อธิบดีกรมการประกันภัย ยืนยันการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ประสบภัยจากรถมากที่สุด และได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นที่แน่นอนและทันท่วงที
นางจันทรา บูรณฤกษ์ อธิบดีกรมการประกันภัย เปิดเผยว่า กรมการประกันภัยได้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประสบภัยจากรถ และให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่ต้องการให้ผู้ประสบภัยจากรถได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นที่แน่นอน และทันท่วงที
ทั้งนี้ เนื้อหาการแก้ไขปรับปรุงมีประเด็นสาระที่สำคัญๆ ดังนี้ คือ 1.กำหนดให้ผู้ประสบภัยที่ตกเป็นบุคคลทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะได้รับการชดใช้เงินค่าเสียหายเบื้องต้นเพิ่มอีก 35,000 บาท นอกเหนือจากค่ารักษาพยาบาล 2.กำหนดให้ผู้ประสบภัยสามารถใช้สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวนเป็นหลักฐานในการขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้ 3.กำหนดให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ต้องตรวจสอบการมีการประกันความเสียหายตามพระราชบัญญัตินี้ก่อนรับจดทะเบียน หรือรับชำระภาษีรถยนต์ประจำปี และเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุประสิทธิผล ส่งผลให้รถเข้าสู่ระบบการประกันภัยอย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการประสบภัยจากรถได้เป็นอย่างมาก
4.แก้ไขบทกำหนดโทษให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เช่น กำหนดให้ผู้ใดก็ตามที่ขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นเท็จ มีความผิด (ซึ่งเดิมกำหนดให้ลงโทษเฉพาะผู้ประสบภัย) ยกเลิกโทษที่เกี่ยวกับเครื่องหมาย (เนื่องจากมีการยกเลิกเครื่องหมาย) ในส่วนของอัตราเบี้ยประกันภัยรถภาคบังคับ กรมการประกันภัยได้พิจารณาปรับปรุงมาตลอด นับแต่มีการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งการปรับปรุงแต่ละครั้งมีการคำนวณตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย มีผู้ดำเนินการร่วมจากทั้งสถาบันการศึกษา ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง และต้องอาศัยข้อมูลสถิติไม่น้อยกว่า 3 ปี เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยที่แท้จริง และเป็นประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัยมากที่สุด
อธิบดีกรมการประกันภัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในกรณีผู้ประสบภัยจากรถไม่ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นจากผู้ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ หรือจากบริษัทประกันภัย สามารถติดต่อขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นได้ที่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักนายทะเบียนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ชั้น 4 กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ สำหรับต่างจังหวัด สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด
นางจันทรา บูรณฤกษ์ อธิบดีกรมการประกันภัย เปิดเผยว่า กรมการประกันภัยได้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประสบภัยจากรถ และให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่ต้องการให้ผู้ประสบภัยจากรถได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นที่แน่นอน และทันท่วงที
ทั้งนี้ เนื้อหาการแก้ไขปรับปรุงมีประเด็นสาระที่สำคัญๆ ดังนี้ คือ 1.กำหนดให้ผู้ประสบภัยที่ตกเป็นบุคคลทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะได้รับการชดใช้เงินค่าเสียหายเบื้องต้นเพิ่มอีก 35,000 บาท นอกเหนือจากค่ารักษาพยาบาล 2.กำหนดให้ผู้ประสบภัยสามารถใช้สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวนเป็นหลักฐานในการขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้ 3.กำหนดให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ต้องตรวจสอบการมีการประกันความเสียหายตามพระราชบัญญัตินี้ก่อนรับจดทะเบียน หรือรับชำระภาษีรถยนต์ประจำปี และเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุประสิทธิผล ส่งผลให้รถเข้าสู่ระบบการประกันภัยอย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการประสบภัยจากรถได้เป็นอย่างมาก
4.แก้ไขบทกำหนดโทษให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เช่น กำหนดให้ผู้ใดก็ตามที่ขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นเท็จ มีความผิด (ซึ่งเดิมกำหนดให้ลงโทษเฉพาะผู้ประสบภัย) ยกเลิกโทษที่เกี่ยวกับเครื่องหมาย (เนื่องจากมีการยกเลิกเครื่องหมาย) ในส่วนของอัตราเบี้ยประกันภัยรถภาคบังคับ กรมการประกันภัยได้พิจารณาปรับปรุงมาตลอด นับแต่มีการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งการปรับปรุงแต่ละครั้งมีการคำนวณตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย มีผู้ดำเนินการร่วมจากทั้งสถาบันการศึกษา ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง และต้องอาศัยข้อมูลสถิติไม่น้อยกว่า 3 ปี เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยที่แท้จริง และเป็นประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัยมากที่สุด
อธิบดีกรมการประกันภัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในกรณีผู้ประสบภัยจากรถไม่ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นจากผู้ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ หรือจากบริษัทประกันภัย สามารถติดต่อขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นได้ที่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักนายทะเบียนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ชั้น 4 กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ สำหรับต่างจังหวัด สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด