บมจ.ไทยออยล์เตรียมพร้อมโรงไฟฟ้าในเครือเข้าประมูลไอพีพี เผยได้อีไอเอแล้ว และเป็นพื้นที่เก่า จึงคาดจะคว้าชัยแน่นอน โดยพร้อมที่จะสร้างเพิ่มถึง 1,500 เมกะวัตต์ ในขณะที่เตรียมเสนอขายเอสพีพีอีกเช่นกัน เตรียมแผนจะผุดโรงไฟฟ้าเอสพีพีใหม่อีก 115 เมกะวัตต์ หลังจากที่ล่าสุดได้ลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าใหม่แล้ว 38 เมกะวัตต์
นายวิโรจน์ มาวิจักขณ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ไทยออยล์ เปิดเผยว่า เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าประมูลโครงการโรงไฟฟ้าภาคเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี) ซึ่งกระทรวงพลังงาน เตรียมที่จะเปิดประกาศประมูลในเดือนเมษายนนี้ ทางบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ หรือไอพีที บริษัทในเครือ ได้เสนอผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ไปยังสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม และได้รับความเห็นชอบแล้ว โดย หากไอพีทีได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินโครงการไอพีพี ก็จะสามารถก่อสร้างโรงไฟฟ้าได้ทันที บริษัทจึงมั่นใจว่าจะมีศักยภาพในการแข่งขันในครั้งนี้
รายงานข่าวจากไทยออยล์ระบุว่า พื้นที่เตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่อยู่ในพื้นที่เดิมของไอพีที ซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกับโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งสามารถก่อสร้างโรงไฟฟ้าได้ 2 โรง กำลังผลิตรวม 1,400-1,500 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง และใช้เทคโนโลยีจากซีเมนส์ ซึ่งไอพีทีวางแผนจะเข้าประมูลไอพีพี รอบแรกเพียง 1 โรงเท่านั้น โดยต้นทุนค่าไฟฟ้าจะใกล้เคียงกับปัจจุบันที่เป็นอัตราเฉลี่ยประมาณ 1.80-1.90 บาท/หน่วย นับเป็นราคาที่แข่งขันได้ โดยนอกจากอีไอเอจะได้รับความเห็นชอบแล้ว ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยังได้ยืนยันว่า ระบบสายส่งไฟฟ้าที่จะรับไฟฟ้าจากไอพีทีก็ไม่มีปัญหาเช่นกัน
“การที่ไอพีทีจะเสนอประมูลไอพีพีรอบแรกเพียง 1 โรง หรือประมาณ 700-800 เมกะวัตต์ ก็เพื่อเปิดโอกาสให้รายอื่นสามารถแข่งขันได้ด้วย ในขณะเดียวกัน ก็ยังไม่มีความแน่ชัดว่า ไอพีพีจะเปิดประมูลรอบแรกเท่าใดกันแน่น เพราะต้องรอนโยบายจากกระทรวงพลังงานว่าจะให้โควตาแก่ กฟผ. ในการผลิตไฟฟ้าเท่าใด และให้ไอพีพีเท่าใด แต่ไอพีทีมั่นใจว่าจะเข้าประมูลได้อย่างแน่นอน เพราะไม่มีการลงทุนเรื่องที่ดินใหม่ หรือเสียงของการคัดค้านจากชุมชนเหมือนโรงไฟฟ้าใหม่อื่นๆ“ แหล่งข่าวระบุ
ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นไอพีที ประกอบด้วย ไทยออยล์ ร้อยละ 24 บมจ.ปตท. ร้อยละ 20 บริษัทไทยออยล์เพาเวอร์ร้อยละ 56 (ไทยออยล์เพาเวอร์ถือหุ้นโดยไทยออยล์ร้อยละ 55 เจเพาเวอร์ร้อยละ 19 และ ปตท. ร้อยละ 24) นอกจากนี้ ไทยออยล์เพาเวอร์ยังได้เตรียมลงทุนผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนขนาดเล็ก (เอสพีพี) ที่กระทรวงพลังงานได้เตรียมจะเปิดให้เสนอขายรอบใหม่ด้วย ซึ่งมีความพร้อมที่จะผลิตได้ถึง 115 เมกะวัตต์ แต่กำลังศึกษาถึงความเหมาะสมว่าจะผลิตเท่าใด เพราะต้องพิจารณาถึงลูกค้าที่จะมารับซื้อไอน้ำไปด้วย โดยกำลังเจรจากับเอสโซ่และไทยพาราไซลีนว่ามีความต้องการไอน้ำเพิ่มขึ้นเท่าใด ส่วนการขยายกำลังผลิตเอสพีพีในปัจจุบัน 38 เมกะวัตต์ ที่จะก่อสร้างเสร็จผลิตไฟฟ้าในไตรมาส 1 ปี 2550 ก็พร้อมจะเสนอขายแก่ไฟฟ้า กฟผ. อีก 19 เมกะวัตต์ โดยปัจจุบันกำลังผลิตไฟฟ้าเอสพีพีอยู่ที่ประมาณ 115 เมกะวัตต์
