มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ม.ค.2550 ปรับลดลงต่ำสุดในรอบ 5 เดือน เนื่องจากผู้บริโภควิตก ว่า เหตุระเบิดช่วงปีใหม่จะกระทบการลงทุนและท่องเที่ยว รวมทั้งปัจจัยการเมืองที่กลับมามีน้ำหนักอีกครั้ง พร้อมเสนอให้รัฐบาลใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าภายในไตรมาส 3 และเสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 1 ในปีนี้
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนมกราคม 2550 ว่า ดัชนีปรับตัวลดลงจาก 82.4 ในเดือน ธ.ค.เป็น 79.9 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงต่ำที่สุดในรอบ 5 เดือน โดยผู้บริโภคยังกังวล ว่า เหตุการณ์ระเบิดในช่วงปีใหม่กระทบ ทำให้ผู้บริโภคชะลอการลงทุน และมีผลกระทบถึงการท่องเที่ยว, การแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว, มาตรการกันสำรองร้อยละ 30 และการแข็งค่าของเงินบาท ซึ่งมีผลกระทบต่อการส่งออกและการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต รวมทั้งผู้บริโภคมีความเห็นว่า นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจน
“ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงทุกรายการเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 100 เป็นเดือนที่ 31 โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคต ปรับลดลงจาก 80.9 มาที่ 78 แสดงว่าผู้บริโภคมีความกังวลกับความเสี่ยงต่างๆ ทางเศรษฐกิจ และเห็นว่า ปัจจัยการเมืองกลับมามีน้ำหนักอีกครั้งหนึ่ง” นายธนวรรธน์ กล่าว
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า รัฐบาลควรที่จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยให้เห็นผลภายในไตรมาสที่ 3 ผ่านการลงทุนในโครงการรถไฟฟ้า ซึ่งจะเห็นผลอย่างชัดเจน เมื่อมีการประมูลการก่อสร้าง และการอัดฉีดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 ทำได้เร็ว นอกจากนี้ ยังเสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 1 ในปีนี้ เพื่อกระตุ้นการบริโภค การลงทุน และจะมีผลทำให้เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ระดับ 35-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะช่วยให้ภาคการส่งออกขยายตัวร้อยละ 10-12.5 และจะเป็นผลดีช่วยให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคมีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้ในปลายไตรมาส 3 แต่ในช่วงไตรมาส 1 และ 2 ยังชะลอตัวลงต่อเนื่อง
ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ กล่าวว่า ต้องติดตามข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์อย่างใกล้ชิดว่ามุมมองของผู้บริโภคจะปรับเปลี่ยนไปหรือไม่ หากดัชนีความเชื่อมั่นยังอยู่ในทิศทางขาลง หรือมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น ก็อาจจะทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลงมาต่ำที่สุดในรอบ 5 ปีได้อีก เพราะสัญญาณในเดือน ม.ค.ชัดเจนว่า ผู้บริโภคยังมีความวิตกต่อสถานการณ์ระเบิดและการเมืองในประเทศ ทำให้ยอดการจองซื้อบ้าน รถยนต์ และสินค้าคงทนชะลอตัวลงในไตรมาส 1 และ 2 รวมทั้งผู้บริโภคลดการใช้จ่ายเพื่อความบันเทิงลง
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนมกราคม 2550 ว่า ดัชนีปรับตัวลดลงจาก 82.4 ในเดือน ธ.ค.เป็น 79.9 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงต่ำที่สุดในรอบ 5 เดือน โดยผู้บริโภคยังกังวล ว่า เหตุการณ์ระเบิดในช่วงปีใหม่กระทบ ทำให้ผู้บริโภคชะลอการลงทุน และมีผลกระทบถึงการท่องเที่ยว, การแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว, มาตรการกันสำรองร้อยละ 30 และการแข็งค่าของเงินบาท ซึ่งมีผลกระทบต่อการส่งออกและการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต รวมทั้งผู้บริโภคมีความเห็นว่า นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจน
“ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงทุกรายการเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 100 เป็นเดือนที่ 31 โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคต ปรับลดลงจาก 80.9 มาที่ 78 แสดงว่าผู้บริโภคมีความกังวลกับความเสี่ยงต่างๆ ทางเศรษฐกิจ และเห็นว่า ปัจจัยการเมืองกลับมามีน้ำหนักอีกครั้งหนึ่ง” นายธนวรรธน์ กล่าว
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า รัฐบาลควรที่จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยให้เห็นผลภายในไตรมาสที่ 3 ผ่านการลงทุนในโครงการรถไฟฟ้า ซึ่งจะเห็นผลอย่างชัดเจน เมื่อมีการประมูลการก่อสร้าง และการอัดฉีดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 ทำได้เร็ว นอกจากนี้ ยังเสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 1 ในปีนี้ เพื่อกระตุ้นการบริโภค การลงทุน และจะมีผลทำให้เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ระดับ 35-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะช่วยให้ภาคการส่งออกขยายตัวร้อยละ 10-12.5 และจะเป็นผลดีช่วยให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคมีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้ในปลายไตรมาส 3 แต่ในช่วงไตรมาส 1 และ 2 ยังชะลอตัวลงต่อเนื่อง
ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ กล่าวว่า ต้องติดตามข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์อย่างใกล้ชิดว่ามุมมองของผู้บริโภคจะปรับเปลี่ยนไปหรือไม่ หากดัชนีความเชื่อมั่นยังอยู่ในทิศทางขาลง หรือมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น ก็อาจจะทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลงมาต่ำที่สุดในรอบ 5 ปีได้อีก เพราะสัญญาณในเดือน ม.ค.ชัดเจนว่า ผู้บริโภคยังมีความวิตกต่อสถานการณ์ระเบิดและการเมืองในประเทศ ทำให้ยอดการจองซื้อบ้าน รถยนต์ และสินค้าคงทนชะลอตัวลงในไตรมาส 1 และ 2 รวมทั้งผู้บริโภคลดการใช้จ่ายเพื่อความบันเทิงลง