กระทรวงการคลัง เตรียมปัดฝุ่นนำการจัดเก็บภาษีมรดกมาใช้อีกครั้ง โดยจะเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้พิจารณาทันภายในรัฐบาลชุดนี้ โดยจะจัดเก็บภาษีเมื่อมีการขายทรัพย์สินออกไป เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ผู้รับมรดก
นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดย พล.อ.อ.วัลลภ มีสมศัพย์ ได้เสนอญัตติสอบถามกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมรดก เพราะเห็นว่า หลายประเทศโดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น มีการจัดเก็บภาษีมรดกส่วนใหญ่ โดยจัดเก็บสูงถึงร้อยละ 70 ของมูลค่าทรัพย์สิน ยอมรับว่า ภาษีมรดกสมัยก่อนประเทศไทยมีการจัดเก็บ แต่ได้มีการยกเลิกไปแล้ว และที่ผ่านมา หลายองค์กรได้มีการพูดถึงเรื่องนี้มาก ดังนั้น ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จึงได้ทำการศึกษาเรื่องดังกล่าว และเห็นว่า เป็นผลดีมากกว่า ซึ่งกระทรวงการคลังได้ทำการศึกษาและคืบหน้าไปมากแล้ว และจะเร่งเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้พิจารณา
นายสมหมาย ยอมรับว่า การจัดเก็บภาษีมรดก ประชาชนยังไม่เข้าใจและกังวลมาก ดังนั้น แนวทางการจัดเก็บภาษีจะยังไม่เก็บภาษีในช่วงแรกที่รับมรดก เพราะส่วนใหญ่ผู้รับมรดกยังไม่มีเงินมากพอในการรับโอนและเสียภาษี แต่เมื่อทายาทนำมรดกไปจำหน่ายมีรายได้กลับเข้ามาจึงจะให้เสียภาษี ซึ่งจะครอบคลุมทั้งอสังหาริมทรัพย์ สิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งสังหาริมทรัพย์ ของมีค่าอัญมณีต่างๆ แต่ในส่วนของสังหาริมทรัพย์ต้องพิจารณาอีกครั้ง เพราะหากมีการจัดเก็บภาษีประมาณร้อยละ 1-5 ของมูลค่า จะมีเงินรายได้เข้ามาประมาณ 10,000-12,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อส่งเสริมให้มีการรับผิดชอบต่อสังคมในการเสียภาษี และเป็นการกระจายรายได้ รวมทั้งลดความเหลื่อมล้ำของสังคมระหว่างคนรวยกับคนจน
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลัง เห็นว่า การเสนอกฎหมายดังกล่าว คงต้องทำร่วมกับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้เป็นแพกเกจเดียวกัน เพราะลักษณะจัดเก็บคล้ายกัน ยืนยันจะต้องเสนอ สนช.ให้พิจารณาทันภายในรัฐบาลชุดนี้ หากไม่แล้วเสร็จ เมื่อมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง อาจจะมีความยุ่งยาก และเห็นว่าภาษีดังกล่าวไม่ได้เป็นภาระที่สูงเกินไป จนสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้เสียภาษี
นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดย พล.อ.อ.วัลลภ มีสมศัพย์ ได้เสนอญัตติสอบถามกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมรดก เพราะเห็นว่า หลายประเทศโดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น มีการจัดเก็บภาษีมรดกส่วนใหญ่ โดยจัดเก็บสูงถึงร้อยละ 70 ของมูลค่าทรัพย์สิน ยอมรับว่า ภาษีมรดกสมัยก่อนประเทศไทยมีการจัดเก็บ แต่ได้มีการยกเลิกไปแล้ว และที่ผ่านมา หลายองค์กรได้มีการพูดถึงเรื่องนี้มาก ดังนั้น ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จึงได้ทำการศึกษาเรื่องดังกล่าว และเห็นว่า เป็นผลดีมากกว่า ซึ่งกระทรวงการคลังได้ทำการศึกษาและคืบหน้าไปมากแล้ว และจะเร่งเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้พิจารณา
นายสมหมาย ยอมรับว่า การจัดเก็บภาษีมรดก ประชาชนยังไม่เข้าใจและกังวลมาก ดังนั้น แนวทางการจัดเก็บภาษีจะยังไม่เก็บภาษีในช่วงแรกที่รับมรดก เพราะส่วนใหญ่ผู้รับมรดกยังไม่มีเงินมากพอในการรับโอนและเสียภาษี แต่เมื่อทายาทนำมรดกไปจำหน่ายมีรายได้กลับเข้ามาจึงจะให้เสียภาษี ซึ่งจะครอบคลุมทั้งอสังหาริมทรัพย์ สิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งสังหาริมทรัพย์ ของมีค่าอัญมณีต่างๆ แต่ในส่วนของสังหาริมทรัพย์ต้องพิจารณาอีกครั้ง เพราะหากมีการจัดเก็บภาษีประมาณร้อยละ 1-5 ของมูลค่า จะมีเงินรายได้เข้ามาประมาณ 10,000-12,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อส่งเสริมให้มีการรับผิดชอบต่อสังคมในการเสียภาษี และเป็นการกระจายรายได้ รวมทั้งลดความเหลื่อมล้ำของสังคมระหว่างคนรวยกับคนจน
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลัง เห็นว่า การเสนอกฎหมายดังกล่าว คงต้องทำร่วมกับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้เป็นแพกเกจเดียวกัน เพราะลักษณะจัดเก็บคล้ายกัน ยืนยันจะต้องเสนอ สนช.ให้พิจารณาทันภายในรัฐบาลชุดนี้ หากไม่แล้วเสร็จ เมื่อมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง อาจจะมีความยุ่งยาก และเห็นว่าภาษีดังกล่าวไม่ได้เป็นภาระที่สูงเกินไป จนสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้เสียภาษี