สวอท์ชกรุ๊ป เผยกลยุทธ์ตลาดปี 2550 ไม่มีแผนนำเข้าแบรนด์ใหม่เข้ามา เน้นพัฒนาแบรนด์เดิม 12แบรนด์ให้ดี พร้อมรุกตลาดต่างจังหวัดเต็มสูบ ด้วยการเปิดชอปเองมัลติแบรนด์เอง ภายใต้งบ 70ล้านบาท ประเดิมสาขาเล็งเปิดที่ภูเก็ต พร้อมเปลี่ยนระบบการสั่งซื้อสินค้าใหม่ให้ติดต่อผ่านบริษัทในไทยโดยตรง คาดช่วยผลักดันยอดขายปีหน้าโต40%
นายคริสตอฟ วิเกอรี่ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะสวอท์ช กรุ๊ป เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้านาฬิกากว่า12 แบรนด์ อาทิ สวอท์ช,โอเมก้า และลองจินส์ ฯลฯ เปิดเผยว่า แผนการการดำเนินธุรกิจในปี 2550 บริษัทฯ ยังไม่มีแผนนำเข้านาฬิกาแบรนด์ใหม่จากบริษัทแม่ที่มีแบรนด์อยู่มากกว่า 18แบรนด์ โดยบริษัทฯ จะเน้นการทำตลาดให้กับแบรนด์เดิมที่มีอยู่กว่า 12แบรนด์ให้ดี ประกอบกับปีหน้าบริษัทฯ มีแผนที่จะรุกขยายตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น โดยการเตรียมเปิดชอปเองภายใต้แนวคิดหรือคอนเซ็ปต์ "มัลติแบรนด์" ซึ่งจะมีการนำนาฬิกาภายในเครือสวอทช์กรุ๊ปมาจำหน่ายประมาณ 3-4แบรนด์ ได้แก่ ทิสโซต์,ลองจินส์ และราโด เป็นต้น (ยกเว้นแบรนด์สวอท์ชที่จะมีร้านจำหน่ายภายใต้ชื่อสวอท์ชเฉพาะ) ซึ่งการเลือกแบรนด์จำหน่ายในร้านแต่ละแห่งต้องดูความเหมาะสมในแต่ละสถานที่ด้วย
"การที่บริษัทฯ มารุกตลาดต่างจังหวัดด้วยการเปิดร้านเองนั้น เนื่องจากรีเทลเลอร์หรือตัวแทนจำหน่ายนาฬิการายใหญ่มักจะอยู่แต่ในกรุงเทพฯ ซึ่งรายหลักมีอยู่ 6ราย อาทิ แฟรงค์จิวเวลรี่,แพลนดูรัม เป็นต้น ขณะที่ตลาดต่างจังหวัดยังไม่มีตัวแทนจำหน่าย ดังนั้นเราจึงต้องขยายชอปในรูปแบบมัลติแบรนด์เอง"
สำหรับงบลงทุนในการเปิดร้านมัลติแบรนด์ในต่างจังหวัดบริษัทฯ เตรียมไว้ประมาณ 70 ล้านบาท เบื้องต้นเล็งเปิดสาขาแรกที่จังหวัดภูเก็ต จากนั้นมีแผนขยายไปหัวเมืองหลัก อาทิ เชียงใหม่,พิษณุโลกและพัทยา ฯลฯ โดยชอปที่จะไปเปิดจะเน้นเปิดตามศูนย์การค้า,พลาซ่าและชอปปิ้ง คอมเพล็กซ์
อย่างไรก็ตามบริษัทฯ คาดว่าหลังจากเข้าไปบุกตลาดต่างจังหวัดอย่างจริงจังในปีหน้าจะทำให้สัดส่วนการขายเพิ่มขึ้นเป็น 25% จากปัจจุบันสัดส่วนการขายของตลาดต่างจังหวัดมีอยู่10% ของยอดขายโดยรวม
ทั้งนี้ในส่วนยอดรายได้ปีหน้าบริษัทฯคาดหวังการเติบโตขึ้น 40% ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับปีนี้ที่โต 40% โดยปัจจัยการเติบโตในปีหน้าจะมาจากการรุกทำตลาดในต่างจังหวัดมากขึ้น รวมถึงการที่ระบบการสั่งซื้อสินค้าเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมทางดิวตี้ฟรีจะสั่งสินค้าผ่านทางบริษัทแม่ที่สวิตเซอร์แลนด์ แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นต้องสั่งสินค้าจากบริษัทสวอท์ชในประเทศไทยโดยตรง ซึ่งตรงนี้ทำให้ยอดขายบริษัทฯเติบโตขึ้น สำหรับแบรนด์หลักที่ทำยอดรายได้สูงสุด ได้แก่ โอเมก้า,ราโด,บริเกต์
สำหรับตลาดรวมนาฬิกาในประเทศไทยแม้ว่าปีนี้จะประสบปัจจัยลบต่างๆ มาก เช่น การเมืองและเศรษฐกิจชะลอตัว ฯลฯ แต่ก็คาดว่าบริษัทที่มีการวางแผนในระยะยาวหรือบริษัทที่มีความมั่นคงก็จะสามารถอยู่รอดในตลาดได้ ทั้งนี้ปัจจัยลบดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อภาพรวมบริษัทสวอท์ชฯแต่อย่างใด โดยบริษัทฯยังคงเดินหน้าลงทุนตามแผนที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง
นายคริสตอฟ วิเกอรี่ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะสวอท์ช กรุ๊ป เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้านาฬิกากว่า12 แบรนด์ อาทิ สวอท์ช,โอเมก้า และลองจินส์ ฯลฯ เปิดเผยว่า แผนการการดำเนินธุรกิจในปี 2550 บริษัทฯ ยังไม่มีแผนนำเข้านาฬิกาแบรนด์ใหม่จากบริษัทแม่ที่มีแบรนด์อยู่มากกว่า 18แบรนด์ โดยบริษัทฯ จะเน้นการทำตลาดให้กับแบรนด์เดิมที่มีอยู่กว่า 12แบรนด์ให้ดี ประกอบกับปีหน้าบริษัทฯ มีแผนที่จะรุกขยายตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น โดยการเตรียมเปิดชอปเองภายใต้แนวคิดหรือคอนเซ็ปต์ "มัลติแบรนด์" ซึ่งจะมีการนำนาฬิกาภายในเครือสวอทช์กรุ๊ปมาจำหน่ายประมาณ 3-4แบรนด์ ได้แก่ ทิสโซต์,ลองจินส์ และราโด เป็นต้น (ยกเว้นแบรนด์สวอท์ชที่จะมีร้านจำหน่ายภายใต้ชื่อสวอท์ชเฉพาะ) ซึ่งการเลือกแบรนด์จำหน่ายในร้านแต่ละแห่งต้องดูความเหมาะสมในแต่ละสถานที่ด้วย
"การที่บริษัทฯ มารุกตลาดต่างจังหวัดด้วยการเปิดร้านเองนั้น เนื่องจากรีเทลเลอร์หรือตัวแทนจำหน่ายนาฬิการายใหญ่มักจะอยู่แต่ในกรุงเทพฯ ซึ่งรายหลักมีอยู่ 6ราย อาทิ แฟรงค์จิวเวลรี่,แพลนดูรัม เป็นต้น ขณะที่ตลาดต่างจังหวัดยังไม่มีตัวแทนจำหน่าย ดังนั้นเราจึงต้องขยายชอปในรูปแบบมัลติแบรนด์เอง"
สำหรับงบลงทุนในการเปิดร้านมัลติแบรนด์ในต่างจังหวัดบริษัทฯ เตรียมไว้ประมาณ 70 ล้านบาท เบื้องต้นเล็งเปิดสาขาแรกที่จังหวัดภูเก็ต จากนั้นมีแผนขยายไปหัวเมืองหลัก อาทิ เชียงใหม่,พิษณุโลกและพัทยา ฯลฯ โดยชอปที่จะไปเปิดจะเน้นเปิดตามศูนย์การค้า,พลาซ่าและชอปปิ้ง คอมเพล็กซ์
อย่างไรก็ตามบริษัทฯ คาดว่าหลังจากเข้าไปบุกตลาดต่างจังหวัดอย่างจริงจังในปีหน้าจะทำให้สัดส่วนการขายเพิ่มขึ้นเป็น 25% จากปัจจุบันสัดส่วนการขายของตลาดต่างจังหวัดมีอยู่10% ของยอดขายโดยรวม
ทั้งนี้ในส่วนยอดรายได้ปีหน้าบริษัทฯคาดหวังการเติบโตขึ้น 40% ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับปีนี้ที่โต 40% โดยปัจจัยการเติบโตในปีหน้าจะมาจากการรุกทำตลาดในต่างจังหวัดมากขึ้น รวมถึงการที่ระบบการสั่งซื้อสินค้าเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมทางดิวตี้ฟรีจะสั่งสินค้าผ่านทางบริษัทแม่ที่สวิตเซอร์แลนด์ แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นต้องสั่งสินค้าจากบริษัทสวอท์ชในประเทศไทยโดยตรง ซึ่งตรงนี้ทำให้ยอดขายบริษัทฯเติบโตขึ้น สำหรับแบรนด์หลักที่ทำยอดรายได้สูงสุด ได้แก่ โอเมก้า,ราโด,บริเกต์
สำหรับตลาดรวมนาฬิกาในประเทศไทยแม้ว่าปีนี้จะประสบปัจจัยลบต่างๆ มาก เช่น การเมืองและเศรษฐกิจชะลอตัว ฯลฯ แต่ก็คาดว่าบริษัทที่มีการวางแผนในระยะยาวหรือบริษัทที่มีความมั่นคงก็จะสามารถอยู่รอดในตลาดได้ ทั้งนี้ปัจจัยลบดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อภาพรวมบริษัทสวอท์ชฯแต่อย่างใด โดยบริษัทฯยังคงเดินหน้าลงทุนตามแผนที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง