เอกชนเตรียมเสนอแผนการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ปากบารา จ.สตูล ต่อนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเห็นว่า จะช่วยแก้ไขปัญหาโลจิสติกส์และรองรับโครงการเซาเทิร์น ซีบอร์ด ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ด้วย
นายธนิต โสรัตน์ รองเลขาธิการ สายงานเศรษฐกิจ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าว ว่า ในวันที่ 19 ก.ค.นี้ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) จะหารือการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (คบส.) ที่มี พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่ง ส.อ.ท. จะเสนอแผนการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ปากบารา จ.สตูล เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งจะเป็นการเตรียมตัวรองรับโครงการเซาเทิร์น ซีบอร์ด ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
“ตอนนี้สินค้าจากภาคใต้เข้าไปใช้บริการที่ท่าเรือปีนังปีละ 2 แสนตู้ ซึ่งหากมีท่าเรือเองก็จะทำให้ผู้ส่งออกออกได้รับความสะดวกและเงินจากการใช้บริการก็อยู่ในประเทศ ขณะเดียวกันท่าเรือปากบาราจะเป็นประตูสำคัญในการส่งสินค้าไปยังอินเดีย ตะวันออกกลาง สหรัฐ นอกจากนี้อีก 5 ปีข้างหน้าพื้นที่อุตสาหกรรมอีสเทิร์น ซีบอร์ดจะไม่สามารถรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมได้อีกต่อไปจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมมารองรับ หากรัฐบาลสนับสนุนคาดว่าน่าจะเริ่มก่อสร้างได้อย่างเร็วภายในปี 2552” นายธนิตกล่าว
ด้านนายวิรัช องค์ประเสริฐ กรรมการบริหาร บริษัท เอทีที คอนซัลแตนท์ ซึ่งได้รับว่าจ้างจากกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ศึกษาความเหมาะสมของโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบพื้นที่การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกบริเวณทับละมุ จ.พังงา กับ ปากบารา จ.สตูล พบว่า จ. สตูล มีความเหมาะสมกว่า เนื่องจากบริเวณทับละมุเป็นแหล่งท่องเที่ยว อีกทั้งปากบาราสามารถเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟจากหาดใหญ่หรือตรัง ในระยะทางประมาณ 100 กม. และอยู่ห่างจากเส้นทางเดินเรือหลัก 51 ไมล์ทะเล
“สินค้าหลักที่จะเข้ามาใช้บริการที่ท่าเรือแห่งนี้ หลัก ๆ จะเป็นสินค้าเกษตรส่งออกจากภาคใต้ เช่น ยางพารา นอกจากนี้ยังมีสินค้าจากภาคอื่น ๆ ยกเว้นจากภาคตะวันออก ที่จะเข้ามาใช้บริการ ขณะเดียวกันจะมีเรือขนาดใหญ่เข้ามาขนถ่ายสินค้าทั้งจากพม่า บังกลาเทศ จีนตอนใต้ ซึ่งไม่ว่าโครงการเซาเทิร์น ซีบอร์ดจะเกิดขึ้นหรือไม่ หรือจะเกิดเมื่อใด ท่าเรือน้ำลึกปากบาราก็ควรจะมี แม้ค่าใช้บริการตู้คอนเทนเนอร์ที่คนไทยไปใช้ท่าเรือปีนังปีละ 2 แสนตู้ คิดเป็นเงินรวม 200 ล้านบาทต่อปีก็ตาม แต่ในระยะยาวจะมีการลงทุนสร้างโรงงาน จ้างงานจากระบบโลจิส ติกส์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณท่าเรือเหมือนที่ท่าเรือแฉลมฉบัง” นายวิรัช กล่าว
ทั้งนี้ได้แบ่งการก่อสร้างโครงการออกเป็น 3 เฟส เฟสแรกใช้เงินลงทุน 10.6 หมื่นล้านบาท รองรับตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุตได้ 8.25 แสนตู้ มีกำหนดก่อสร้างในปี 2552-2556 เฟสที่ 2 ก่อสร้างในปี 2557-2563 ใช้เงินลงทุน 5.1 พันล้านบาท รองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้ 1.3 ล้านตู้ และเฟสที่3 ก่อสร้างในปี 2564-2567 ใช้เงินลงทุน 10.3 หมื่นล้านบาท รองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้ 2.4 ล้านตู้
ส่วนความคืบหน้าของโครงการนั้นขณะนี้บริษัทฯ ได้ส่งรายละเอียดให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งหากไม่ติดขัดและรัฐบาลเห็นชอบก็สามารถเดินหน้าโครงการได้ต่อไป
นายธนิต โสรัตน์ รองเลขาธิการ สายงานเศรษฐกิจ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าว ว่า ในวันที่ 19 ก.ค.นี้ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) จะหารือการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (คบส.) ที่มี พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่ง ส.อ.ท. จะเสนอแผนการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ปากบารา จ.สตูล เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งจะเป็นการเตรียมตัวรองรับโครงการเซาเทิร์น ซีบอร์ด ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
“ตอนนี้สินค้าจากภาคใต้เข้าไปใช้บริการที่ท่าเรือปีนังปีละ 2 แสนตู้ ซึ่งหากมีท่าเรือเองก็จะทำให้ผู้ส่งออกออกได้รับความสะดวกและเงินจากการใช้บริการก็อยู่ในประเทศ ขณะเดียวกันท่าเรือปากบาราจะเป็นประตูสำคัญในการส่งสินค้าไปยังอินเดีย ตะวันออกกลาง สหรัฐ นอกจากนี้อีก 5 ปีข้างหน้าพื้นที่อุตสาหกรรมอีสเทิร์น ซีบอร์ดจะไม่สามารถรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมได้อีกต่อไปจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมมารองรับ หากรัฐบาลสนับสนุนคาดว่าน่าจะเริ่มก่อสร้างได้อย่างเร็วภายในปี 2552” นายธนิตกล่าว
ด้านนายวิรัช องค์ประเสริฐ กรรมการบริหาร บริษัท เอทีที คอนซัลแตนท์ ซึ่งได้รับว่าจ้างจากกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ศึกษาความเหมาะสมของโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบพื้นที่การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกบริเวณทับละมุ จ.พังงา กับ ปากบารา จ.สตูล พบว่า จ. สตูล มีความเหมาะสมกว่า เนื่องจากบริเวณทับละมุเป็นแหล่งท่องเที่ยว อีกทั้งปากบาราสามารถเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟจากหาดใหญ่หรือตรัง ในระยะทางประมาณ 100 กม. และอยู่ห่างจากเส้นทางเดินเรือหลัก 51 ไมล์ทะเล
“สินค้าหลักที่จะเข้ามาใช้บริการที่ท่าเรือแห่งนี้ หลัก ๆ จะเป็นสินค้าเกษตรส่งออกจากภาคใต้ เช่น ยางพารา นอกจากนี้ยังมีสินค้าจากภาคอื่น ๆ ยกเว้นจากภาคตะวันออก ที่จะเข้ามาใช้บริการ ขณะเดียวกันจะมีเรือขนาดใหญ่เข้ามาขนถ่ายสินค้าทั้งจากพม่า บังกลาเทศ จีนตอนใต้ ซึ่งไม่ว่าโครงการเซาเทิร์น ซีบอร์ดจะเกิดขึ้นหรือไม่ หรือจะเกิดเมื่อใด ท่าเรือน้ำลึกปากบาราก็ควรจะมี แม้ค่าใช้บริการตู้คอนเทนเนอร์ที่คนไทยไปใช้ท่าเรือปีนังปีละ 2 แสนตู้ คิดเป็นเงินรวม 200 ล้านบาทต่อปีก็ตาม แต่ในระยะยาวจะมีการลงทุนสร้างโรงงาน จ้างงานจากระบบโลจิส ติกส์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณท่าเรือเหมือนที่ท่าเรือแฉลมฉบัง” นายวิรัช กล่าว
ทั้งนี้ได้แบ่งการก่อสร้างโครงการออกเป็น 3 เฟส เฟสแรกใช้เงินลงทุน 10.6 หมื่นล้านบาท รองรับตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุตได้ 8.25 แสนตู้ มีกำหนดก่อสร้างในปี 2552-2556 เฟสที่ 2 ก่อสร้างในปี 2557-2563 ใช้เงินลงทุน 5.1 พันล้านบาท รองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้ 1.3 ล้านตู้ และเฟสที่3 ก่อสร้างในปี 2564-2567 ใช้เงินลงทุน 10.3 หมื่นล้านบาท รองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้ 2.4 ล้านตู้
ส่วนความคืบหน้าของโครงการนั้นขณะนี้บริษัทฯ ได้ส่งรายละเอียดให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งหากไม่ติดขัดและรัฐบาลเห็นชอบก็สามารถเดินหน้าโครงการได้ต่อไป