เอ็กโก และไทยออยล์ มั่นใจประมูลโครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ (ไอพีพี) หลังจาก ปตท.ตอบรับพร้อมจะก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงให้แล้ว นอกจากนี้ ยังได้เปรียบด้านพื้นที่ และสาธารณูปโภคในพื้นที่อีกด้วย
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า มั่นใจว่า การเปิดประมูลโครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ (ไอพีพี) ในรอบนี้ 3,200 เมกะวัตต์ จะมีผู้เข้าเสนอโครงการเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นการเปิดประมูลที่มีความชัดเจนในข้อกำหนดต่าง ๆ โดยจะเห็นได้ชัดจากการตอบรับของผู้เข้าซื้อซองประมูลวันแรกในวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา มีผู้ซื้อถึง 22 ราย
ทั้งนี้ การประมูลไอพีพีรอบนี้ ผู้ที่มีความพร้อมสูงสุด คือ กลุ่มไทยออยล์, บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง และ บมจ.ผลิตไฟฟ้า เพราะมีการเตรียมพื้นที่ เตรียมเชื้อเพลิง และได้ทำรายงานเรื่องการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ไว้แล้ว โดยคาดว่า การประมูลรอบแรกนี้น่าจะเป็นเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติทั้งหมด ซึ่งในส่วนของบริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) หรือ ไอพีที ในเครือไทยออยล์ได้ซื้อซองประกวดราคา 2 ซอง พร้อมที่จะเสนอประมูลโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ 2 โรง กำลังผลิตโรงละประมาณ 700 เมกะวัตต์ ซึ่งล่าสุด บมจ.ปตท.ได้ตอบรับว่า พร้อมจะส่งก๊าซฯ เพื่อเป็นเชื้อเพลิงแล้วรวมกว่า 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในขณะที่พื้นที่ก่อสร้างเป็นบริเวณเดิมกับโรงไฟฟ้าไอพีทีในปัจจุบัน จึงได้เปรียบด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ซึ่งทางไอพีทีคาดหวังว่าจะได้รับคัดเลือกเป็นผู้ชนะประมูลไอพีพีรายแรกเหมือนกับรอบที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ไอพีทีได้เปิดรับผู้ที่จะเสนอเทคโนโลยีด้านโรงไฟฟ้าที่ดีที่สุด จากที่ปัจจุบันใช้เทคโนโลยีของซีเมนส์
ด้าน นายวิศิษฎ์ อัครวิเนค กรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ผลิตไฟฟ้า หรือ เอ็กโก กล่าวว่าได้ซื้อซองประมูลไอพีพี 3 ซอง โดยจะเสนอประมูลไอพีพีฝั่งตะวันตก 2 โรง 1,600 เมกะวัตต์ ฝั่งตะวันออก 2 โรง 1,600 เมกะวัตต์ และภาคใต้ในบริษัท โรงไฟฟ้าขนอม 1 โรง 800 เมกะวัตต์ ซึ่งบริษัทเชื่อมั่นว่าด้วยความพร้อม ทั้งด้านบุคลากรที่มีช่างซ่อมบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า และด้านการเงินที่แข็งแกร่งจะสามารถชนะประมูลไอพีพีได้ อย่างน้อยร้อยละ 30 หรือ 800 เมกะวัตต์ และหากประมูลได้ทั้งหมด เอ็กโกก็พร้อมจะหาพันธมิตรร่วมทุนด้วย โดยต้องเน้นว่าพันธมิตรจะต้องเป็นที่ร่วมหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อทำให้ค่าไฟฟ้าต่ำที่สุด ส่วนในเรื่องที่มีการคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่จังหวัดราชบุรีนั้น เชื่อว่าจะสามารถทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ได้
นายวิศิษฎ์ กล่าวว่า เอ็กโกได้เตรียมด้านการเงินไว้ประมูลไอพีพีแล้ว โดยมีกระแสเงินสด 6,000 ล้านบาท จัดหาเงินกู้ระยะสั้น 8,000 ล้านบาท ซึ่งหากประมูลไอพีพีได้ก็จะจัดหาเงินกู้ระยะยาวต่อไป โดยคาดว่า 1 โรงไฟฟ้า (800 เมกะวัตต์) จะใช้เงินลงทุน 13,000 ล้านบาท และหากประมูลได้หมดก็จะใช้เงินลงทุนรวม 60,000 - 70,000 ล้านบาท โดยบริษัทตั้งเป้าหมายจะใช้เงินกู้ 3 ส่วน ต่อเงินทุน 1 ส่วน ซึ่งในส่วนการจัดหาก๊าซ ในขณะนี้ ปตท.ได้ตอบตกลงที่จะหาก๊าซให้พร้อมทุกโรงแล้ว โรงละประมาณ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยราคาก๊าซฯ นั้น เอ็กโก คาดว่า จะอยู่ที่ประมาณ 204 บาท/ล้านบีทียู
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า มั่นใจว่า การเปิดประมูลโครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ (ไอพีพี) ในรอบนี้ 3,200 เมกะวัตต์ จะมีผู้เข้าเสนอโครงการเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นการเปิดประมูลที่มีความชัดเจนในข้อกำหนดต่าง ๆ โดยจะเห็นได้ชัดจากการตอบรับของผู้เข้าซื้อซองประมูลวันแรกในวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา มีผู้ซื้อถึง 22 ราย
ทั้งนี้ การประมูลไอพีพีรอบนี้ ผู้ที่มีความพร้อมสูงสุด คือ กลุ่มไทยออยล์, บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง และ บมจ.ผลิตไฟฟ้า เพราะมีการเตรียมพื้นที่ เตรียมเชื้อเพลิง และได้ทำรายงานเรื่องการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ไว้แล้ว โดยคาดว่า การประมูลรอบแรกนี้น่าจะเป็นเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติทั้งหมด ซึ่งในส่วนของบริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) หรือ ไอพีที ในเครือไทยออยล์ได้ซื้อซองประกวดราคา 2 ซอง พร้อมที่จะเสนอประมูลโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ 2 โรง กำลังผลิตโรงละประมาณ 700 เมกะวัตต์ ซึ่งล่าสุด บมจ.ปตท.ได้ตอบรับว่า พร้อมจะส่งก๊าซฯ เพื่อเป็นเชื้อเพลิงแล้วรวมกว่า 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในขณะที่พื้นที่ก่อสร้างเป็นบริเวณเดิมกับโรงไฟฟ้าไอพีทีในปัจจุบัน จึงได้เปรียบด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ซึ่งทางไอพีทีคาดหวังว่าจะได้รับคัดเลือกเป็นผู้ชนะประมูลไอพีพีรายแรกเหมือนกับรอบที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ไอพีทีได้เปิดรับผู้ที่จะเสนอเทคโนโลยีด้านโรงไฟฟ้าที่ดีที่สุด จากที่ปัจจุบันใช้เทคโนโลยีของซีเมนส์
ด้าน นายวิศิษฎ์ อัครวิเนค กรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ผลิตไฟฟ้า หรือ เอ็กโก กล่าวว่าได้ซื้อซองประมูลไอพีพี 3 ซอง โดยจะเสนอประมูลไอพีพีฝั่งตะวันตก 2 โรง 1,600 เมกะวัตต์ ฝั่งตะวันออก 2 โรง 1,600 เมกะวัตต์ และภาคใต้ในบริษัท โรงไฟฟ้าขนอม 1 โรง 800 เมกะวัตต์ ซึ่งบริษัทเชื่อมั่นว่าด้วยความพร้อม ทั้งด้านบุคลากรที่มีช่างซ่อมบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า และด้านการเงินที่แข็งแกร่งจะสามารถชนะประมูลไอพีพีได้ อย่างน้อยร้อยละ 30 หรือ 800 เมกะวัตต์ และหากประมูลได้ทั้งหมด เอ็กโกก็พร้อมจะหาพันธมิตรร่วมทุนด้วย โดยต้องเน้นว่าพันธมิตรจะต้องเป็นที่ร่วมหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อทำให้ค่าไฟฟ้าต่ำที่สุด ส่วนในเรื่องที่มีการคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่จังหวัดราชบุรีนั้น เชื่อว่าจะสามารถทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ได้
นายวิศิษฎ์ กล่าวว่า เอ็กโกได้เตรียมด้านการเงินไว้ประมูลไอพีพีแล้ว โดยมีกระแสเงินสด 6,000 ล้านบาท จัดหาเงินกู้ระยะสั้น 8,000 ล้านบาท ซึ่งหากประมูลไอพีพีได้ก็จะจัดหาเงินกู้ระยะยาวต่อไป โดยคาดว่า 1 โรงไฟฟ้า (800 เมกะวัตต์) จะใช้เงินลงทุน 13,000 ล้านบาท และหากประมูลได้หมดก็จะใช้เงินลงทุนรวม 60,000 - 70,000 ล้านบาท โดยบริษัทตั้งเป้าหมายจะใช้เงินกู้ 3 ส่วน ต่อเงินทุน 1 ส่วน ซึ่งในส่วนการจัดหาก๊าซ ในขณะนี้ ปตท.ได้ตอบตกลงที่จะหาก๊าซให้พร้อมทุกโรงแล้ว โรงละประมาณ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยราคาก๊าซฯ นั้น เอ็กโก คาดว่า จะอยู่ที่ประมาณ 204 บาท/ล้านบีทียู