“โฆสิต” จูบปาก “ประธานสภาอุตฯ” หลังรับผู้ส่งออกยังได้รับอานิสงส์แม้ค่าเงินบาทแข็ง ย้ำยังได้กำไรอีกนาน ด้านเอกชน เฮลั่นทำเนียบ หลัง ครม.ไฟเขียวหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น เชื่อส่งออกได้กว่า 30% ขณะที่ ครม.รับลูก กก.ขับเคลื่อน กระตุ้นรากแก้ว เทงบลงอยู่ดีมีสุข เพิ่มรวม 1 หมื่นล้านบาท

วันนี้ (27 มี.ค.) นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการมีส่วนร่วม ได้ประชุมร่วมกับ นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรม (ส.อ.ท.) และคณะ ที่ห้องทำงาน ทำเนียบรัฐบาล เพื่อหารือสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยใช้เวลาหารือประมาณ 1 ชั่วโมง
นายโฆสิต เปิดเผยว่า ภาคเอกชนได้บอกว่า ขณะนี้ยังสามารถทำการส่งออกได้อยู่ และใช้คำพูดว่ายังมีกำไร พร้อมกับเห็นร่วมกัน ว่า ยากที่จะหลีกเลี่ยงความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น จึงจะต้องมีการปรับตัว ขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรมมีแผนแม่บท 2 ฉบับที่จะร่วมดำเนินกับภาคเอกชน คือ แผนปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต และแผนปรับโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา ซึ่งจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมไทยขยายตัวได้ในระยะปานกลาง และระยะยาว เพราะถ้าดูพื้นฐานของอุตสาหกรรมไทยตอนนี้ยังมีโอกาสเติบโตได้
“ส่วนปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าภาคเอกชน มีความเข้าใจว่า ทุกวันนี้อยู่ในระหว่างการปรับตัวทิศทางของค่าเงินบาท โดยช่วงผ่านมาผู้ส่งออกก็เคยได้รับอานิสงส์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ประกอบกับตอนนี้เวลาจ่ายเงินซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศก็ลดลง สำหรับสิ่งที่เอกชนต้องการให้ดำเนินการมากกว่า คือ อยากให้ดอกเบี้ยลดลง ซึ่งในส่วนนี้ผมคิดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย ก็รู้ตัวอยู่แล้วว่ามีภารกิจดูแลและเขาเคยพูดในต่างกรรมต่างวาระ ว่า เขาต้องดูแลบนข้อมูลที่แท้จริงที่เขามีอยู่ นอกจากนั้น ภาคเอกชนได้ขอว่าไม่อยากให้เกิดภาวะความผันผวนของเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีผลให้ราคาสินค้าขึ้นๆ ลงๆ ไม่แน่นอน จะเป็นผลให้จัดการธุรกิจได้ลำบาก”
ขณะที่ นายสันติ กล่าวว่า ภาคเอกชนไม่ได้ห่วงพื้นฐานเศรษฐกิจที่แท้จริงเท่าใดนัก เพราะความผันผวน และความกังวลเกิดขึ้นจากความไม่เชื่อมั่นทางการเมือง และเหตุการณ์ระเบิด สำหรับอัตราดอกเบี้ย เชื่อว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งหน้าจะพิจารณาลดดอกเบี้ยลง เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งขอให้รัฐช่วยดูแลแพกกิ้งเครดิต และการทำประกันความเสี่ยงของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมด้วย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้มีสิ่งที่ทำให้เอกชนเกิดความมั่นใจขึ้นจากการที่ ครม.เห็นชอบให้รัฐบาลไทยเซ็นสัญญาข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ญี่ปุ่น-ไทย หรือ เจเทปา ที่จะมีผลให้ภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของไทยส่งออกเพิ่มขึ้นอีก 30% เช่น อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็งที่ส่งออก มูลค่า 200,000 ล้านบาทต่อปี จะส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอีก 20% และยังเป็นโอกาสขยายการส่งออกอุตสาหกรรมสิ่งทอ ตลอดจนอุตสาหกรรมรองเท้าที่ในข้อตกลงจะลดภาษีให้กับไทยปีละ 20% และจะเหลือ 0% ใน 5 ปี จะช่วยทำให้วงการอุตสาหกรรมรองเท้าของไทยขยายตัว เนื่องจากปัจจุบันไทยเป็นฐานการผลิตรองเท้าเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ อยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาส่งออกไปญี่ปุ่นไม่ได้ เนื่องจากภาษีสูง
ประธาน ส.อ.ท.กล่าวด้วยว่า ในโอกาสที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปลงนามเจเทปา ที่ประเทศญี่ปุ่น ทางภาคเอกชน ได้แก่ ส.อ.ท.และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประมาณ 20 คน โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมส่งออกขนาดใหญ่ๆ จะร่วมเดินทางไปด้วย เพื่อหารือกับนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจร่วมกันอยู่ให้เกิดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจและการค้าของประเทศไทยด้วย เพราะนักธุรกิจญี่ปุ่นลงทุนในประเทศไทยมาก
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านั้น นายโฆสิต กล่าวยอมรับในสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่ง ว่า สาเหตุที่คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาล ไม่ได้เน้นการสร้างแรงจูงใจการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ โดยให้เหตุผลว่า เพราะมองว่าไม่ว่าจะชี้แจงอย่างไร นักลงทุนต่างประเทศก็ยังไม่มั่นใจอยู่ดี เนื่องจากทั่วโลกก็ทราบดีว่า บรรยากาศการเมืองของไทยในขณะนี้เป็นการเมืองที่ไม่ปกติ สิ่งที่ทำได้ ก็คือ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากภายในประเทศ จากนั้นก็ส่งต่อให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งรับช่วง และงานแรกของรัฐบาลต่อไป คือ การสร้างความเชื่อมั่นและดึงเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ
ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ครม.เห็นชอบแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนร่วมระยะเร่งด่วน โดยได้อนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมให้กับโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดอีก 5,000 ล้านบาท จากเดิมที่มี 5,000 ล้านบาท รวมเป็น 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังมีงบประมาณในยุทธศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนเมืองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง อีกกว่า 5,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังเร่งรัดการลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้ได้ตามเป้าการเบิกจ่ายร้อยละ 90 โดยเฉพาะการลงทุนของ ปตท.ที่มีวงเงินลงทุนสูงถึง 58,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังเห็นชอบแผนการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่มีวงเงินลงทุน 210,000 ล้านบาท ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง และเห็นชอบให้ดำเนินการอนุมัติงบประมาณปี 2550 จำนวน 1,000 ล้านบาท ให้กับแผนปฏิบัติงาน 3 ฝ่าย ได้แก่ ชุมชน อุตสาหกรรม และหน่วยราชการ เพื่อลดและขจัดมลพิษในพื้นที่ จ.ระยอง ตามแผนที่ทำเสร็จแล้ว
วันนี้ (27 มี.ค.) นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการมีส่วนร่วม ได้ประชุมร่วมกับ นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรม (ส.อ.ท.) และคณะ ที่ห้องทำงาน ทำเนียบรัฐบาล เพื่อหารือสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยใช้เวลาหารือประมาณ 1 ชั่วโมง
นายโฆสิต เปิดเผยว่า ภาคเอกชนได้บอกว่า ขณะนี้ยังสามารถทำการส่งออกได้อยู่ และใช้คำพูดว่ายังมีกำไร พร้อมกับเห็นร่วมกัน ว่า ยากที่จะหลีกเลี่ยงความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น จึงจะต้องมีการปรับตัว ขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรมมีแผนแม่บท 2 ฉบับที่จะร่วมดำเนินกับภาคเอกชน คือ แผนปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต และแผนปรับโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา ซึ่งจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมไทยขยายตัวได้ในระยะปานกลาง และระยะยาว เพราะถ้าดูพื้นฐานของอุตสาหกรรมไทยตอนนี้ยังมีโอกาสเติบโตได้
“ส่วนปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าภาคเอกชน มีความเข้าใจว่า ทุกวันนี้อยู่ในระหว่างการปรับตัวทิศทางของค่าเงินบาท โดยช่วงผ่านมาผู้ส่งออกก็เคยได้รับอานิสงส์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ประกอบกับตอนนี้เวลาจ่ายเงินซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศก็ลดลง สำหรับสิ่งที่เอกชนต้องการให้ดำเนินการมากกว่า คือ อยากให้ดอกเบี้ยลดลง ซึ่งในส่วนนี้ผมคิดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย ก็รู้ตัวอยู่แล้วว่ามีภารกิจดูแลและเขาเคยพูดในต่างกรรมต่างวาระ ว่า เขาต้องดูแลบนข้อมูลที่แท้จริงที่เขามีอยู่ นอกจากนั้น ภาคเอกชนได้ขอว่าไม่อยากให้เกิดภาวะความผันผวนของเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีผลให้ราคาสินค้าขึ้นๆ ลงๆ ไม่แน่นอน จะเป็นผลให้จัดการธุรกิจได้ลำบาก”
ขณะที่ นายสันติ กล่าวว่า ภาคเอกชนไม่ได้ห่วงพื้นฐานเศรษฐกิจที่แท้จริงเท่าใดนัก เพราะความผันผวน และความกังวลเกิดขึ้นจากความไม่เชื่อมั่นทางการเมือง และเหตุการณ์ระเบิด สำหรับอัตราดอกเบี้ย เชื่อว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งหน้าจะพิจารณาลดดอกเบี้ยลง เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งขอให้รัฐช่วยดูแลแพกกิ้งเครดิต และการทำประกันความเสี่ยงของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมด้วย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้มีสิ่งที่ทำให้เอกชนเกิดความมั่นใจขึ้นจากการที่ ครม.เห็นชอบให้รัฐบาลไทยเซ็นสัญญาข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ญี่ปุ่น-ไทย หรือ เจเทปา ที่จะมีผลให้ภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของไทยส่งออกเพิ่มขึ้นอีก 30% เช่น อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็งที่ส่งออก มูลค่า 200,000 ล้านบาทต่อปี จะส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอีก 20% และยังเป็นโอกาสขยายการส่งออกอุตสาหกรรมสิ่งทอ ตลอดจนอุตสาหกรรมรองเท้าที่ในข้อตกลงจะลดภาษีให้กับไทยปีละ 20% และจะเหลือ 0% ใน 5 ปี จะช่วยทำให้วงการอุตสาหกรรมรองเท้าของไทยขยายตัว เนื่องจากปัจจุบันไทยเป็นฐานการผลิตรองเท้าเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ อยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาส่งออกไปญี่ปุ่นไม่ได้ เนื่องจากภาษีสูง
ประธาน ส.อ.ท.กล่าวด้วยว่า ในโอกาสที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปลงนามเจเทปา ที่ประเทศญี่ปุ่น ทางภาคเอกชน ได้แก่ ส.อ.ท.และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประมาณ 20 คน โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมส่งออกขนาดใหญ่ๆ จะร่วมเดินทางไปด้วย เพื่อหารือกับนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจร่วมกันอยู่ให้เกิดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจและการค้าของประเทศไทยด้วย เพราะนักธุรกิจญี่ปุ่นลงทุนในประเทศไทยมาก
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านั้น นายโฆสิต กล่าวยอมรับในสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่ง ว่า สาเหตุที่คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาล ไม่ได้เน้นการสร้างแรงจูงใจการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ โดยให้เหตุผลว่า เพราะมองว่าไม่ว่าจะชี้แจงอย่างไร นักลงทุนต่างประเทศก็ยังไม่มั่นใจอยู่ดี เนื่องจากทั่วโลกก็ทราบดีว่า บรรยากาศการเมืองของไทยในขณะนี้เป็นการเมืองที่ไม่ปกติ สิ่งที่ทำได้ ก็คือ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากภายในประเทศ จากนั้นก็ส่งต่อให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งรับช่วง และงานแรกของรัฐบาลต่อไป คือ การสร้างความเชื่อมั่นและดึงเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ
ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ครม.เห็นชอบแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนร่วมระยะเร่งด่วน โดยได้อนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมให้กับโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดอีก 5,000 ล้านบาท จากเดิมที่มี 5,000 ล้านบาท รวมเป็น 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังมีงบประมาณในยุทธศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนเมืองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง อีกกว่า 5,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังเร่งรัดการลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้ได้ตามเป้าการเบิกจ่ายร้อยละ 90 โดยเฉพาะการลงทุนของ ปตท.ที่มีวงเงินลงทุนสูงถึง 58,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังเห็นชอบแผนการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่มีวงเงินลงทุน 210,000 ล้านบาท ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง และเห็นชอบให้ดำเนินการอนุมัติงบประมาณปี 2550 จำนวน 1,000 ล้านบาท ให้กับแผนปฏิบัติงาน 3 ฝ่าย ได้แก่ ชุมชน อุตสาหกรรม และหน่วยราชการ เพื่อลดและขจัดมลพิษในพื้นที่ จ.ระยอง ตามแผนที่ทำเสร็จแล้ว