กูรูวงการน้ำมันชี้ราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลในประเทศมีโอกาสปรับขึ้นเร็วๆ นี้ หลังราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนค่าไฟฟ้าเอฟทีแม้จะมีข่าวดีงวดนี้อาจปรับลดลง 5 สตางค์/หน่วย แต่งวดหน้ากลับมีแนวโน้มปรับขึ้นอีก 7 สตางค์/หน่วย ด้าน "ปิยสวัสดิ์" สั่งทบทวนตัวเลข เพื่อให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงและถูกต้อง
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมัน เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันในประเทศไทยมีโอกาสปรับขึ้นทั้งดีเซลและเบนซิน เพราะขณะนี้ค่าการตลาดได้ลดต่ำลงเหลือเฉลี่ยไม่ถึง 1 บาท/ลิตร ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ได้ขยับขึ้นตามราคาน้ำมันดิบที่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาดีเซลปิดตลาดวานนี้เฉียด 70 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรลแล้ว โดยอยู่ที่ 69.34 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล เบนซิน อยู่ที่ 63.28 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ในขณะที่น้ำมันดิบเวสต์เทกซัสของสหรัฐปรับเพิ่มขึ้นไปอยู่ในระดับราคา 58.14 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล โดยราคาน้ำมันดิบที่ขยับขึ้นรุนแรงเป็นผลมาจากการทางการสหรัฐประกาศปริมาณสำรองน้ำมันกลั่น ประจำสัปดาห์ ปรับลดลง 2.6 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 130 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการปรับลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์และเป็นการปรับลดลงครั้งแรกในรอบ 7 สัปดาห์ เนื่องจากสภาพอากาศหนาวในสหรัฐ ที่ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันสำรองเพื่อทำความอบอุ่นสูงขึ้น ประกอบกับข่าวโอเปกจะเริ่มลดกำลังผลิตตามที่ประกาศไว้ 500,000 บาร์เรล/วัน จึงทำให้บรรดากองทุนเก็งกำไรหันมาเล่นเก็งกำไรราคาน้ำมันอีกรอบ
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รายงานว่า แนวโน้มคาดว่าราคาน้ำมันยังคงแกว่งตัวขึ้นลงตามข่าวรายวันที่ส่งให้ผู้ค้ากังวลเกี่ยวกับภาวะอุปสงค์และอุปทานของน้ำมันในตลาด โดยในระยะสั้น ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส มีแนวรับที่ระดับ 54 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล และแนวต้านที่ 58.80 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งหากราคาซื้อขายสามารถทะลุผ่านแนวต้านนี้ไปได้ จะมีแนวต้านถัดไปที่ 60.80 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล
ด้านรายงานข่าวจากกระทรวงพลังงาน แจ้งว่า การประชุมอนุกรรมการพิจารณาค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) ที่มี นายนอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์นี้ จะพิจารณาค่าไฟฟ้าเอฟทีงวดใหม่ (ก.พ.-พ.ค.) โดยเบื้องต้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้รายงานว่า เอฟทีงวดนี้จะลดลงประมาณ 5 สตางค์/หน่วย เนื่องจากมีการใช้น้ำผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โรงไฟฟ้าถ่านหินบีแอลซีพีเข้าระบบมีการใช้ก๊าซฯ ผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จึงทดแทนการผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันที่มีต้นทุนสูงกว่า
อย่างไรก็ตาม กฟผ.ได้ประมาณการแนวโน้มค่าไฟฟ้างวดต่อไป (มิ.ย.-ก.ย.) ว่า มีแนวโน้มจะปรับขึ้นอีก 7 สตางค์/หน่วย เป็นเพราะราคาก๊าซธรรมชาติได้ปรับสูงขึ้นตามสูตรราคาที่ระบุว่าจะผันแปรตามราคาน้ำมัน 6-12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งราคาน้ำมันในปีที่แล้วได้ขยับสูงขึ้นกว่า 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตาม นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้สั่งการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาต้นทุนใหม่ว่าเป็นตัวเลขที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงหรือไม่
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมัน เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันในประเทศไทยมีโอกาสปรับขึ้นทั้งดีเซลและเบนซิน เพราะขณะนี้ค่าการตลาดได้ลดต่ำลงเหลือเฉลี่ยไม่ถึง 1 บาท/ลิตร ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ได้ขยับขึ้นตามราคาน้ำมันดิบที่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาดีเซลปิดตลาดวานนี้เฉียด 70 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรลแล้ว โดยอยู่ที่ 69.34 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล เบนซิน อยู่ที่ 63.28 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ในขณะที่น้ำมันดิบเวสต์เทกซัสของสหรัฐปรับเพิ่มขึ้นไปอยู่ในระดับราคา 58.14 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล โดยราคาน้ำมันดิบที่ขยับขึ้นรุนแรงเป็นผลมาจากการทางการสหรัฐประกาศปริมาณสำรองน้ำมันกลั่น ประจำสัปดาห์ ปรับลดลง 2.6 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 130 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการปรับลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์และเป็นการปรับลดลงครั้งแรกในรอบ 7 สัปดาห์ เนื่องจากสภาพอากาศหนาวในสหรัฐ ที่ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันสำรองเพื่อทำความอบอุ่นสูงขึ้น ประกอบกับข่าวโอเปกจะเริ่มลดกำลังผลิตตามที่ประกาศไว้ 500,000 บาร์เรล/วัน จึงทำให้บรรดากองทุนเก็งกำไรหันมาเล่นเก็งกำไรราคาน้ำมันอีกรอบ
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รายงานว่า แนวโน้มคาดว่าราคาน้ำมันยังคงแกว่งตัวขึ้นลงตามข่าวรายวันที่ส่งให้ผู้ค้ากังวลเกี่ยวกับภาวะอุปสงค์และอุปทานของน้ำมันในตลาด โดยในระยะสั้น ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส มีแนวรับที่ระดับ 54 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล และแนวต้านที่ 58.80 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งหากราคาซื้อขายสามารถทะลุผ่านแนวต้านนี้ไปได้ จะมีแนวต้านถัดไปที่ 60.80 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล
ด้านรายงานข่าวจากกระทรวงพลังงาน แจ้งว่า การประชุมอนุกรรมการพิจารณาค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) ที่มี นายนอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์นี้ จะพิจารณาค่าไฟฟ้าเอฟทีงวดใหม่ (ก.พ.-พ.ค.) โดยเบื้องต้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้รายงานว่า เอฟทีงวดนี้จะลดลงประมาณ 5 สตางค์/หน่วย เนื่องจากมีการใช้น้ำผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โรงไฟฟ้าถ่านหินบีแอลซีพีเข้าระบบมีการใช้ก๊าซฯ ผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จึงทดแทนการผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันที่มีต้นทุนสูงกว่า
อย่างไรก็ตาม กฟผ.ได้ประมาณการแนวโน้มค่าไฟฟ้างวดต่อไป (มิ.ย.-ก.ย.) ว่า มีแนวโน้มจะปรับขึ้นอีก 7 สตางค์/หน่วย เป็นเพราะราคาก๊าซธรรมชาติได้ปรับสูงขึ้นตามสูตรราคาที่ระบุว่าจะผันแปรตามราคาน้ำมัน 6-12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งราคาน้ำมันในปีที่แล้วได้ขยับสูงขึ้นกว่า 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตาม นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้สั่งการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาต้นทุนใหม่ว่าเป็นตัวเลขที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงหรือไม่