บอร์ด "ทีโอที" เลิกคิดบริจาค 800 ล้านบาท อุดหนุนงานกองทัพ หลังกำไรหด 2 พันล้านบาท เตรียมเดินหน้าพัฒนาไทยโมบายสู่ 3 จี
นายชิต เหล่าวัฒนา โฆษกคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ทีโอที กล่าวว่า บอร์ดได้ยุติแนวคิดการบริจาคเงินจำนวน 800 ล้านบาท สำหรับซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ด้านความมั่นคงแห่งชาติ และปล่อยให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารพิจารณา หลังผลการดำเนินงานของทีโอที ระหว่างเดือน ม.ค.-เม.ย. ในปีนี้มีกำไรเพียง 1.2 พันล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 2.2 พันล้านบาท
สำหรับสาเหตุที่กำไรของทีโอที ลดลงค่อนข้างมากนั้น เนื่องจากรายได้ที่ลดลงจากบริการหลัก ไม่ว่าจะเป็นบริการโทรศัพท์พื้นฐานที่ทำรายได้เพียง 4.9 พันล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้วที่มีรายได้ 5.9 พันล้านบาท บริการโทรศัพท์สาธารณะก็มีรายได้หายไป 32% จากเดิมที่เคยมีรายได้ 1.4 พันล้านบาท และบริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ ก็มีรายได้ 336 ล้านบาท น้อยกว่าที่ปีที่แล้วที่มีรายได้สูงถึง 497 ล้านบาท
นายชิต กล่าวว่า กำไรที่ลดลงอย่างชัดเจน ส่งผลให้ทีโอทีต้องเร่งปรับตัวและดำเนินธุรกิจในเชิงรุกมากขึ้น โดยพยายามสร้างรายได้จากบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) เพราะเป็นบริการที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด คือโตประมาณ 151% ซึ่งจะต้องปรับปรุงขั้นตอนการยื่นขอใช้บริการ ให้เทียบเท่ากับคู่แข่ง โดยเน้นการทำงานที่รวดเร็วและเข้าถึงผู้ใช้ได้มากขึ้น
นอกจากนี้ จะเร่งจัดการปัญหาบริษัท ไทยโมบาย ที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 1900 เพื่อพัฒนาสู่การให้บริการ 3 จี ตามที่บริษัทโทรคมนาคมจากประเทศจีน เสนอตัวเป็น ผู้ลงทุนมูลค่ากว่า 3 หมื่น ล้านบาทให้ โดยคณะกรรมการกลั่นกรองจะมีการประชุมในเรื่องนี้ ในวันที่ 11 ก.ค. และทางทูตพาณิชย์ของจีนประจำประเทศไทย จะเข้าพบนายสิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) วันที่ 16 ก.ค. ด้วยเช่นกัน
นายชิต กล่าวต่อว่า สำหรับความคืบหน้าการหาข้อสรุป เรื่องค่าเชื่อมต่อเลขหมาย หรือเอซี (แอกเซสชาร์จ) ที่ กสทฯ ไม่ยอมฟ้องร้องบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค และบริษัท ทรูมูฟ โดย พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ประธานบอร์ดทีโอที และ พล.อ.มนตรี สังขทรัพย์ ประธานบอร์ด กสท โทรคมนาคม จะเข้าหารือกับ พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เพื่อหาข้อสรุปเรื่องดังกล่าว
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กสทฯ ไม่ได้ฟ้องบริษัทเอกชน ตามมติของคณะกรรมการที่ประกอบด้วย ตัวแทนจากบอร์ดทีโอที 5 คน และ บอร์ด กสทฯ 5 คน โดยให้เหตุผลว่าต้องรอคำชี้ขาดจาก กทช.ว่า เอซีและค่าเชื่อมโยง โครงข่าย หรือไอซี (อินเตอร์คอนเนกชันชาร์จ) คือเรื่องเดียวกัน
รวมทั้งการขึ้นแบล็กลิสต์บริษัทเอกชน ประมาณ 10% จากบริษัททั้งหมดที่เข้าร่วมประมูล 45 บริษัท 69 สัญญา หลังจากไม่สามารถส่งมอบงานตามที่กำหนดตามนโยบายของกระทรวงไอซีที ซึ่งจะนำเสนอรายชื่อต่อรัฐมนตรีไอซีทีแล้ว จึงสามารถเปิดเผยรายชื่อทั้งหมดได้
นายชิต เหล่าวัฒนา โฆษกคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ทีโอที กล่าวว่า บอร์ดได้ยุติแนวคิดการบริจาคเงินจำนวน 800 ล้านบาท สำหรับซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ด้านความมั่นคงแห่งชาติ และปล่อยให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารพิจารณา หลังผลการดำเนินงานของทีโอที ระหว่างเดือน ม.ค.-เม.ย. ในปีนี้มีกำไรเพียง 1.2 พันล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 2.2 พันล้านบาท
สำหรับสาเหตุที่กำไรของทีโอที ลดลงค่อนข้างมากนั้น เนื่องจากรายได้ที่ลดลงจากบริการหลัก ไม่ว่าจะเป็นบริการโทรศัพท์พื้นฐานที่ทำรายได้เพียง 4.9 พันล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้วที่มีรายได้ 5.9 พันล้านบาท บริการโทรศัพท์สาธารณะก็มีรายได้หายไป 32% จากเดิมที่เคยมีรายได้ 1.4 พันล้านบาท และบริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ ก็มีรายได้ 336 ล้านบาท น้อยกว่าที่ปีที่แล้วที่มีรายได้สูงถึง 497 ล้านบาท
นายชิต กล่าวว่า กำไรที่ลดลงอย่างชัดเจน ส่งผลให้ทีโอทีต้องเร่งปรับตัวและดำเนินธุรกิจในเชิงรุกมากขึ้น โดยพยายามสร้างรายได้จากบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) เพราะเป็นบริการที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด คือโตประมาณ 151% ซึ่งจะต้องปรับปรุงขั้นตอนการยื่นขอใช้บริการ ให้เทียบเท่ากับคู่แข่ง โดยเน้นการทำงานที่รวดเร็วและเข้าถึงผู้ใช้ได้มากขึ้น
นอกจากนี้ จะเร่งจัดการปัญหาบริษัท ไทยโมบาย ที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 1900 เพื่อพัฒนาสู่การให้บริการ 3 จี ตามที่บริษัทโทรคมนาคมจากประเทศจีน เสนอตัวเป็น ผู้ลงทุนมูลค่ากว่า 3 หมื่น ล้านบาทให้ โดยคณะกรรมการกลั่นกรองจะมีการประชุมในเรื่องนี้ ในวันที่ 11 ก.ค. และทางทูตพาณิชย์ของจีนประจำประเทศไทย จะเข้าพบนายสิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) วันที่ 16 ก.ค. ด้วยเช่นกัน
นายชิต กล่าวต่อว่า สำหรับความคืบหน้าการหาข้อสรุป เรื่องค่าเชื่อมต่อเลขหมาย หรือเอซี (แอกเซสชาร์จ) ที่ กสทฯ ไม่ยอมฟ้องร้องบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค และบริษัท ทรูมูฟ โดย พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ประธานบอร์ดทีโอที และ พล.อ.มนตรี สังขทรัพย์ ประธานบอร์ด กสท โทรคมนาคม จะเข้าหารือกับ พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เพื่อหาข้อสรุปเรื่องดังกล่าว
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กสทฯ ไม่ได้ฟ้องบริษัทเอกชน ตามมติของคณะกรรมการที่ประกอบด้วย ตัวแทนจากบอร์ดทีโอที 5 คน และ บอร์ด กสทฯ 5 คน โดยให้เหตุผลว่าต้องรอคำชี้ขาดจาก กทช.ว่า เอซีและค่าเชื่อมโยง โครงข่าย หรือไอซี (อินเตอร์คอนเนกชันชาร์จ) คือเรื่องเดียวกัน
รวมทั้งการขึ้นแบล็กลิสต์บริษัทเอกชน ประมาณ 10% จากบริษัททั้งหมดที่เข้าร่วมประมูล 45 บริษัท 69 สัญญา หลังจากไม่สามารถส่งมอบงานตามที่กำหนดตามนโยบายของกระทรวงไอซีที ซึ่งจะนำเสนอรายชื่อต่อรัฐมนตรีไอซีทีแล้ว จึงสามารถเปิดเผยรายชื่อทั้งหมดได้