“ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์” ฟันธงค่าเอฟทีงวดใหม่ (มิ.ย.-ก.ย.) ลดลงแน่นอน แต่จะมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับมติอนุกรรมการเอฟที ที่จะประชุม 12 มิ.ย. ว่าจะพิจารณาใช้หนี้ค่าก๊าซฯ ค้างจ่าย 6,000 ล้านบาท เสร็จสิ้นภายใน 4 หรือ 8 เดือนข้างหน้า

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) ที่จะลดลงเนื่องจากค่าเชื้อเพลิงในรอบที่ผ่านมาลดลง ทั้งจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำเพิ่มขึ้น ทำให้ใช้เชื้อเพลิงปิโตรเลียมในส่วนน้ำมันเตาลดลง ประกอบกับค่าเงินบาทแข็งค่า ก็มีส่วนให้ราคาก๊าซฯ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักของการผลิตไฟฟ้าไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นมากนัก ซึ่งหากคิดเฉพาะค่าเชื้อเพลิง ค่าเอฟทีจะต้องปรับลดในอัตราส่วนที่สูง แต่เนื่องจากประชาชนยังติดค่าก๊าซฯ ค้างจ่ายกับ ปตท. 6,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการค้างจ่ายจากการลดส่วนเพิ่มเอฟทีในงวดเดือนตุลาคม 2548-ธันวาคม 2549 จึงจำเป็นต้องมีส่วนนำเงินไปคืนหนี้ จึงทำให้ค่าเอฟทีอาจปรับลดลงไม่ได้มาก
อย่างไรก็ตามได้ ให้นโยบายแก่นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานอนุกรรมการเอฟที ว่าควรจะเร่งจ่ายหนี้ให้หมดภายใน 4 หรือ 8 เดือนข้างหน้า จากเดิมที่จะกำหนดทยอยจ่ายหนี้คืน ปตท. ในช่วงปี 2550 – 2554 เพราะยิ่งจ่ายคืนเร็วก็ยิ่งทำให้ภาระดอกเบี้ยดังกล่าวลดน้อยลงไป แต่หากจ่ายหนี้หมดเพียง 4 เดือน ค่าเอฟทีก็จะลดลงในอัตราส่วนที่น้อย ซึ่งการจ่ายหนี้เร็วก็จะไม่สร้างภาระปัญหาแก่รัฐบาลชุดหน้าด้วย ส่วนกรณีที่ค่าเอฟทีงวดนี้ จะนำเรื่องกองทุนพัฒนาพื้นที่รอบโรงไฟฟ้ามาบวกเพิ่มนั้น ก็นับว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เพราะจะเริ่มจัดเก็บเงินกองทุนฯ นี้ในเดือนกรกฎาคม 2550
รายงานข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า แนวทางการบริหารภาระหนี้ค่าก๊าซฯ นั้น ทางกระทรวงพลังงานได้เจรจากับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยตกลงเบื้องต้นจะลดดอกเบี้ยจากร้อยละ 6.77 เหลือร้อยละ 6 โดยดอกเบี้ยที่ลดลงทั้ง 2 หน่วยงาน จะเป็นผู้รับภาระแทนประชาชน อย่างไรก็ตาม ได้มีการประเมินว่า ค่าเชื้อเพลิงสำหรับเอฟทีงวดหน้าจะเพิ่มสูงขึ้นเพราะเข้าฤดูหนาว จึงอยู่กับที่ประชุมจะตัดสินใจเฉลี่ยการปรับลดค่าเอฟทีอย่างไรด้วย ซึ่งหากงวดนี้ลดในอัตราสูง งวดหน้าก็จะเพิ่มในอัตราที่สูงเช่นกัน และอาจเป็นภาระต่อผู้ประกอบการในการคำนวณต้นทุนราคาสินค้า
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) ที่จะลดลงเนื่องจากค่าเชื้อเพลิงในรอบที่ผ่านมาลดลง ทั้งจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำเพิ่มขึ้น ทำให้ใช้เชื้อเพลิงปิโตรเลียมในส่วนน้ำมันเตาลดลง ประกอบกับค่าเงินบาทแข็งค่า ก็มีส่วนให้ราคาก๊าซฯ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักของการผลิตไฟฟ้าไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นมากนัก ซึ่งหากคิดเฉพาะค่าเชื้อเพลิง ค่าเอฟทีจะต้องปรับลดในอัตราส่วนที่สูง แต่เนื่องจากประชาชนยังติดค่าก๊าซฯ ค้างจ่ายกับ ปตท. 6,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการค้างจ่ายจากการลดส่วนเพิ่มเอฟทีในงวดเดือนตุลาคม 2548-ธันวาคม 2549 จึงจำเป็นต้องมีส่วนนำเงินไปคืนหนี้ จึงทำให้ค่าเอฟทีอาจปรับลดลงไม่ได้มาก
อย่างไรก็ตามได้ ให้นโยบายแก่นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานอนุกรรมการเอฟที ว่าควรจะเร่งจ่ายหนี้ให้หมดภายใน 4 หรือ 8 เดือนข้างหน้า จากเดิมที่จะกำหนดทยอยจ่ายหนี้คืน ปตท. ในช่วงปี 2550 – 2554 เพราะยิ่งจ่ายคืนเร็วก็ยิ่งทำให้ภาระดอกเบี้ยดังกล่าวลดน้อยลงไป แต่หากจ่ายหนี้หมดเพียง 4 เดือน ค่าเอฟทีก็จะลดลงในอัตราส่วนที่น้อย ซึ่งการจ่ายหนี้เร็วก็จะไม่สร้างภาระปัญหาแก่รัฐบาลชุดหน้าด้วย ส่วนกรณีที่ค่าเอฟทีงวดนี้ จะนำเรื่องกองทุนพัฒนาพื้นที่รอบโรงไฟฟ้ามาบวกเพิ่มนั้น ก็นับว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เพราะจะเริ่มจัดเก็บเงินกองทุนฯ นี้ในเดือนกรกฎาคม 2550
รายงานข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า แนวทางการบริหารภาระหนี้ค่าก๊าซฯ นั้น ทางกระทรวงพลังงานได้เจรจากับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยตกลงเบื้องต้นจะลดดอกเบี้ยจากร้อยละ 6.77 เหลือร้อยละ 6 โดยดอกเบี้ยที่ลดลงทั้ง 2 หน่วยงาน จะเป็นผู้รับภาระแทนประชาชน อย่างไรก็ตาม ได้มีการประเมินว่า ค่าเชื้อเพลิงสำหรับเอฟทีงวดหน้าจะเพิ่มสูงขึ้นเพราะเข้าฤดูหนาว จึงอยู่กับที่ประชุมจะตัดสินใจเฉลี่ยการปรับลดค่าเอฟทีอย่างไรด้วย ซึ่งหากงวดนี้ลดในอัตราสูง งวดหน้าก็จะเพิ่มในอัตราที่สูงเช่นกัน และอาจเป็นภาระต่อผู้ประกอบการในการคำนวณต้นทุนราคาสินค้า