นายวิโรจน์ มาวิจักขณ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ไทยออยล์ เปิดเผยว่า เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าประมูลโครงการโรงไฟฟ้าภาคเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี) ซึ่งกระทรวงพลังงาน เตรียมที่จะเปิดประกาศประมูลในเดือนเมษายนนี้ ทางบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ หรือไอพีที บริษัทในเครือ ได้เสนอผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ไปยังสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม และได้รับความเห็นชอบแล้ว โดย หากไอพีทีได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินโครงการไอพีพี ก็จะสามารถก่อสร้างโรงไฟฟ้าได้ทันที บริษัทจึงมั่นใจว่าจะมีศักยภาพในการแข่งขันในครั้งนี้
รายงานข่าวจากไทยออยล์ระบุว่า พื้นที่เตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่อยู่ในพื้นที่เดิมของไอพีที ซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกับโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งสามารถก่อสร้างโรงไฟฟ้าได้ 2 โรง กำลังผลิตรวม 1,400-1,500 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง และใช้เทคโนโลยีจากซีเมนส์ ซึ่งไอพีทีวางแผนจะเข้าประมูลไอพีพี รอบแรกเพียง 1 โรงเท่านั้น โดยต้นทุนค่าไฟฟ้าจะใกล้เคียงกับปัจจุบันที่เป็นอัตราเฉลี่ยประมาณ 1.80-1.90 บาท/หน่วย นับเป็นราคาที่แข่งขันได้ โดยนอกจากอีไอเอจะได้รับความเห็นชอบแล้ว ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยังได้ยืนยันว่า ระบบสายส่งไฟฟ้าที่จะรับไฟฟ้าจากไอพีทีก็ไม่มีปัญหาเช่นกัน
“การที่ไอพีทีจะเสนอประมูลไอพีพีรอบแรกเพียง 1 โรง หรือประมาณ 700-800 เมกะวัตต์ ก็เพื่อเปิดโอกาสให้รายอื่นสามารถแข่งขันได้ด้วย ในขณะเดียวกัน ก็ยังไม่มีความแน่ชัดว่า ไอพีพีจะเปิดประมูลรอบแรกเท่าใดกันแน่น เพราะต้องรอนโยบายจากกระทรวงพลังงานว่าจะให้โควตาแก่ กฟผ. ในการผลิตไฟฟ้าเท่าใด และให้ไอพีพีเท่าใด แต่ไอพีทีมั่นใจว่าจะเข้าประมูลได้อย่างแน่นอน เพราะไม่มีการลงทุนเรื่องที่ดินใหม่ หรือเสียงของการคัดค้านจากชุมชนเหมือนโรงไฟฟ้าใหม่อื่นๆ“ แหล่งข่าวระบุ
ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นไอพีที ประกอบด้วย ไทยออยล์ ร้อยละ 24 บมจ.ปตท. ร้อยละ 20 บริษัทไทยออยล์เพาเวอร์ร้อยละ 56 (ไทยออยล์เพาเวอร์ถือหุ้นโดยไทยออยล์ร้อยละ 55 เจเพาเวอร์ร้อยละ 19 และ ปตท. ร้อยละ 24) นอกจากนี้ ไทยออยล์เพาเวอร์ยังได้เตรียมลงทุนผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนขนาดเล็ก (เอสพีพี) ที่กระทรวงพลังงานได้เตรียมจะเปิดให้เสนอขายรอบใหม่ด้วย ซึ่งมีความพร้อมที่จะผลิตได้ถึง 115 เมกะวัตต์ แต่กำลังศึกษาถึงความเหมาะสมว่าจะผลิตเท่าใด เพราะต้องพิจารณาถึงลูกค้าที่จะมารับซื้อไอน้ำไปด้วย โดยกำลังเจรจากับเอสโซ่และไทยพาราไซลีนว่ามีความต้องการไอน้ำเพิ่มขึ้นเท่าใด ส่วนการขยายกำลังผลิตเอสพีพีในปัจจุบัน 38 เมกะวัตต์ ที่จะก่อสร้างเสร็จผลิตไฟฟ้าในไตรมาส 1 ปี 2550 ก็พร้อมจะเสนอขายแก่ไฟฟ้า กฟผ. อีก 19 เมกะวัตต์ โดยปัจจุบันกำลังผลิตไฟฟ้าเอสพีพีอยู่ที่ประมาณ 115 เมกะวัตต์