รมว.คมนาคมเตรียมเสนอแผนการลงทุนในโครงการรถไฟรางคู่เส้นทางแรก ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีภายใน 2 สัปดาห์ ขณะที่ รฟท.มั่นใจหลังก่อสร้างแล้วเสร็จ ทำรายได้ด้านขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มขึ้นอีก 2 เท่าตัว

พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงการตรวจเยี่ยมการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พร้อมนายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ว่า ได้มีการสอบถามความคืบหน้าโครงการรถไฟรางคู่ ซึ่งขณะนี้ รฟท.ได้เสนอแผนลงทุนดังกล่าวให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว โดยคาดว่าภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า จะมีการเสนอแผนการลงทุนทั้งหมดเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีได้
ด้านนายอารักษ์ ราษฎร์บริหาร หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงแนวทางการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ เส้นทางแรก ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง มูลค่าโครงการ 5,800 ล้านบาท ว่า งบประมาณก่อสร้างโครงการดังกล่าว รฟท.จะใช้เงินจากงบประมาณของรัฐบาลทั้งหมด และในระยะแรก รฟท.จะเป็นผู้ให้บริการเดินรถเอง จากนั้นระยะต่อไปอาจมีการจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาบริหารการเดินรถ และจะมอบอำนาจให้บริษัทลูกเป็นผู้พิจารณาว่าจะให้เอกชนเข้ามาร่วมดำเนินการด้วยหรือไม่ สำหรับรายได้ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นหลังจากเปิดให้บริการขนส่งสินค้าในเส้นทางดังกล่าว มั่นใจว่า รฟท.จะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากปกติ 2 เท่าตัว โดยรายได้ในเส้นทางดังกล่าวปัจจุบันอยู่ที่ 400 ล้านบาทต่อปี มาอยู่ที่ 800 ล้านบาท เนื่องจากจะสามารถขนส่งสินค้าได้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 2 เท่าตัว
พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงการตรวจเยี่ยมการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พร้อมนายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ว่า ได้มีการสอบถามความคืบหน้าโครงการรถไฟรางคู่ ซึ่งขณะนี้ รฟท.ได้เสนอแผนลงทุนดังกล่าวให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว โดยคาดว่าภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า จะมีการเสนอแผนการลงทุนทั้งหมดเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีได้
ด้านนายอารักษ์ ราษฎร์บริหาร หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงแนวทางการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ เส้นทางแรก ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง มูลค่าโครงการ 5,800 ล้านบาท ว่า งบประมาณก่อสร้างโครงการดังกล่าว รฟท.จะใช้เงินจากงบประมาณของรัฐบาลทั้งหมด และในระยะแรก รฟท.จะเป็นผู้ให้บริการเดินรถเอง จากนั้นระยะต่อไปอาจมีการจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาบริหารการเดินรถ และจะมอบอำนาจให้บริษัทลูกเป็นผู้พิจารณาว่าจะให้เอกชนเข้ามาร่วมดำเนินการด้วยหรือไม่ สำหรับรายได้ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นหลังจากเปิดให้บริการขนส่งสินค้าในเส้นทางดังกล่าว มั่นใจว่า รฟท.จะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากปกติ 2 เท่าตัว โดยรายได้ในเส้นทางดังกล่าวปัจจุบันอยู่ที่ 400 ล้านบาทต่อปี มาอยู่ที่ 800 ล้านบาท เนื่องจากจะสามารถขนส่งสินค้าได้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 2 เท่าตัว