สทท.เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เชื่อ ทุกฝ่ายมีเจตนาดี แต่มีข้อแม้ต้องยกเว้นการจัดโซนนิงในพื้นที่เป็นสถานที่ตั้งของโรงแรม เตรียมยื่นหนังสือถึงกรรมาธิการพิจารณาร่าง ศุกร์นี้ แจงทุกรายละเอียด พร้อมแนะเพิ่มตำแหน่งกรรมการให้มีภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้บ้าง แนะข้อห้ามโฆษณาควรยกเว้นรายการถ่ายทอดสดระดับอินเตอร์เนชั่นแนล หวั่นภาพรวมไทยสูญรายได้
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เปิดเผยว่า ในวันศุกร์ที่ 27 เมษายน ศกนี้ สภาฯจะยื่นหนังสือถึง กรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีเนื้อหาใน 2 ประเด็นหลัก กล่าวคือ 1.เห็นด้วยในหลักการร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อจะได้คุ้มครองชีวิตคนไทย เนื่องจากเห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งไม่ดี และ 2. พ.ร.บ.ดังกล่าว ควรที่จะมีข้อยกเว้นเรื่องการจัดโซนนิง เพื่อไม่ให้กระทบกับผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวที่มีใบประกอบการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
กล่าวคือ กรณีสถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ตั้งของโรงแรมอยู่ติดหรือใกล้เคียงกับ วัด หรือสถานศึกษา ก็ให้จำกัดโซนนิงเฉพาะห้ามขายในบริเวณวัด และสถานศึกษาเท่านั้น เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวต้องเดือดร้อน ซึ่งสภาฯตระหนักดีว่า การจัดทำ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในครั้งนี้ กระทรวงสาธารณะสุขไม่ได้มีเจตนาร้ายที่จะให้ไปกระทบกับภาคเอกชน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศ ดังนั้น จึงน่าจะมีการยกเว้นเป็นกรณี ขึ้นอยู่กับเหตุและผลที่สมควรและจำเป็น
“เชื่อว่า ทุกฝ่ายมีเจตนาดี และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวก็เห็นด้วย แต่ก็ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ต้องไม่กระทบกับภาคเอกชน เพราะเขาลงทุนเป็นจำนวนเงินหลายร้อยล้านบาท และก็ดำเนินธุรกิจอยู่ตรงนั้นมานานแล้ว ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าณวันนี้จะมีกฎหมายในลักษณะนี้เกิดขึ้น ซึ่งมั่นใจว่ากระทรวงสาธารณะสุขจะรับฟังข้อคิดเห็นนี้เช่นกัน”
นอกจากนั้น ยังจะเสนอให้มีผู้แทนภาคเอกชนจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมอื่นๆที่จะได้รับผลกระทบจาก พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้เข้าไปนั่งอยู่ในคณะกรรมการร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย เพราะปัจจุบันคณะกรรมการชุดนี้มีแต่ตัวแทนที่มาจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ยังไม่มีตัวแทนจากผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจแอลกอฮอล์เลย เพื่อให้กฎหมายที่จะถูกร่างขึ้นครั้งนี้เป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย เป็นการหารือแก้ไขปัญหาร่วมกัน
นายกงกฤช กล่าวอีกว่า ในกรณีห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ในทุกรูปแบบขอสื่อก็เช่นกัน ตรงนี้ต้องการเสนอแนวคิดว่า สมควรให้ยกเว้นได้ในกรณีที่มีการแข่งขันกีฬา เช่น กอล์ฟ เทนนิส เรือใบ หรือการจัดกิจกรรมที่เป็นระดับนานาชาติอื่นๆ มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก ให้มีการโฆษณาได้หากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นๆ เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ เพราะ หากประเทศไทยจะออกกฎหมายห้ามเสียทั้งหมด จะเกิดผลเสีย คือ ผู้จัดงานก็จะไปจัดประเทศอื่นแทนที่จะเข้ามาจัดที่ประเทศไทย สูญเสียรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ และถ้าเขาไปจัดที่ประเทศอื่นๆ แล้วถ่ายทอดสดเข้ามาประเทศไทย ตรงนี้คนไทยก็ยังได้รับชมโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เช่นกัน
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เปิดเผยว่า ในวันศุกร์ที่ 27 เมษายน ศกนี้ สภาฯจะยื่นหนังสือถึง กรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีเนื้อหาใน 2 ประเด็นหลัก กล่าวคือ 1.เห็นด้วยในหลักการร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อจะได้คุ้มครองชีวิตคนไทย เนื่องจากเห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งไม่ดี และ 2. พ.ร.บ.ดังกล่าว ควรที่จะมีข้อยกเว้นเรื่องการจัดโซนนิง เพื่อไม่ให้กระทบกับผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวที่มีใบประกอบการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
กล่าวคือ กรณีสถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ตั้งของโรงแรมอยู่ติดหรือใกล้เคียงกับ วัด หรือสถานศึกษา ก็ให้จำกัดโซนนิงเฉพาะห้ามขายในบริเวณวัด และสถานศึกษาเท่านั้น เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวต้องเดือดร้อน ซึ่งสภาฯตระหนักดีว่า การจัดทำ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในครั้งนี้ กระทรวงสาธารณะสุขไม่ได้มีเจตนาร้ายที่จะให้ไปกระทบกับภาคเอกชน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศ ดังนั้น จึงน่าจะมีการยกเว้นเป็นกรณี ขึ้นอยู่กับเหตุและผลที่สมควรและจำเป็น
“เชื่อว่า ทุกฝ่ายมีเจตนาดี และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวก็เห็นด้วย แต่ก็ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ต้องไม่กระทบกับภาคเอกชน เพราะเขาลงทุนเป็นจำนวนเงินหลายร้อยล้านบาท และก็ดำเนินธุรกิจอยู่ตรงนั้นมานานแล้ว ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าณวันนี้จะมีกฎหมายในลักษณะนี้เกิดขึ้น ซึ่งมั่นใจว่ากระทรวงสาธารณะสุขจะรับฟังข้อคิดเห็นนี้เช่นกัน”
นอกจากนั้น ยังจะเสนอให้มีผู้แทนภาคเอกชนจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมอื่นๆที่จะได้รับผลกระทบจาก พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้เข้าไปนั่งอยู่ในคณะกรรมการร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย เพราะปัจจุบันคณะกรรมการชุดนี้มีแต่ตัวแทนที่มาจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ยังไม่มีตัวแทนจากผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจแอลกอฮอล์เลย เพื่อให้กฎหมายที่จะถูกร่างขึ้นครั้งนี้เป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย เป็นการหารือแก้ไขปัญหาร่วมกัน
นายกงกฤช กล่าวอีกว่า ในกรณีห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ในทุกรูปแบบขอสื่อก็เช่นกัน ตรงนี้ต้องการเสนอแนวคิดว่า สมควรให้ยกเว้นได้ในกรณีที่มีการแข่งขันกีฬา เช่น กอล์ฟ เทนนิส เรือใบ หรือการจัดกิจกรรมที่เป็นระดับนานาชาติอื่นๆ มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก ให้มีการโฆษณาได้หากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นๆ เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ เพราะ หากประเทศไทยจะออกกฎหมายห้ามเสียทั้งหมด จะเกิดผลเสีย คือ ผู้จัดงานก็จะไปจัดประเทศอื่นแทนที่จะเข้ามาจัดที่ประเทศไทย สูญเสียรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ และถ้าเขาไปจัดที่ประเทศอื่นๆ แล้วถ่ายทอดสดเข้ามาประเทศไทย ตรงนี้คนไทยก็ยังได้รับชมโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เช่นกัน