อินไซท์อินโฟ ปรับเกม ยุบ 2 ช่องเอ็นบีทีเหลือ 1 ช่อง ชื่อ ช่อง 17 นิวส์ไลน์ หวังลดต้นทุน เชื่อมั่นอีก 5 ปีถึงคุ้มทุนแน่นอน พร้อมทั้งเผยแนวโน้มตลาดทีวีดาวเทียวจะเติบโตช่วยทำหึคนคนดูเพิ่มขึ้น มั่นใจปีนี้รายได้จาก เอ็นบีทีจะมีสัดส่วนเพิ่มเป็น 30%
นายศุภวิทย์ ศุภพรโอภาส ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินไซท์ อินโฟ จำกัด ผู้ดำเนินการช่องรายการทางเคเบิลทีวี เอ็นบีที ของกรมประชาสัมพันธ์ 2 ช่อง คือ ช่อง 8 นิวส์ไลน์และ ช่อง 17 สปอร์ตไลน์ เปิดเผยว่า การดำเนินธุรกิของบริษัทฯในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะช่อง นิวส์ไลน์ นั้น ยังขาดทุนอยู่ รายได้ที่เข้ามายังไม่คุ้มทุน จากงบลงทุนที่ลงไปแล้วกว่ 80 ล้านบาท
โดยรายได้หลักนั้นจะมาจากทางการขายโฆษณาเท่านั้นเอง เนื่องจากบริษัทฯไม่มีการเก็บค่าสมาชิกรายเดือนจากผู้ที่ชมหรือผู้ประกอบการเคเบิลทีวีแต่อย่างใด ตามเงื่อนไขของการเป็นผู้ผลิตรายการที่ป้อนให้กับช่องเอ็นบีทีของกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งบริษัทฯเองก็ไม่ต้องจ่ายค่าไลเซ่นส์ให้กับกรมประชาสัมพันธ์เหมือนกัน ทั้งนี้คาดว่าปีนี้รายได้จากช่องเอ็นบีทีจะมีสัดส่วนประมาณ 30% เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีสัดส่วน 20%
ในปีนี้บริษัทฯคาดหวังรายได้รวมของบริษัทฯจะเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีรายได้รวม 300 ล้านบาท ซึ่งสัดส่วนรายได้มาจากช่องฟรีทีวีมากถึง 80% จาก 2 รายการที่ผลิตคือ นิวส์ไลน์ รายการข่ายภาคภาษาอังกฤษ และการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอล กัลโซ่ซีรี่ส์ เอ ของอิตาลี ทางช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ส่วนช่องเอ็นบีทีมี 20% เท่านั้นเอง อย่างไรก็ตามขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อที่จะถ่ายทอดสดทางฟรีทีวีของการแข่งขันฟุตบอลยูฟ่า แชมเปี้ยนลีกส์ ฤดูกาลต่อไป
ล่าสุดบริษัทฯได้ปรับแผนการดำเนินงานใหม่ โดยได้ยุบทั้งสองช่องมาเหลือรวมเป็นช่องเดียวในชื่อว่า ช่อง 17 นิวส์ไลน์ พร้อมทั้งปรับผังรายการใหม่เพื่อให้มีความเหมาะสม ภายใต้คอนเซ็ปท์ “นิวส์ วาไรตี้ แอนด์ สปอร์ต” ที่จะเป็นช่องนำเสนอข่าวสารที่หลากหลายทั้ง ข่าวทั่วไป และข่าวกีฬา รวมทั้งรายการวาไรตี้ด้วยในช่องเดียวกัน ทั้งนี้สัดส่วนรายการจะแบ่งเป็น ข่าวกีฬาและสารคดี 51% และวาไรตี้ 28% ข่าวสาร 21% ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมเป็นต้นไป
ทั้งนี้การปรับช่องและรูปแบบรายการ คาดว่าจะช่วยทำให้ต้นทุนดำเนินการลดลงได้บ้าง รวมทั้งจะทำให้สามารถขยายฐานผู้ชมเพิ่มขึ้นด้วย โดยคาดว่าภายในช่วง 4-5 ปีจากนี้ จะสามารถถึงจุดคุ้มทุนและเพิ่มฐานผู้ติดตั้งจานให้ได้ถึง 200,000 จาน จากปัจจุบันที่บริษัทฯมีผู้รับชมรายการดังกล่าวผ่านจานรับสัญญาณจำนวน 85,000 จานแล้ว รวมทั้งผ่านช่องเคเบิลทีวีท้องถิ่นที่อยู่ในเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์อีกทั่วประเทศประมาณ 500 ราย ด้วย ฐานผู้ชมจำนวนมากกว่า 2.5 ล้านครัวเรือน
สำหรับการปรับเปลี่ยนช่องรายการของบริษัทฯนั้น ก็เช่นเดียวกับช่องเอ็นบีทีของกรมประชาสัมพันธ์ที่ช่วงต้นปีนี้เพิ่งมีการปรับช่องรายการใหม่หลายรายการ เช่น การเพิ่มช่องเอ็นบีที 11 เอเชีย ฮิต เป็นรายการประเภทบันเทิง แฟชั่น เพลงยอดนิยมของเอเชีย โดยบริษัท เอเชีย เทเลวิชั่น แอนด์ มีเดีย จำกัด เป็นผู้ผลิตรายการ หรือการเปลี่ยนช่องมันนี่แชนแนล ที่ย้ายไปออกอากาศทางช่องเอ็นบีที 8 แทน ส่วนในเดือนมีนาคมนี้ ก็มีการเพิ่มช่อง เอ็นบีที 18 เนชั่น แชนแนล ซึ่งเป็นช่องเกี่ยวกับสาระ ความรู้ ตลอด 24 ชั่วโมงของเครือเนชั่น โดยมีช่องเอ็นบีทีรวมทั้งหมด 9 ช่องรายการ
นายศุภวิทย์กล่าวว่า บริษัทฯมั่นใจว่าอนาคตผลประกอบการของบริษัทฯจะดีขึ้นแน่นอน เนื่องจากแนวโน้มของทีวีดาวเทียมเริ่มมีการเติบโตและเป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะการลงทุนเริ่มต่ำลงจากเทคโนโลยีที่มีการพัฒนากัน หากอดีต 5 ปีที่แล้วงบประมาณลงทุนไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านบาท แต่ปัจจุบันแค่ 50-100 ล้านบาทก็ทำได้แล้ว และราคาของจานดาวเทียมก็ถูกลงด้วย ทั้งนี้จานระบบเคยูแบนด์ ราคาประมาณ 7,000 บาทต่อจานก็หาซื้อได้ ทำให้ตลาดสามารถขยายตัวได้
นายศุภวิทย์ ศุภพรโอภาส ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินไซท์ อินโฟ จำกัด ผู้ดำเนินการช่องรายการทางเคเบิลทีวี เอ็นบีที ของกรมประชาสัมพันธ์ 2 ช่อง คือ ช่อง 8 นิวส์ไลน์และ ช่อง 17 สปอร์ตไลน์ เปิดเผยว่า การดำเนินธุรกิของบริษัทฯในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะช่อง นิวส์ไลน์ นั้น ยังขาดทุนอยู่ รายได้ที่เข้ามายังไม่คุ้มทุน จากงบลงทุนที่ลงไปแล้วกว่ 80 ล้านบาท
โดยรายได้หลักนั้นจะมาจากทางการขายโฆษณาเท่านั้นเอง เนื่องจากบริษัทฯไม่มีการเก็บค่าสมาชิกรายเดือนจากผู้ที่ชมหรือผู้ประกอบการเคเบิลทีวีแต่อย่างใด ตามเงื่อนไขของการเป็นผู้ผลิตรายการที่ป้อนให้กับช่องเอ็นบีทีของกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งบริษัทฯเองก็ไม่ต้องจ่ายค่าไลเซ่นส์ให้กับกรมประชาสัมพันธ์เหมือนกัน ทั้งนี้คาดว่าปีนี้รายได้จากช่องเอ็นบีทีจะมีสัดส่วนประมาณ 30% เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีสัดส่วน 20%
ในปีนี้บริษัทฯคาดหวังรายได้รวมของบริษัทฯจะเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีรายได้รวม 300 ล้านบาท ซึ่งสัดส่วนรายได้มาจากช่องฟรีทีวีมากถึง 80% จาก 2 รายการที่ผลิตคือ นิวส์ไลน์ รายการข่ายภาคภาษาอังกฤษ และการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอล กัลโซ่ซีรี่ส์ เอ ของอิตาลี ทางช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ส่วนช่องเอ็นบีทีมี 20% เท่านั้นเอง อย่างไรก็ตามขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อที่จะถ่ายทอดสดทางฟรีทีวีของการแข่งขันฟุตบอลยูฟ่า แชมเปี้ยนลีกส์ ฤดูกาลต่อไป
ล่าสุดบริษัทฯได้ปรับแผนการดำเนินงานใหม่ โดยได้ยุบทั้งสองช่องมาเหลือรวมเป็นช่องเดียวในชื่อว่า ช่อง 17 นิวส์ไลน์ พร้อมทั้งปรับผังรายการใหม่เพื่อให้มีความเหมาะสม ภายใต้คอนเซ็ปท์ “นิวส์ วาไรตี้ แอนด์ สปอร์ต” ที่จะเป็นช่องนำเสนอข่าวสารที่หลากหลายทั้ง ข่าวทั่วไป และข่าวกีฬา รวมทั้งรายการวาไรตี้ด้วยในช่องเดียวกัน ทั้งนี้สัดส่วนรายการจะแบ่งเป็น ข่าวกีฬาและสารคดี 51% และวาไรตี้ 28% ข่าวสาร 21% ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมเป็นต้นไป
ทั้งนี้การปรับช่องและรูปแบบรายการ คาดว่าจะช่วยทำให้ต้นทุนดำเนินการลดลงได้บ้าง รวมทั้งจะทำให้สามารถขยายฐานผู้ชมเพิ่มขึ้นด้วย โดยคาดว่าภายในช่วง 4-5 ปีจากนี้ จะสามารถถึงจุดคุ้มทุนและเพิ่มฐานผู้ติดตั้งจานให้ได้ถึง 200,000 จาน จากปัจจุบันที่บริษัทฯมีผู้รับชมรายการดังกล่าวผ่านจานรับสัญญาณจำนวน 85,000 จานแล้ว รวมทั้งผ่านช่องเคเบิลทีวีท้องถิ่นที่อยู่ในเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์อีกทั่วประเทศประมาณ 500 ราย ด้วย ฐานผู้ชมจำนวนมากกว่า 2.5 ล้านครัวเรือน
สำหรับการปรับเปลี่ยนช่องรายการของบริษัทฯนั้น ก็เช่นเดียวกับช่องเอ็นบีทีของกรมประชาสัมพันธ์ที่ช่วงต้นปีนี้เพิ่งมีการปรับช่องรายการใหม่หลายรายการ เช่น การเพิ่มช่องเอ็นบีที 11 เอเชีย ฮิต เป็นรายการประเภทบันเทิง แฟชั่น เพลงยอดนิยมของเอเชีย โดยบริษัท เอเชีย เทเลวิชั่น แอนด์ มีเดีย จำกัด เป็นผู้ผลิตรายการ หรือการเปลี่ยนช่องมันนี่แชนแนล ที่ย้ายไปออกอากาศทางช่องเอ็นบีที 8 แทน ส่วนในเดือนมีนาคมนี้ ก็มีการเพิ่มช่อง เอ็นบีที 18 เนชั่น แชนแนล ซึ่งเป็นช่องเกี่ยวกับสาระ ความรู้ ตลอด 24 ชั่วโมงของเครือเนชั่น โดยมีช่องเอ็นบีทีรวมทั้งหมด 9 ช่องรายการ
นายศุภวิทย์กล่าวว่า บริษัทฯมั่นใจว่าอนาคตผลประกอบการของบริษัทฯจะดีขึ้นแน่นอน เนื่องจากแนวโน้มของทีวีดาวเทียมเริ่มมีการเติบโตและเป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะการลงทุนเริ่มต่ำลงจากเทคโนโลยีที่มีการพัฒนากัน หากอดีต 5 ปีที่แล้วงบประมาณลงทุนไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านบาท แต่ปัจจุบันแค่ 50-100 ล้านบาทก็ทำได้แล้ว และราคาของจานดาวเทียมก็ถูกลงด้วย ทั้งนี้จานระบบเคยูแบนด์ ราคาประมาณ 7,000 บาทต่อจานก็หาซื้อได้ ทำให้ตลาดสามารถขยายตัวได้