เอไอเอสเลือกทดสอบอุปกรณ์ 3G ในระบบ W-CDMAหรือวายแบนด์ซีดีเอ็มเอของหัวเหว่ย ในย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ก่อนลงทุนจริงต้นปีหน้า หลังวางแพลตฟอร์มรองรับการเชื่อมโยงคอนเทนต์ระหว่างอินเทอร์เน็ตกับโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ
นายวิเชียร เมฆตระการ รองกรรมการผู้อำนวยการสายงานปฏิบัติการบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิสหรือเอไอเอส กล่าวว่า ภายใน 1-2 เดือนนี้ เอไอเอสจะทดสอบระบบ 3G ด้วยเทคโนโลยี W-CDMA หรือวายแบนด์ซีดีเอ็มเอ โดยที่บริษัท หัวเหว่ย จะเป็นผู้เสนออุปกรณ์ในการทดสอบ ด้วยความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ซึ่งปัจจุบันเอไอเอสมีความถี่ ย่านดังกล่าวให้บริการจีเอสเอ็ม 1800 อยู่
“แผนการลงทุนที่ชัดเจนจะเกิดขึ้นเร็วๆนี้ โดยเอไอเอสคาดว่าจะเริ่มลงทุนในปี 2549 ด้วยเทคโนโลยี W-CDMA ซึ่งถือเป็นโรดแมพการพัฒนาของระบบจีเอสเอ็ม”
ในการทดสอบดังกล่าว จะให้ความสำคัญกับการสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการให้บริการมัลติมีเดีย มากกว่าการใช้งานโทรศัพท์มือถือในลักษณะสื่อสารด้วยเสียง ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหาอะไรอยู่แล้ว โดยการที่เอไอเอสเลือกทดสอบระบบ W-CDMA และคาดว่าจะเลือกลงทุนระบบดังกล่าว เพราะหากเทียบจำนวนเงินลงทุน ถ้าต้องให้บริการ 3G ด้วยระบบอื่นอย่าง CDMA 2000 1X EV-DO จำเป็นต้องลงทุนด้วยเงินมหาศาลเนื่องระบบเดิมที่ให้บริการอยู่ไม่สามารถพัฒนาต่อยอดไปได้ เนื่องจากเป็นแนวทางพัฒนาคนละเทคโนโลยีกัน
ในระหว่างที่รอการทดสอบของหัวเหว่ย เอไอเอสก็ได้มีการลงทุนด้านแพลตฟอร์มต่างๆเพื่อรองรับการให้บริการมัลติมีเดียเนื่องจากการใช้งานด้านข้อมูลและมัลติมีเดียในโครงข่ายโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตจะมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ที่ผ่านมาโอเปอเรเตอร์ไม่มี แพลตฟอร์มของอินเทอร์เน็ต โปรโตคอล (IP) ทำให้เอไอเอสจะให้ความสำคัญกับ IP Multimedia System (IMS) ซึ่งจะเป็นแพลตฟอร์มในการส่งข้อมูลและมัลติมีเดียระหว่างโครงข่ายโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ต โดยในด้านเทคนิคเอไอเอสได้สร้าง Content Delivery Gateway (CDG) และContent Management และ Portal Management
“แพลตฟอร์มต่างๆที่เราสร้าง จะช่วยทำให้คอนเทนต์มีการเชื่อมต่อระหว่างไอพีกับโครงข่ายมือถือ”
นายวิเชียรกล่าวว่า โซลูชันและแอปพลิเคชันจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ระบบ 3G ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับหรือไม่ เพราะบริการอย่างวิดีโอ โฟนที่มีอยู่ในปัจจุบันก็เป็นแค่เพียงลูกเล่นไม่ได้ใช้ประโยชน์จากระบบเต็มที่ แต่บริการที่น่าจะเหมาะสมกับ 3G ควรจะเป็นการสตรีมมิ่ง หรือดาวน์โหลดข้อมูล ไฟล์ขนาดใหญ่ การให้บริการในลักษณะตามความต้องการหรือออนดีมานด์ ซึ่งทำให้การทดสอบระบบ 3G ของหัวเหว่ย เอไอเอสจะให้ความสำคัญในด้านนี้อย่างมาก
สำหรับปัจจัยที่มีผลกระทบในเรื่องระยะเวลาการลงทุนระบบ 3G ของเอไอเอสยังขึ้นอยู่กับการตีความด้านกฎหมาย และประเด็นความเข้าใจของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ว่า 3G ถือเป็นไลเซนส์ใหม่ที่ต้องขออนุญาตหรือไม่ นอกจากนี้ เอไอเอสยังต้องดูว่ากทช.จะให้ไลเซนส์เอไอเอสอย่างไรสำหรับการให้บริการในปัจจุบัน ในกรณีทีเอไอเอสให้บริการ 3G ด้วยความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่มีอยู่แล้ว จะถือเหมือนการที่เอไอเอสให้บริการ GPRS สื่อสารด้านข้อมูลที่เป็นเหมือนบริการเสริมหรือไม่
“สำหรับ 3G หากเราถือเหมือนเป็นบริการเสริมด้านข้อมูลความเร็วสูง จะต้องขอไลเซนส์หรือไม่ ในมุมของเอไอเอส เราก็เห็นว่าเป็นบริการต่อเนื่องจากปัจจุบัน ซึ่งไม่น่าจะต้องขอไลเซนส์ใหม่”
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของราคาเครื่องลูกข่าย ถึงแม้ควอคอมม์จะสามารถผลิตชิปที่ใช้ได้ทั้งจีเอสเอ็มกับวายแบนด์ซีดีเอ็มเอแล้วก็ตาม แต่การผลิตเครื่องลูกข่ายเชิงพาณิชย์จะต้องใช้ปริมาณที่มากเพียงพอที่จะทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาดเพื่อให้ราคาไม่สูงเกินไปนัก หากรวมปริมาณที่สิงเทลและเอไอเอสจัดซื้อรวมกันก็ยังไม่มากพอที่จะให้เกิดการประหยัดต่อขนาดได้ รวมทั้งเอไอเอสยังต้องตัดสินใจในการคัดเลือกเวนเดอร์ว่าจะใช้อุปกรณ์กี่ยี่ห้อ เพราะปัจจุบันอย่างเอ็นอีซี ที่เดิมเสนอแต่ระบบสื่อสัญญาณ ก็ร่วมมือกับซีเมนส์ในการพัฒนาวายแบนด์ซีดีเอ็มเอ จนเป็นผู้นำในตลาดโลกตอนนี้
ด้านการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการตลาด เอไอเอสคงเลือกเดินตามโอเปอเรเตอร์สากล ที่จะลงทุนระบบ 3G ในเมืองใหญ่ โดยที่เอไอเอสคงลงทุนในกรุงเทพฯ และจังหวัดใหญ่ๆ ในลักษณะที่เป็นอำเภอเมืองมีความหนาแน่นของประชากร และมีการใช้งานสูงเป็นหลัก
Company Related Links :
AIS
Huawei
นายวิเชียร เมฆตระการ รองกรรมการผู้อำนวยการสายงานปฏิบัติการบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิสหรือเอไอเอส กล่าวว่า ภายใน 1-2 เดือนนี้ เอไอเอสจะทดสอบระบบ 3G ด้วยเทคโนโลยี W-CDMA หรือวายแบนด์ซีดีเอ็มเอ โดยที่บริษัท หัวเหว่ย จะเป็นผู้เสนออุปกรณ์ในการทดสอบ ด้วยความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ซึ่งปัจจุบันเอไอเอสมีความถี่ ย่านดังกล่าวให้บริการจีเอสเอ็ม 1800 อยู่
“แผนการลงทุนที่ชัดเจนจะเกิดขึ้นเร็วๆนี้ โดยเอไอเอสคาดว่าจะเริ่มลงทุนในปี 2549 ด้วยเทคโนโลยี W-CDMA ซึ่งถือเป็นโรดแมพการพัฒนาของระบบจีเอสเอ็ม”
ในการทดสอบดังกล่าว จะให้ความสำคัญกับการสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการให้บริการมัลติมีเดีย มากกว่าการใช้งานโทรศัพท์มือถือในลักษณะสื่อสารด้วยเสียง ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหาอะไรอยู่แล้ว โดยการที่เอไอเอสเลือกทดสอบระบบ W-CDMA และคาดว่าจะเลือกลงทุนระบบดังกล่าว เพราะหากเทียบจำนวนเงินลงทุน ถ้าต้องให้บริการ 3G ด้วยระบบอื่นอย่าง CDMA 2000 1X EV-DO จำเป็นต้องลงทุนด้วยเงินมหาศาลเนื่องระบบเดิมที่ให้บริการอยู่ไม่สามารถพัฒนาต่อยอดไปได้ เนื่องจากเป็นแนวทางพัฒนาคนละเทคโนโลยีกัน
ในระหว่างที่รอการทดสอบของหัวเหว่ย เอไอเอสก็ได้มีการลงทุนด้านแพลตฟอร์มต่างๆเพื่อรองรับการให้บริการมัลติมีเดียเนื่องจากการใช้งานด้านข้อมูลและมัลติมีเดียในโครงข่ายโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตจะมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ที่ผ่านมาโอเปอเรเตอร์ไม่มี แพลตฟอร์มของอินเทอร์เน็ต โปรโตคอล (IP) ทำให้เอไอเอสจะให้ความสำคัญกับ IP Multimedia System (IMS) ซึ่งจะเป็นแพลตฟอร์มในการส่งข้อมูลและมัลติมีเดียระหว่างโครงข่ายโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ต โดยในด้านเทคนิคเอไอเอสได้สร้าง Content Delivery Gateway (CDG) และContent Management และ Portal Management
“แพลตฟอร์มต่างๆที่เราสร้าง จะช่วยทำให้คอนเทนต์มีการเชื่อมต่อระหว่างไอพีกับโครงข่ายมือถือ”
นายวิเชียรกล่าวว่า โซลูชันและแอปพลิเคชันจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ระบบ 3G ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับหรือไม่ เพราะบริการอย่างวิดีโอ โฟนที่มีอยู่ในปัจจุบันก็เป็นแค่เพียงลูกเล่นไม่ได้ใช้ประโยชน์จากระบบเต็มที่ แต่บริการที่น่าจะเหมาะสมกับ 3G ควรจะเป็นการสตรีมมิ่ง หรือดาวน์โหลดข้อมูล ไฟล์ขนาดใหญ่ การให้บริการในลักษณะตามความต้องการหรือออนดีมานด์ ซึ่งทำให้การทดสอบระบบ 3G ของหัวเหว่ย เอไอเอสจะให้ความสำคัญในด้านนี้อย่างมาก
สำหรับปัจจัยที่มีผลกระทบในเรื่องระยะเวลาการลงทุนระบบ 3G ของเอไอเอสยังขึ้นอยู่กับการตีความด้านกฎหมาย และประเด็นความเข้าใจของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ว่า 3G ถือเป็นไลเซนส์ใหม่ที่ต้องขออนุญาตหรือไม่ นอกจากนี้ เอไอเอสยังต้องดูว่ากทช.จะให้ไลเซนส์เอไอเอสอย่างไรสำหรับการให้บริการในปัจจุบัน ในกรณีทีเอไอเอสให้บริการ 3G ด้วยความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่มีอยู่แล้ว จะถือเหมือนการที่เอไอเอสให้บริการ GPRS สื่อสารด้านข้อมูลที่เป็นเหมือนบริการเสริมหรือไม่
“สำหรับ 3G หากเราถือเหมือนเป็นบริการเสริมด้านข้อมูลความเร็วสูง จะต้องขอไลเซนส์หรือไม่ ในมุมของเอไอเอส เราก็เห็นว่าเป็นบริการต่อเนื่องจากปัจจุบัน ซึ่งไม่น่าจะต้องขอไลเซนส์ใหม่”
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของราคาเครื่องลูกข่าย ถึงแม้ควอคอมม์จะสามารถผลิตชิปที่ใช้ได้ทั้งจีเอสเอ็มกับวายแบนด์ซีดีเอ็มเอแล้วก็ตาม แต่การผลิตเครื่องลูกข่ายเชิงพาณิชย์จะต้องใช้ปริมาณที่มากเพียงพอที่จะทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาดเพื่อให้ราคาไม่สูงเกินไปนัก หากรวมปริมาณที่สิงเทลและเอไอเอสจัดซื้อรวมกันก็ยังไม่มากพอที่จะให้เกิดการประหยัดต่อขนาดได้ รวมทั้งเอไอเอสยังต้องตัดสินใจในการคัดเลือกเวนเดอร์ว่าจะใช้อุปกรณ์กี่ยี่ห้อ เพราะปัจจุบันอย่างเอ็นอีซี ที่เดิมเสนอแต่ระบบสื่อสัญญาณ ก็ร่วมมือกับซีเมนส์ในการพัฒนาวายแบนด์ซีดีเอ็มเอ จนเป็นผู้นำในตลาดโลกตอนนี้
ด้านการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการตลาด เอไอเอสคงเลือกเดินตามโอเปอเรเตอร์สากล ที่จะลงทุนระบบ 3G ในเมืองใหญ่ โดยที่เอไอเอสคงลงทุนในกรุงเทพฯ และจังหวัดใหญ่ๆ ในลักษณะที่เป็นอำเภอเมืองมีความหนาแน่นของประชากร และมีการใช้งานสูงเป็นหลัก
Company Related Links :
AIS
Huawei