IEC ประสานความร่วมมือกับประเทศสมาชิกหลักของกลุ่มWG24 ซึ่งประกอบไปด้วย ประเทศไทย ญี่ปุ่น อัฟริกาใต้ แคนาดา ออสเตรเลีย ฟินแลนด์ เซาท์แอฟริกาและประเทศอื่นในกลุ่มอีก 10 ประเทศ
ด้านน.พ.สุชัย เจริญรัตนะกุล รองนายกรัฐมนตรีและรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่งหากมาตรฐานรองรับที่เกิดขึ้น เพื่อรองรับผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่เป็นองค์กรขนาดเล็ก จะทำให้ผู้ประกอบการไทยนั้นสามารถโอกาสทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในตลาดโลกได้มากยิ่งขึ้น และการที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการประชุม รวมถึงการผลักดันในการสร้างมาตรฐานสำหรับผู้ผลิตขนากเล็ก จะช่วยแสดงถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทย ถึงความพร้อมในการแข่งขันและความร่วมมือในตลาดโลก
“ถึงเวลาแล้ว ที่ไทยจะเป็นจากการเป็นผู้ใช้ไปเป็นผู้สร้าง หากมาตรฐานนี้เกิดผลสำเร็จ ไทยจะมีสินค้าที่เป็นซอฟต์แวร์ ส่งออกไปแข่งขันยังตลาดโลกได้มากขึ้น นอกเหนือจากการเป็นผู้ส่งออกด้านเกษตร อาหาร”
Company Related Links :
SIPA
นายอนุกูล แต้มประเสริฐ นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย กล่าวว่า ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการจัดประชุมมาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์นานาชาติ ครั้งที่19 (19th ISO/IEC SC7 Plenary Meetting 2006) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการนำเสนอร่างและการพัฒนามาตรฐานวิศวกรรมและวิศวกรรมซอฟต์แวร์ต่างๆ ในระดับสากล ขณะเดียวกันยังเป็นการผลักดันในการยกร่างมาตรฐาน ISO/VSE สำหรับผู้ผลิต ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ที่เป็นองค์กรขนาดเล็กและขนาดย่อม ให้สามารถได้การยอมรับและขยายโอกาสแข่งขันในตลาดซอฟต์แวร์ จากเดิมมีเพียงมาตรฐานให้กับผู้ประกอบการที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ โดยการประชุมครั้งนี้ได้มีผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ กว่า 50 ประเทศเข้าร่วม
การยกร่างมาตรฐาน ISO/VSE จะเป็นอีกมาตรฐานหนึ่งที่หลายประเทศได้ให้การสนใจในการที่สร้างมาตรฐานให้กับกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก เพราะเป็นปัญหาใหญ่ในด้านการแข่งขันที่ไม่มีมาตรฐานใดเข้ามารองรับในด้านการแข่งขันได้ ในหลายประเทศที่เป็นกลุ่มประเทศผู้นำหรือประเทศที่เป็นผู้ผลิตต่างก็มีอุปสรรคในจุดนี้ จึงมีความเห็นพ้องกันที่จะดำเนินการให้เกิดมาตรฐานเพิ่มขึ้นอีกจากเดิมที่มีเพียง ISO/IEC โดยเรื่องนี้เกิดขึ้นได้เป็นเพราะประเทศไทยมีการนำเสนอไปยังเวทีโลกและได้มีประเทศผู้นำสนใจเข้าร่วมอีก 6 ประเทศ
“หากเวทีนี้ได้ข้อสรุป การประชุมครั้งต่อไปในปลายนี้ที่ประเทศเกาหลีก็จะได้ยกร่าง และเตรียมนำร่องขึ้นได้ในปีหน้าอย่างแน่นอน ซึ่งไทยก็ได้รับให้เป็นหนึ่งในประเทศที่นำร่อง ก่อนที่จะมีการประกาศใช้ได้อย่างเป็นทางการ ได้ในปี 2551”
อย่างไรก็ตามการผลักดันในด้านการทำมาตรฐาน หน่วยงานภาครัฐได้ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ อาทิ อย่างสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) เพื่อให้ความเป็นมาตรฐานเกิดขึ้นและส่งผลดีต่อผู้ประกอบการไทย โดยขณะนี้ได้ใช้งบไปแล้วกว่า 13 ล้านบาทและคาดว่าจะใช้งบทั้งสิ้นไม่เกิน 20 ล้านบาท ที่เรื่องนี้ออกมาเป็นผลสำเร็จได้ในระยะเวลาภายใน 2 ปีนี้
