xs
xsm
sm
md
lg

ก.ต.มีมติแต่งตั้ง “มัณทรี”นั่ง ปธ.ศาลอุทธรณ์ ”สุรินทร์"นั่งปธ.อม.คุมคดีอาญานักการเมือง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม


นางมัณทรี อุชชิน รองประธานศาลฎีกา ขึ้นเป็นประธานศาลอุทธรณ์
ก.ต.มีมติแต่งตั้งโยกย้าย “มัณทรี”นั่ง ปธ.ศาลอุทธรณ์”สุรินทร์"นั่งปธ.อม.คุมคดีอาญานักการเมือง “ฉัตรชัย”เจ้าของสำนวนคดี"ทักษิณ"ชั้น14 เป็นประธานเเผนกคดีพานิชย์เเละเศรษฐกิจในศาลฎีกา

วันที่ 21 ก.ค. ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ชั้น 3 อาคารศาลยุติธรรรม สนามหลวง นางชนากานต์ ธีรเวชพลกุล ประธานศาลฎีกาเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม(ก.ต.) ครั้งที่ 18/2568

โดยมีวาระสำคัญคือที่ประชุม ก.ต.เห็นชอบบัญชีโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการ ในวาระโยกย้ายแต่งตั้งบัญชี 2 ชั้น 4 สับเปลี่ยนตำแหน่งจำนวน66 บัญชีรายชื่อ

โดยมีรายชื่อผู้พิพากษาชื่อดังที่น่าสนใจดำรงตำเเหน่งสำคัญดังนี้

1. นางมัณทรี อุชชิน รองประธานศาลฎีกาได้ขยับขึ้นเป็นประธานศาลอุทธรณ์

2.นายไชยยศ วรนันท์ศิริ ประธานแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาในศาลฎีกาขึ้นเป็น รอง ประธานศาลฎีกา
3.นายชวลิต อิศรเดช ประธานแผนกคดีคำสั่งคำร้องและขออนุญาตฎีกา ฯ ในศาลฎีกาขึ้นเป็นรอง ประธานศาลฎีกา
4.นายวีระพงศ์ สุดาวงศ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5ขึ้นเป็นรอง ประธานศาลฎีกา
5.นายเดชา อัชรีวงศ์ไพศาล ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 2 ขึ้นเป็นรอง ประธานศาลฎีกา
6.นายวิธูร คลองมีคุณ หัวหน้าคณะในศาลฎีกา
เป็นรองประธานศาลฎีกา
7.นายสุวิทย์ พรพานิช ประธานศาลอุทธรณ์ ภาค 3 เป็นรอง ประธานศาลฎีกา
8.นายสุรินทร์ ชลพัฒนา ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 4 เป็นประธานเเผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมือง ในศาลฎีกา(อม.)
9.นายฉัตรชัย ไทรโชต หัวหน้าคณะในศาลฎีกา ขึ้นเป็นประธานเเผนกคดีพานิชย์เเละเศรษฐกิจในศาลฎีกา
10.นายกีรติ วรพุทธพงศ์ หัวหน้าคณะในศาลฎีกาเป็นประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ
11.นายจุมพล ชูวงษ์ หัวหน้าคณะในศาลฎีกาไปเป็นประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1
12.นายอดุลย์ ขันทอง ผู้พิพากษาศาลฎีกาขึ้นเป็นหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
13นายสุชาติ สุนทรีเกษม อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาไปเป็นหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
14.นายรุ่งศักดิ์ วงศ์กระสัน ผู้พิพากษาศาลฎีกาขึ้นเป็นหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
15.นายเลิศพงศ์ อินทรหอม อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ขึ้นเป็น หัวหน้าคณะในศาลฎีกา
16.นายพงษ์เดช วานิชกิตติกูล ผู้พิพากษาศาลฎีกา ขึ้นเป็นหัวหน้าคณะในศาลฎีกา


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ นางมัณทรี อุชชิน ว่าที่ประธานศาลอุทธรณ์ เป็นตำเเหน่งที่มีความสำคัญเเละอาวุโสรองจากประธานศาลฎีกา มีหน้าที่กำกับดูแลการบริหารงานในศาลอุทธรณ์ทุกด้าน ทั้งด้านคดีและการบริหารงานบุคคล นอกจากนี้ยังมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายพิเศษบัญญัติไว้ เช่น การพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ การเลือกตั้ง และคดีเกี่ยวกับยาเสพติดและค้ามนุษย์ ทั้งยังเป็นอุปนายกคนที่ 1 โดยตำแหน่ง ของเนติบัณฑิตยสภา นางมัณทรี จบระดับมัธยม โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ,ปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับสอง)เนติบัณฑิตไทย สมัยที่ 34 ปริญญาโท นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาวิทยาลัยปารีส 1 (ปองเตออง ซอร์บอร์น) เกียรตินิยมดี (ทุนสำนักงานศาลยุติธรรม) ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 5 เเละภาค7 ,รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5 อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 5 ,ประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๖
ประธานแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประทศ เเละรองประธานศาลฎีกา เเละยังได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการผู้ทรงคุณวุฒิในชั้นศาลฎีกา จนถึงปัจจุบัน

นายวีระพงศ์ สุดาวงศ์ ว่าที่รองประธานศาลฎีกาซึ่งปัจจุบันเป็นประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีอำนาจบริหารงาน พิจารณาคดีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อยู่ในเขตอำนาจศาลทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาในพื้นที่ภาค5 โดยมีสำนักงานอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นจังหวัดใหญ่ในภาคเหนือเเละเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ ซึ่งนายวีระพงศ์คนนี้มีลำดับอาวุโสที่จะดำรงตำเเหน่งประธานศาลฎีกาต่อจากนายอดิศักดิ์ ที่ก.ต.พึ่งมีมติผ่านขึ้นเป็นประมุขตุลาการในวาระ 1 ก.ย.2568


นายสุรินทร์ ชลพัฒนา ว่าที่ประธานเเผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมือง ในศาลฎีกา เคยเป็นเลขาธิการประธานศาลฎีกา ในยุคนายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ขับเคลื่อนนโยบายที่เกี่ยวกับสิทธิการประกันตัวของผู้ต้องหาจำเลย เรียกว่าความยุติธรรมไม่มีวันหยุด ที่ส่งผลให้การยื่นขอประกันตัวสามารถยื่นได้ทุกวัน และช่วงที่ดำรงตำเเหน่งประธานศาลอุทธรณ์ภาค 4 ซึ่งเป็นพื้นที่อีสานตอนบนครอบคลุมพื้นที่ 18 ศาล 12 จังหวัดก็มีบทบาทสำคัญ ในการพิจารณาพิพากษาคดีที่คู่ความอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อยู่ในเขตอำนาจศาลทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา โดยมีสำนักงานอยู่ที่ขอนแก่นซึ่งเป็นจังหวัดใหญ่ในภาคอีสาน การที่ได้มาเป็นประธานเเผนกคดีอาญานักการเมือง ที่มีบทบาทเด่นที่สุดในเเผนกคดีของศาลฎีกา ที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี,รัฐมนตรี,สส. สว.คดีที่จะเข้ามาเกี่ยวกับการทุจริตฯที่มาจาก ป.ป.ช.หรือร่ำรวยผิดปกติ ตัวอย่างคดีดังๆแย่สงเช่น คดีทุจริตจำนำข้าว,คดีระบายข้าวจีทูจี,คดีทุจริตก่อสร้างโรงพัก ,คดีทุจริตสร้างสนามฟุตซอล
เเละล่าสุดคือคดีไต่สวนการบังคับใช้โทษ นายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งนายสุรินทร์มีความเหมาะสมทั้งในเรื่องอาวุโสความสามารถประสบการณ์เเละความซื่อสัตย์ยุติธรรม นายสุรินทร์ จบนิติศาสตรบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนติบัณฑิตไทย ปริญญาโท Master ofi Laws ที่ Southern Methodist
University, Texas เเละระดับปริญญาโทอีกที่ Master ofi Comparative Law ที่ University, Washington D.C.

นายฉัตรชัย ไทรโชต ว่าที่ ประธานเเผนกคดีพานิชย์เเละเศรษฐกิจในศาลฎีกา ซึ่งมีบาทบาทเป็นที่รู้จักเมื่อครี้งนั่งอธิบดีศาลเเพ่งในเรื่องการประสานความร่วมมือด้านการยุติธรรม ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมรวมถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพิจารณาคดีอำนวยความยุติธรรมให้แก่คู่ความ เเละยังได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรามหรือ กบศ.เเต่มามีบทบาทที่โดดเด่นที่สุดคือเป็นเจ้าของสำนวนคดีบังคับโทษชั้น 14 ของนายทักษิณ ชินวัตรในศาลฎีกาเผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมือง ซึ่งถูกชื่นชมกันถึงการคุมเข้มกระบวนการไต่สวนได้มีประสิทธิภาพในการค้นหาความจริงให้เป็นที่ปรากฎ เเละสร้างความยุติธรรมคดีที่จะเป็นบรรทัดฐานใหม่ในคดีที่ไม่เคยมีการไต่สวนในลักษณะนี้มาก่อนได้

ทั้งนี้การแต่งตั้งโยกย้ายครั้งนี้ เป็นตุลาการชั้น 4 ระดับตั้งเเต่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ขึ้นไปจนถึงประธานศาลอุทธรณ์ ซึ่งวันนี้ ก.ต.พิจารณารายชื่อผู้พิพากษาทั้ง 66 รายเป็นบัญชีที่ 2 ต่อจากบัญชี 1 ที่ได้ผ่านนายนายอดิศักดิ์ ตันติวงศ์ ว่าที่ประธานศาลฎีกาคนที่ 51
กำลังโหลดความคิดเห็น