พรรคชาติไทย เรียกร้องรัฐบาลให้ทบทวนการลงนามกรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อคนไทยทั้งประเทศ หวั่นซ้ำรอยข้อตกลงการค้าไทย-จีน หรือไทย-ออสเตรเลีย พร้อมเสนอให้รอรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ตัดสินใจ ส่วนกรณี พ.ร.บ.ค้าปลีก-ค้าส่ง ควรกำหนดกรอบเวลาทบทวนอย่างชัดเจน
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองหัวหน้าพรรคชาติไทย แถลงวันนี้ (28 มี.ค.) ว่า พรรคชาติไทยรู้สึกเป็นห่วงเกี่ยวกับกรณีที่คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ที่ผ่านมา อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศ ลงนามผูกพันตามพันธกรณี ในหนังสือสัญญาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ว่า มีความรีบร้อนมากน้อยเพียงใด ถึงต้องให้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ลงนามในข้อตกลงดังกล่าว ระหว่างการเยือนประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 3-5 เมษายนนี้ เนื่องจากพรรคชาติไทย เห็นว่า ข้อตกลงนี้จะมีผลกระทบต่อคนไทยทั้งประเทศ และสาระหรือรายละเอียดต่างๆ ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะเท่าที่ควร
“แม้เมื่อคืนที่ผ่านมา รัฐบาลจะมีการชี้แจง แต่จะมีคนที่ติดตามข่าวเรื่องนี้กี่เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยส่วนใหญ่ แต่เขาจะต้องมารับผลกับข้อตกลงนี้อย่างเต็มๆ ผมจึงอยากให้รัฐบาลกลับไปดูว่า ข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่ไทยได้ทำไปแล้วกับจีน ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่ออนาคตของพี่น้องเกษตรกรทางภาคเหนือ แทบจะล้มละลายอย่างสิ้นเชิงนั้น เป็นอย่างไร หรือข้อตกลงทางการค้าระหว่างไทย-ออสเตรเลีย หรือกับประเทศอื่น วันนี้ส่งผลกระทบอย่างไร” นายสมศักดิ์ กล่าว
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า พรรคชาติไทยต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลกลับไปทบทวนดูว่า มีความเหมาะสมหรือไม่ หากจะดำเนินการเรื่องนี้ เพราะเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และยังไม่มีสภาที่มาจากการเลือกตั้ง เรื่องนี้ถือเป็นอนาคตของประเทศ และอนาคตของประชาชนชาวไทยทั้งหมด นอกจากนี้ ในข้อตกลงยังมีศัพท์ใหม่ๆ ที่เกินปัญญาปุถุชนคนธรรมดาจะเข้าใจได้ เช่น ขยะอุตสาหกรรม สิทธิบัตรจุลชีวะ สิ่งเหล่านี้มีการทำความเข้าใจกันหรือยังว่าคืออะไร และความเข้าใจระหว่างไทยกับญี่ปุ่นตรงกันหรือไม่ เช่น เรามองว่าขยะอุตสาหกรรมเป็นขยะ แต่ญี่ปุ่นกลับมองว่าไม่ใช่ขยะ รวมทั้งประเด็นสิทธิบัตรจุลชีวะ วันนี้ยังหาข้อสรุปที่ตกผลึกไม่ได้ว่าใครจะได้รับประโยชน์
“หากไม่รีบร้อนเกินไป รอให้มีรัฐสภาใหม่ รอให้มีรัฐบาลใหม่ ที่มาจากรัฐบาลประชาชนให้ไปดำเนินการ ผมไม่อยากจะเห็นท่านถูกวิพากษ์วิจารณ์ ว่า นำเรื่องไปโยงใยกับเรื่องเงินกู้ของธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (เจบิก) เพราะหากเป็นเรื่องที่เขาวิพากษ์วิจารณ์กัน และท่านไปรีบลงนาม และมีการกู้เงินจากเจบิกออกมา ตรงนี้จะเกิดความเคลือบแคลง และจะตอบคำถามยาก พรรคชาติไทย จึงมีความเห็นว่า ควรนำเรื่องนี้กลับไปทบทวนใหม่ อย่าเพิ่งรีบร้อนเร่งด่วนลงนาม เพราะผมเชื่อว่าไม่ใช่เรื่องที่เร่งด่วน” นายสมศักดิ์ กล่าว
ส่วนการที่มีมติคณะมนตรีให้กระทรวงพาณิชย์นำร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีก-ค้าส่ง กลับไปทบทวนใหม่ พรรคชาติไทยเห็นว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวมีความสำคัญมาก เพราะมีสาระสำคัญ คือ ควบคุมการค้าปลีกขนาดใหญ่ ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้ค้ารายย่อยในชุมชน ยิ่งปัจจุบันมีการเผชิญหน้ากันระหว่างบริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่ กับชุมชนที่เป็นเจ้าของร้านค้าปลีกขนาดย่อยในหลายพื้นที่ หากร่างกฎหมายนี้ออกมา น่าจะทำให้การเผชิญหน้าดังกล่าวลดลงได้ พรรคชาติไทยจึงขอสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีก-ค้าส่ง ดังกล่าว
“การที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้นำกลับไปทบทวน โดยอ้างว่าให้อำนาจคณะกรรมการมากเกินไป คิดว่าไม่เกิดผลดี จึงอยากเห็น พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ลงมาเล่นเรื่องนี้ ด้วยการกำหนดกรอบเวลาว่า ให้นำกลับไปทบทวนกี่สัปดาห์ เพราะจะปล่อยให้เรื่องช้าต่อไปอีกไม่ได้ ไม่เช่นนั้นจะเกิดการเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ค้ารายใหญ่กับรายย่อยมากขึ้น” นายสมศักดิ์ กล่าว
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองหัวหน้าพรรคชาติไทย แถลงวันนี้ (28 มี.ค.) ว่า พรรคชาติไทยรู้สึกเป็นห่วงเกี่ยวกับกรณีที่คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ที่ผ่านมา อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศ ลงนามผูกพันตามพันธกรณี ในหนังสือสัญญาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ว่า มีความรีบร้อนมากน้อยเพียงใด ถึงต้องให้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ลงนามในข้อตกลงดังกล่าว ระหว่างการเยือนประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 3-5 เมษายนนี้ เนื่องจากพรรคชาติไทย เห็นว่า ข้อตกลงนี้จะมีผลกระทบต่อคนไทยทั้งประเทศ และสาระหรือรายละเอียดต่างๆ ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะเท่าที่ควร
“แม้เมื่อคืนที่ผ่านมา รัฐบาลจะมีการชี้แจง แต่จะมีคนที่ติดตามข่าวเรื่องนี้กี่เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยส่วนใหญ่ แต่เขาจะต้องมารับผลกับข้อตกลงนี้อย่างเต็มๆ ผมจึงอยากให้รัฐบาลกลับไปดูว่า ข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่ไทยได้ทำไปแล้วกับจีน ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่ออนาคตของพี่น้องเกษตรกรทางภาคเหนือ แทบจะล้มละลายอย่างสิ้นเชิงนั้น เป็นอย่างไร หรือข้อตกลงทางการค้าระหว่างไทย-ออสเตรเลีย หรือกับประเทศอื่น วันนี้ส่งผลกระทบอย่างไร” นายสมศักดิ์ กล่าว
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า พรรคชาติไทยต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลกลับไปทบทวนดูว่า มีความเหมาะสมหรือไม่ หากจะดำเนินการเรื่องนี้ เพราะเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และยังไม่มีสภาที่มาจากการเลือกตั้ง เรื่องนี้ถือเป็นอนาคตของประเทศ และอนาคตของประชาชนชาวไทยทั้งหมด นอกจากนี้ ในข้อตกลงยังมีศัพท์ใหม่ๆ ที่เกินปัญญาปุถุชนคนธรรมดาจะเข้าใจได้ เช่น ขยะอุตสาหกรรม สิทธิบัตรจุลชีวะ สิ่งเหล่านี้มีการทำความเข้าใจกันหรือยังว่าคืออะไร และความเข้าใจระหว่างไทยกับญี่ปุ่นตรงกันหรือไม่ เช่น เรามองว่าขยะอุตสาหกรรมเป็นขยะ แต่ญี่ปุ่นกลับมองว่าไม่ใช่ขยะ รวมทั้งประเด็นสิทธิบัตรจุลชีวะ วันนี้ยังหาข้อสรุปที่ตกผลึกไม่ได้ว่าใครจะได้รับประโยชน์
“หากไม่รีบร้อนเกินไป รอให้มีรัฐสภาใหม่ รอให้มีรัฐบาลใหม่ ที่มาจากรัฐบาลประชาชนให้ไปดำเนินการ ผมไม่อยากจะเห็นท่านถูกวิพากษ์วิจารณ์ ว่า นำเรื่องไปโยงใยกับเรื่องเงินกู้ของธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (เจบิก) เพราะหากเป็นเรื่องที่เขาวิพากษ์วิจารณ์กัน และท่านไปรีบลงนาม และมีการกู้เงินจากเจบิกออกมา ตรงนี้จะเกิดความเคลือบแคลง และจะตอบคำถามยาก พรรคชาติไทย จึงมีความเห็นว่า ควรนำเรื่องนี้กลับไปทบทวนใหม่ อย่าเพิ่งรีบร้อนเร่งด่วนลงนาม เพราะผมเชื่อว่าไม่ใช่เรื่องที่เร่งด่วน” นายสมศักดิ์ กล่าว
ส่วนการที่มีมติคณะมนตรีให้กระทรวงพาณิชย์นำร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีก-ค้าส่ง กลับไปทบทวนใหม่ พรรคชาติไทยเห็นว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวมีความสำคัญมาก เพราะมีสาระสำคัญ คือ ควบคุมการค้าปลีกขนาดใหญ่ ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้ค้ารายย่อยในชุมชน ยิ่งปัจจุบันมีการเผชิญหน้ากันระหว่างบริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่ กับชุมชนที่เป็นเจ้าของร้านค้าปลีกขนาดย่อยในหลายพื้นที่ หากร่างกฎหมายนี้ออกมา น่าจะทำให้การเผชิญหน้าดังกล่าวลดลงได้ พรรคชาติไทยจึงขอสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีก-ค้าส่ง ดังกล่าว
“การที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้นำกลับไปทบทวน โดยอ้างว่าให้อำนาจคณะกรรมการมากเกินไป คิดว่าไม่เกิดผลดี จึงอยากเห็น พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ลงมาเล่นเรื่องนี้ ด้วยการกำหนดกรอบเวลาว่า ให้นำกลับไปทบทวนกี่สัปดาห์ เพราะจะปล่อยให้เรื่องช้าต่อไปอีกไม่ได้ ไม่เช่นนั้นจะเกิดการเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ค้ารายใหญ่กับรายย่อยมากขึ้น” นายสมศักดิ์ กล่าว