“ปรีดิยาธร” ออกโรงซัดทีมศก.รัฐบาล ทำงานแบบลอยตัว ไม่เร่งแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็ง เย้ยคนระดับ “รมต.” ไม่กล้าชน ต้องรอผ่านไปเกือบสัปดาห์ จนเหตุการณ์เริ่มคลี่คลาย พร้อมร่อนบทความจี้คลัง เรียกเก็บหนี้เพิ่มเติม
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เขียนบทความเรื่อง "ใครทำอะไร ในการป้องกันเงินบาทแข็งค่า" เพื่อเผยแพร่ต่อสื่อมวลชน โดยกล่าวถึงความรู้สึกไม่สบายใจ ในการทำงานของทีมเศรษฐกิจชุดปัจจุบัน ที่ทำงานแบบลอยตัว แก้ปัญหาเงินบาทล่าช้า จนเกิดความเสียหาย ซึ่งบทความได้ระบุวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1.การอธิบายการแทรกแซงตลาดเงินโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะทำได้ผลในกรณีใด 2.ต้องการให้เห็นว่า ระดับอัตราการแลกเปลี่ยนใด เป็นระดับที่ส่งออกไทยยังน่าจะแข่งกันกับคู่แข่งในภูมิภาคได้ และช่วยกันหาวิธีรักษาค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่พึงประสงค์ และ 3.ต้องการหามาตรการป้องกันไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นไปอีก และใครได้ทำอะไรไปบ้างแล้วจนทำให้ค่าเงินบาทเริ่มมีเสถียรภาพ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ชี้ชัดว่า ด้วยปัญหาหลักคือความหวาดกลัวของนักธุรกิจ ช่วงเปลี่ยนตัว รมว.คลัง ในต้นเดือน มี.ค. โดยคาดเดากันว่า อาจมีการยกเลิกมาตรการสำรอง 30% ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ผู้ส่งออกเลยเร่งขายเงินดอลลาร์ในช่วง 2-3 เดือนนั้น สูงถึงเดือนละ 10,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ผู้ส่งออกชะลอการขายเช่นกัน ทำให้ค่าเงินบาทจาก 35 บาทกว่า แข็งขึ้นเป็น 34 บาทกว่าทันที เกินกว่าที่ ธปท. จะดึงเงินดอลลาร์ออกจากตลาดได้ทัน หรือเมื่อช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเงินดอลลาร์ไหลเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์สูงกว่าปกติ ทำให้นัก ธุรกิจเกรงว่าค่าเงินจะแข็งขึ้นไปอีก ผู้ส่งออกจึงเร่งขายดอลลาร์ซ้ำเติม ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นจนถึง 33 บาทกว่า ทั้งนี้ ธปท.มีความสามารถดูดเงินส่วนเกินในยามที่ไม่ตื่นกลัว แต่เงินส่วนเกินที่เกิดจากความตื่นกลัวและเร่งขายโดยไม่คาดคิดนั้น ยากที่จะรับมือได้ทัน
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ชี้ถึงปัญหาระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่จะทำให้ผู้ส่งออกไม่เสียเปรียบคู่แข่งขันในภูมิภาคว่า ควรต้องเริ่มจากจุดของเวลาที่เงินดอลลาร์เริ่มไหลจากสหรัฐอเมริกาเข้า สู่ประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2547 หรือต้นปี 2548 ว่า ช่วงนั้นประเทศไทยเพิ่งประสบปัญหาสึนามิ ทำให้ค่าเงินสกุลเอเชียในประเทศต่าง ๆ แข็งค่าขึ้น กระทั่งถึงปลายปี 2549 ค่าเงินบาทได้แข็งขึ้นเพียง 8.38% ซึ่งอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ไทยระบุว่า เงินบาทแข็งขึ้น 22.6% โดยคิดจากปี 2549 จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเหมาะสม ดังนั้น เราไม่จำเป็นต้องให้เงินอ่อนกลับไปที่ระดับ 36 บาท/ดอลลาร์ ดังที่นักเศรษฐศาสตร์บางคนกล่าว เพราะถ้าอ่อนถึงระดับนั้น ผู้ส่งออกจะได้เปรียบคู่แข่งมากจนไม่มีการปรับตัว
อดีตหัวหน้าทีมเศรษฐกิจรัฐบาลปัจจุบัน ระบุว่า ตนเห็นว่ามาตรการที่ดีที่สุดที่จะแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่าขณะนี้ คือกระตุ้นให้รัฐวิสาหกิจชำระเงินที่เป็นเงินตราต่างประเทศก่อนกำหนด เพราะเป็นการเร่งให้มีการซื้อดอลลาร์ในตลาดเพื่อการส่งออก ไปชำระหนี้ในจำนวนสูง น่าจะมีผลทำให้ค่าเงินบาทไม่แข็งขึ้นต่อไปทันที และถ้ามีจำนวนสูงมากพอก็น่าจะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ในการประชุมกับบุคคลระดับรัฐมนตรีว่าการขึ้นไปที่กระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 14 ก.ค. และที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 16 ก.ค. คำตอบที่ได้รับคือไม่แน่ใจว่าจะให้รัฐวิสาหกิจทำตามได้ ตนฟังแล้วรู้สึกหดหู่ใจอย่างมาก ไม่รู้ว่าจะลอยตัวกันไปถึงไหน กระทั่งในวันที่ 19 ก.ค. นายสมหมาย ภาษี รมช.คลัง ได้ดำเนินการผลักดันจนรัฐวิสาหกิจยอมใช้หนี้ล่วงหน้า 2,180 ล้านดอลลาร์ และตลาดสนองตอบในทางที่ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงเล็กน้อย หลังจากนี้เชื่อว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะเริ่มมีเสถียรภาพ ค่าเงินไม่น่าจะแข็งขึ้นไปอีก
ทั้งนี้ บทความได้สรุปว่า ถ้ากระทรวงการคลังเร่งเรื่องชำระหนี้คืนจากรัฐวิสาหกิจให้ได้สูงขึ้น และ ธปท.กับสมาคมธนาคาร ร่วมออกมาตรการให้ผู้นำเข้าเอกชนชำระเงินทันทีเมื่อสินค้าเข้า จะช่วยให้ค่าเงินบาทอ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ ตลอดจนการสร้างความเข้าใจระหว่าง ธปท. กับนักธุรกิจเอกชนจะช่วยลดโอกาสของความตื่นตระหนกลดโอกาสที่ผู้ส่งออกเร่งขายดอลลาร์ หากมีเหตุการณ์เงินทุนไหลเข้ารุนแรงซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต จะช่วยป้องกันมิให้เงินบาทแข็งขึ้นเกินสมควร
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เขียนบทความเรื่อง "ใครทำอะไร ในการป้องกันเงินบาทแข็งค่า" เพื่อเผยแพร่ต่อสื่อมวลชน โดยกล่าวถึงความรู้สึกไม่สบายใจ ในการทำงานของทีมเศรษฐกิจชุดปัจจุบัน ที่ทำงานแบบลอยตัว แก้ปัญหาเงินบาทล่าช้า จนเกิดความเสียหาย ซึ่งบทความได้ระบุวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1.การอธิบายการแทรกแซงตลาดเงินโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะทำได้ผลในกรณีใด 2.ต้องการให้เห็นว่า ระดับอัตราการแลกเปลี่ยนใด เป็นระดับที่ส่งออกไทยยังน่าจะแข่งกันกับคู่แข่งในภูมิภาคได้ และช่วยกันหาวิธีรักษาค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่พึงประสงค์ และ 3.ต้องการหามาตรการป้องกันไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นไปอีก และใครได้ทำอะไรไปบ้างแล้วจนทำให้ค่าเงินบาทเริ่มมีเสถียรภาพ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ชี้ชัดว่า ด้วยปัญหาหลักคือความหวาดกลัวของนักธุรกิจ ช่วงเปลี่ยนตัว รมว.คลัง ในต้นเดือน มี.ค. โดยคาดเดากันว่า อาจมีการยกเลิกมาตรการสำรอง 30% ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ผู้ส่งออกเลยเร่งขายเงินดอลลาร์ในช่วง 2-3 เดือนนั้น สูงถึงเดือนละ 10,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ผู้ส่งออกชะลอการขายเช่นกัน ทำให้ค่าเงินบาทจาก 35 บาทกว่า แข็งขึ้นเป็น 34 บาทกว่าทันที เกินกว่าที่ ธปท. จะดึงเงินดอลลาร์ออกจากตลาดได้ทัน หรือเมื่อช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเงินดอลลาร์ไหลเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์สูงกว่าปกติ ทำให้นัก ธุรกิจเกรงว่าค่าเงินจะแข็งขึ้นไปอีก ผู้ส่งออกจึงเร่งขายดอลลาร์ซ้ำเติม ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นจนถึง 33 บาทกว่า ทั้งนี้ ธปท.มีความสามารถดูดเงินส่วนเกินในยามที่ไม่ตื่นกลัว แต่เงินส่วนเกินที่เกิดจากความตื่นกลัวและเร่งขายโดยไม่คาดคิดนั้น ยากที่จะรับมือได้ทัน
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ชี้ถึงปัญหาระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่จะทำให้ผู้ส่งออกไม่เสียเปรียบคู่แข่งขันในภูมิภาคว่า ควรต้องเริ่มจากจุดของเวลาที่เงินดอลลาร์เริ่มไหลจากสหรัฐอเมริกาเข้า สู่ประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2547 หรือต้นปี 2548 ว่า ช่วงนั้นประเทศไทยเพิ่งประสบปัญหาสึนามิ ทำให้ค่าเงินสกุลเอเชียในประเทศต่าง ๆ แข็งค่าขึ้น กระทั่งถึงปลายปี 2549 ค่าเงินบาทได้แข็งขึ้นเพียง 8.38% ซึ่งอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ไทยระบุว่า เงินบาทแข็งขึ้น 22.6% โดยคิดจากปี 2549 จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเหมาะสม ดังนั้น เราไม่จำเป็นต้องให้เงินอ่อนกลับไปที่ระดับ 36 บาท/ดอลลาร์ ดังที่นักเศรษฐศาสตร์บางคนกล่าว เพราะถ้าอ่อนถึงระดับนั้น ผู้ส่งออกจะได้เปรียบคู่แข่งมากจนไม่มีการปรับตัว
อดีตหัวหน้าทีมเศรษฐกิจรัฐบาลปัจจุบัน ระบุว่า ตนเห็นว่ามาตรการที่ดีที่สุดที่จะแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่าขณะนี้ คือกระตุ้นให้รัฐวิสาหกิจชำระเงินที่เป็นเงินตราต่างประเทศก่อนกำหนด เพราะเป็นการเร่งให้มีการซื้อดอลลาร์ในตลาดเพื่อการส่งออก ไปชำระหนี้ในจำนวนสูง น่าจะมีผลทำให้ค่าเงินบาทไม่แข็งขึ้นต่อไปทันที และถ้ามีจำนวนสูงมากพอก็น่าจะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ในการประชุมกับบุคคลระดับรัฐมนตรีว่าการขึ้นไปที่กระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 14 ก.ค. และที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 16 ก.ค. คำตอบที่ได้รับคือไม่แน่ใจว่าจะให้รัฐวิสาหกิจทำตามได้ ตนฟังแล้วรู้สึกหดหู่ใจอย่างมาก ไม่รู้ว่าจะลอยตัวกันไปถึงไหน กระทั่งในวันที่ 19 ก.ค. นายสมหมาย ภาษี รมช.คลัง ได้ดำเนินการผลักดันจนรัฐวิสาหกิจยอมใช้หนี้ล่วงหน้า 2,180 ล้านดอลลาร์ และตลาดสนองตอบในทางที่ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงเล็กน้อย หลังจากนี้เชื่อว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะเริ่มมีเสถียรภาพ ค่าเงินไม่น่าจะแข็งขึ้นไปอีก
ทั้งนี้ บทความได้สรุปว่า ถ้ากระทรวงการคลังเร่งเรื่องชำระหนี้คืนจากรัฐวิสาหกิจให้ได้สูงขึ้น และ ธปท.กับสมาคมธนาคาร ร่วมออกมาตรการให้ผู้นำเข้าเอกชนชำระเงินทันทีเมื่อสินค้าเข้า จะช่วยให้ค่าเงินบาทอ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ ตลอดจนการสร้างความเข้าใจระหว่าง ธปท. กับนักธุรกิจเอกชนจะช่วยลดโอกาสของความตื่นตระหนกลดโอกาสที่ผู้ส่งออกเร่งขายดอลลาร์ หากมีเหตุการณ์เงินทุนไหลเข้ารุนแรงซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต จะช่วยป้องกันมิให้เงินบาทแข็งขึ้นเกินสมควร