หากมาตรฐานจัดทำออกมาได้ประเทศไทย จะก้าวไปยืนบนตลาดซอฟต์แวร์โลกได้ดีกว่าที่ผ่านมา โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่เป็นองค์กรขนาดเล็ก ที่ในปัจจุบันมีอยู่กว่า 90% ของทั้งตลาด สามารถสร้างซอฟต์แวร์ที่อยู่ภายใต้มาตรฐานส่วนนี้ ให้ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้งานมีความเป็นสากลมากขึ้น มากกว่าที่จะเป็นการยอมรับหรือมีมาตฐานใช้งานเพียงแค่ในประเทศ
“สิ่งที่ได้รับ คือผู้ประกอบการไทย กว่า 300ถึง 400 บริษัท จะยกระดับขึ้นมาจากเดิม ที่มีข้อจำกัดในการเป็นองค์กรขนาดเล็ก โอกาสการแข่งขันในตลาดโลกจะเพิ่มมากขึ้นและเติบโตขึ้นจากเดิมอีก 3-5 เท่า ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีการยอมรับในระดับหนึ่งแล้วก็ตาม”
นายธานินทร์ อุทยานกะ ซีอีโอ บริษัท สยามกูรู และกรรมการวิชาการคณะที่ 967 มาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์และระบบ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวว่า การพัฒนามาตรฐานซอฟต์แวร์ไทย เพื่อให้มีมาตรฐานได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยขณะนั้นได้มีหลายองค์กรได้รับการรับรองจาก SW-CMM ซึ่งต้องใช้งบประมาณสูง เหมาะสำหรับองค์กรใหญ่เท่านั้น และได้มีการสร้างมาตรฐานให้เป็นของไทย คือ TQS (Thai Quality Standard) มาประยุกต์ใช้ตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 12207 จนได้รับการยอมรับให้เป็นมาตรฐานระดับประเทศในปี 2546
การเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมมาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์นานาชาติครั้งที่ 19 ในประเทศไทยครั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายไปสู่การยกร่างมาตรฐาน VSE เกิดขึ้นและแล้วเสร็จในระยะเวลา 3 ปี โดยการประสานงานและติดตามระหว่างกลุ่ม WG24 และกลุ่มงานที่เกี่ยวข้อง เช่น WG7 WG10 ซึ่งเป็นกลุ่มงานมาตรฐานหลักของISO/IEC ประสานความร่วมมือกับประเทศสมาชิกหลักของกลุ่มWG24 ซึ่งประกอบไปด้วย ประเทศไทย ญี่ปุ่น อัฟริกาใต้ แคนาดา ออสเตรเลีย ฟินแลนด์ เซาท์แอฟริกาและประเทศอื่นในกลุ่มอีก 10 ประเทศ
ด้านน.พ.สุชัย เจริญรัตนะกุล รองนายกรัฐมนตรีและรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่งหากมาตรฐานรองรับที่เกิดขึ้น เพื่อรองรับผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่เป็นองค์กรขนาดเล็ก จะทำให้ผู้ประกอบการไทยนั้นสามารถโอกาสทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในตลาดโลกได้มากยิ่งขึ้น และการที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการประชุม รวมถึงการผลักดันในการสร้างมาตรฐานสำหรับผู้ผลิตขนากเล็ก จะช่วยแสดงถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทย ถึงความพร้อมในการแข่งขันและความร่วมมือในตลาดโลก
“ถึงเวลาแล้ว ที่ไทยจะเป็นจากการเป็นผู้ใช้ไปเป็นผู้สร้าง หากมาตรฐานนี้เกิดผลสำเร็จ ไทยจะมีสินค้าที่เป็นซอฟต์แวร์ ส่งออกไปแข่งขันยังตลาดโลกได้มากขึ้น นอกเหนือจากการเป็นผู้ส่งออกด้านเกษตร อาหาร”
Company Related Links :
SIPA