คณะกรรมการบริหารสินค้าไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ คาดว่า ไทยจะส่งออกไก่เนื้อปีนี้ได้ประมาณ 300,000 ตัน หลังจากประสบกับปัญหาไข้หวัดนกและการแข็งตัวของค่าเงินบาท แต่คาดว่าหากสถานการณ์ไข้หวัดนกดีขึ้น จะทำให้ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งกลับมาส่งออกได้อีกครั้งในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารสินค้าไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ ได้ประเมินสถานการณ์การส่งออกสินค้าเนื้อไก่ไทย ปี 2550 โดยคาดว่าไทยจะส่งออกเนื้อไก่เท่ากับปีที่ผ่านมา ประมาณ 300,000 ตัน ขณะที่สถานการณ์การส่งออกเนื้อไก่ของไทยปี 2550 ในช่วงต้นปี พบว่า มีโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก หนองคาย และอ่างทอง ทำให้ไทยไม่สามารถส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งได้ แต่สินค้าเนื้อไก่ที่ส่งออกเกือบทั้งหมดเป็นเนื้อไก่แปรรูปที่ผ่านความร้อน เช่นเดียวกับการส่งออกในปีที่ผ่านมา ไทยจึงต้องรักษาตลาดเดิม คือ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (อียู) ที่เป็นตลาดหลักในการส่งออกเนื้อไก่ของไทยไว้
นางอภิรดี กล่าวว่า จากภาวการณ์ที่มีการแข่งขันรุนแรงจากประเทศคู่แข่งของไทย ทั้งจีนและบราซิล โดยจีนได้เปรียบในด้านแรงงาน และต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า พยายามที่จะเข้าไปแย่งตลาดไก่แปรรูปของไทยในตลาดญี่ปุ่น ส่วนบราซิลที่มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่า และยังปลอดจากโรคไข้หวัดนก ทำให้สินค้าจากบราซิลเข้าไปแทนที่ตลาดส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งในตลาดญี่ปุ่นและอียู รวมทั้งตลาดอื่นๆ ด้วย แต่ไทยก็พยายามที่จะหาตลาดส่งออกใหม่ๆ เพิ่มเติม สำหรับปัญหาการแข็งตัวของค่าเงินบาท เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการของไทยไม่สามารถวางแผนการส่งออกในระยะยาว และไม่สามารถแข่งขันในด้านราคาในตลาดโลก
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวอีกว่า คณะกรรมการมีความเห็นว่า การกำหนดเป้าหมายการส่งออกเท่ากับปีที่ผ่านมา เพื่อควบคุมการผลิตเนื้อไก่ให้มีปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการบริโภคภายใน และการส่งออกไปต่างประเทศ และเพื่อไม่ให้เกิดภาวะผลผลิตล้นตลาด ส่งผลให้ราคาเนื้อไก่ตกต่ำเช่นปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม โรคไข้หวัดนกที่พบในสัตว์ปีกในประเทศไทยขณะนี้ ยังไม่พบว่า มีฟาร์มไก่เนื้อรายใดของไทยมีการเกิดโรคไข้หวัดนกดังกล่าว ดังนั้น หากสถานการณ์ของโรคไข้หวัดนกดีขึ้น จะมีผลต่อการส่งออกสินค้าเนื้อไก่ของไทย สามารถปรับเป้าหมายส่งออกได้ โดยไก่สดแช่เย็นแช่แข็งของไทยอาจจะกลับมาส่งออกได้อีกครั้งในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 สำหรับการส่งออกเนื้อไก่ของไทยปี 2549 มีการส่งออกรวมทั้งสิ้น 259,701 ตัน คิดเป็นมูลค่า 29,438 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 9.1 และ 5.6 ตามลำดับ
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารสินค้าไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ ได้ประเมินสถานการณ์การส่งออกสินค้าเนื้อไก่ไทย ปี 2550 โดยคาดว่าไทยจะส่งออกเนื้อไก่เท่ากับปีที่ผ่านมา ประมาณ 300,000 ตัน ขณะที่สถานการณ์การส่งออกเนื้อไก่ของไทยปี 2550 ในช่วงต้นปี พบว่า มีโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก หนองคาย และอ่างทอง ทำให้ไทยไม่สามารถส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งได้ แต่สินค้าเนื้อไก่ที่ส่งออกเกือบทั้งหมดเป็นเนื้อไก่แปรรูปที่ผ่านความร้อน เช่นเดียวกับการส่งออกในปีที่ผ่านมา ไทยจึงต้องรักษาตลาดเดิม คือ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (อียู) ที่เป็นตลาดหลักในการส่งออกเนื้อไก่ของไทยไว้
นางอภิรดี กล่าวว่า จากภาวการณ์ที่มีการแข่งขันรุนแรงจากประเทศคู่แข่งของไทย ทั้งจีนและบราซิล โดยจีนได้เปรียบในด้านแรงงาน และต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า พยายามที่จะเข้าไปแย่งตลาดไก่แปรรูปของไทยในตลาดญี่ปุ่น ส่วนบราซิลที่มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่า และยังปลอดจากโรคไข้หวัดนก ทำให้สินค้าจากบราซิลเข้าไปแทนที่ตลาดส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งในตลาดญี่ปุ่นและอียู รวมทั้งตลาดอื่นๆ ด้วย แต่ไทยก็พยายามที่จะหาตลาดส่งออกใหม่ๆ เพิ่มเติม สำหรับปัญหาการแข็งตัวของค่าเงินบาท เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการของไทยไม่สามารถวางแผนการส่งออกในระยะยาว และไม่สามารถแข่งขันในด้านราคาในตลาดโลก
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวอีกว่า คณะกรรมการมีความเห็นว่า การกำหนดเป้าหมายการส่งออกเท่ากับปีที่ผ่านมา เพื่อควบคุมการผลิตเนื้อไก่ให้มีปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการบริโภคภายใน และการส่งออกไปต่างประเทศ และเพื่อไม่ให้เกิดภาวะผลผลิตล้นตลาด ส่งผลให้ราคาเนื้อไก่ตกต่ำเช่นปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม โรคไข้หวัดนกที่พบในสัตว์ปีกในประเทศไทยขณะนี้ ยังไม่พบว่า มีฟาร์มไก่เนื้อรายใดของไทยมีการเกิดโรคไข้หวัดนกดังกล่าว ดังนั้น หากสถานการณ์ของโรคไข้หวัดนกดีขึ้น จะมีผลต่อการส่งออกสินค้าเนื้อไก่ของไทย สามารถปรับเป้าหมายส่งออกได้ โดยไก่สดแช่เย็นแช่แข็งของไทยอาจจะกลับมาส่งออกได้อีกครั้งในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 สำหรับการส่งออกเนื้อไก่ของไทยปี 2549 มีการส่งออกรวมทั้งสิ้น 259,701 ตัน คิดเป็นมูลค่า 29,438 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 9.1 และ 5.6 ตามลำดับ