สนพ.เดินหน้ารุกโครงการ “นี่สิ...บ้านหาร 2” เชิญชวนคนไทยเลือกสร้างบ้านประหยัดพลังงาน ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานในภาพรวมของประเทศ พร้อมเปิดตัวต้นแบบทาวน์เฮาส์ประหยัดพลังงาน เพื่อให้ชาวเหนือนำไปเป็นตัวอย่างในการก่อสร้างต่อไป
นายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงาน ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศ โดยหนึ่งในยุทธศาสตร์นั้นคือ การเร่งรณรงค์ประหยัดพลังงานอย่างจริงจังในทุกภาคส่วน และในปี 2550 ตั้งเป้าให้ประชาชนลดการใช้ไฟฟ้าให้ได้ 1,400 ล้านหน่วยต่อปี คิดเป็นมูลค่า 4,200 ล้านบาทต่อปี จึงต้องมีการสร้างแนวร่วมในการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าและประหยัดพลังงาน โดยเฉพาะในกลุ่มบ้านที่อยู่อาศัย ซึ่งมีความยั่งยืนที่สุด
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดย สนพ. ได้สนับสนุนให้ 7 มหาวิทยาลัย ดำเนินการจัดประกวดออกแบบบ้านและทาวน์เฮาส์ประหยัดพลังงาน และคัดเลือกแบบบ้านที่ดีที่สุดสถาบันละ 3 แบบ มาก่อสร้างจริงเพื่อใช้เป็นบ้านตัวอย่างสำหรับทำการศึกษาและเป็นต้นแบบให้ประชาชนนำไปเป็นตัวอย่างในการก่อสร้าง ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการนำบ้านและทาวน์เฮาส์ประหยัดพลังงานทั้งหมด 21 แบบ ไปจัดแสดงในงาน “บ้านและสวนแฟร์ 2006” ได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวนมาก ซึ่งภาครัฐมุ่งหวังว่า หากประเทศไทยมีการสร้างที่พักอาศัยที่ประหยัดพลังงานมากขึ้น ก็จะช่วยให้ประเทศลดใช้พลังงานในภาพรวมลงได้
น.ส.อิศรา กันแตง หัวหน้าโครงการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานประเภททาวน์เฮาส์ กรณีศึกษา : จังหวัดเชียงใหม่ หรือจังหวัดใกล้เคียง กล่าวว่า ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ เป็นหนึ่งในสถาบันที่ได้รับการสนับสนุนจาก สนพ. ดำเนินโครงการ “ออกแบบทาวน์เฮาส์ประหยัดพลังงาน” โดยการจัดประกวดและคัดเลือกแบบทาวน์เฮาส์ที่ดีที่สุดจำนวน 3 แบบ นำมาก่อสร้างจริงภายในบริเวณพื้นที่ส่วนขยายของสถาบัน อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เพื่อใช้เป็นบ้านตัวอย่างสำหรับทำการศึกษา ตรวจวัดดัชนีการใช้พลังงาน ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้อยู่อาศัย และที่สำคัญ เพื่อให้เป็นต้นแบบบ้านประหยัดพลังงานให้กับประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือ สำหรับนำไปเป็นตัวอย่างในการก่อสร้างต่อไป
สำหรับบ้านทาวน์เฮาส์ประหยัดพลังงานต้นแบบนี้ ออกแบบภายใต้แนวคิด “ประหยัดพลังงาน น่าสบาย ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ 1.บ้านร่มเย็น นำเสนอแนวคิดตอบสนองตรงไปตรงมาต่อสภาพแวดล้อมและประโยชน์ใช้สอย 2.บ้านรับลม ที่เสนอแนวคิดประหยัดพลังงานทุกด้าน แสงธรรมชาติ ลมผ่านได้ทุกห้อง วัสดุไม่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม รูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 3.บ้านสามสวน ที่มีจุดเด่นตรงที่มีการแก้ไขข้อจำกัดของทาวน์เฮาส์ ด้วยการออกแบบที่ว่างสลับห้อง เพื่อรับแสงธรรมชาติและลม โดยแต่ละแบบจะมีขนาดพื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 80 - 100 ตารางเมตร บนที่ดิน 18 - 22 ตารางวา ค่าก่อสร้างประมาณหลังละ 6-7 แสนบาท
"ปัจจุบันบ้านอยู่อาศัยประเภททาวน์เฮาส์ในภาคเหนือมีเพิ่มขึ้นจำนวนมาก เพื่อตอบสนองความต้องการของคนเมืองซึ่งมีรายได้น้อย แต่ทาวน์เฮาส์มีข้อจำกัดที่เป็นอาคารลักษณะแคบยาว จึงมีปัญหาเรื่องการระบายอากาศและไม่ได้รับแสงธรรมชาติอย่างเพียงพอ ซึ่งจากการวิจัยผลการประหยัดพลังงาน ได้ข้อเสนอแนะในการออกแบบและปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในทาวน์เฮาส์ให้เกิดสภาวะน่าสบายแก่ผู้อยู่อาศัย ดังนี้ 1.ออกแบบแผงกันแดดเพื่อป้องกันแสงเข้าสู่ภายในอาคารโดยตรง และเลือกใช้สีโทนอ่อนเพื่อลดการเปิดไฟในเวลากลางวัน 2.ออกแบบช่องระบายอากาศที่มีทางลมเข้าและทางลมออกหรือช่องเปิดด้านบนหลังคา จะช่วยให้บ้านเย็นสบายได้ 3.ออกแบบห้องให้มีขนาดกะทัดรัดเหมาะกับการใช้งาน และตำแหน่งห้องและแอร์ไม่ให้รับแสงแดดโดยตรง และ 4. อย่าวางเครื่องเรือนปิดกั้นทางลม และควรตั้งวางอุปกรณ์ไฟฟ้าในตำแหน่งที่สามารถระบายความร้อนได้ดี เพียงเท่านี้เราก็จะได้ทาวน์เฮาส์ที่มีสภาวะน่าสบาย และยังช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย” น.ส.อิศรา กล่าว โดยสามารถดาวน์โหลดแบบบ้านได้ที่ www.thaienergynews.com ,www.eppo.go.th
นายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงาน ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศ โดยหนึ่งในยุทธศาสตร์นั้นคือ การเร่งรณรงค์ประหยัดพลังงานอย่างจริงจังในทุกภาคส่วน และในปี 2550 ตั้งเป้าให้ประชาชนลดการใช้ไฟฟ้าให้ได้ 1,400 ล้านหน่วยต่อปี คิดเป็นมูลค่า 4,200 ล้านบาทต่อปี จึงต้องมีการสร้างแนวร่วมในการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าและประหยัดพลังงาน โดยเฉพาะในกลุ่มบ้านที่อยู่อาศัย ซึ่งมีความยั่งยืนที่สุด
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดย สนพ. ได้สนับสนุนให้ 7 มหาวิทยาลัย ดำเนินการจัดประกวดออกแบบบ้านและทาวน์เฮาส์ประหยัดพลังงาน และคัดเลือกแบบบ้านที่ดีที่สุดสถาบันละ 3 แบบ มาก่อสร้างจริงเพื่อใช้เป็นบ้านตัวอย่างสำหรับทำการศึกษาและเป็นต้นแบบให้ประชาชนนำไปเป็นตัวอย่างในการก่อสร้าง ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการนำบ้านและทาวน์เฮาส์ประหยัดพลังงานทั้งหมด 21 แบบ ไปจัดแสดงในงาน “บ้านและสวนแฟร์ 2006” ได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวนมาก ซึ่งภาครัฐมุ่งหวังว่า หากประเทศไทยมีการสร้างที่พักอาศัยที่ประหยัดพลังงานมากขึ้น ก็จะช่วยให้ประเทศลดใช้พลังงานในภาพรวมลงได้
น.ส.อิศรา กันแตง หัวหน้าโครงการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานประเภททาวน์เฮาส์ กรณีศึกษา : จังหวัดเชียงใหม่ หรือจังหวัดใกล้เคียง กล่าวว่า ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ เป็นหนึ่งในสถาบันที่ได้รับการสนับสนุนจาก สนพ. ดำเนินโครงการ “ออกแบบทาวน์เฮาส์ประหยัดพลังงาน” โดยการจัดประกวดและคัดเลือกแบบทาวน์เฮาส์ที่ดีที่สุดจำนวน 3 แบบ นำมาก่อสร้างจริงภายในบริเวณพื้นที่ส่วนขยายของสถาบัน อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เพื่อใช้เป็นบ้านตัวอย่างสำหรับทำการศึกษา ตรวจวัดดัชนีการใช้พลังงาน ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้อยู่อาศัย และที่สำคัญ เพื่อให้เป็นต้นแบบบ้านประหยัดพลังงานให้กับประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือ สำหรับนำไปเป็นตัวอย่างในการก่อสร้างต่อไป
สำหรับบ้านทาวน์เฮาส์ประหยัดพลังงานต้นแบบนี้ ออกแบบภายใต้แนวคิด “ประหยัดพลังงาน น่าสบาย ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ 1.บ้านร่มเย็น นำเสนอแนวคิดตอบสนองตรงไปตรงมาต่อสภาพแวดล้อมและประโยชน์ใช้สอย 2.บ้านรับลม ที่เสนอแนวคิดประหยัดพลังงานทุกด้าน แสงธรรมชาติ ลมผ่านได้ทุกห้อง วัสดุไม่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม รูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 3.บ้านสามสวน ที่มีจุดเด่นตรงที่มีการแก้ไขข้อจำกัดของทาวน์เฮาส์ ด้วยการออกแบบที่ว่างสลับห้อง เพื่อรับแสงธรรมชาติและลม โดยแต่ละแบบจะมีขนาดพื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 80 - 100 ตารางเมตร บนที่ดิน 18 - 22 ตารางวา ค่าก่อสร้างประมาณหลังละ 6-7 แสนบาท
"ปัจจุบันบ้านอยู่อาศัยประเภททาวน์เฮาส์ในภาคเหนือมีเพิ่มขึ้นจำนวนมาก เพื่อตอบสนองความต้องการของคนเมืองซึ่งมีรายได้น้อย แต่ทาวน์เฮาส์มีข้อจำกัดที่เป็นอาคารลักษณะแคบยาว จึงมีปัญหาเรื่องการระบายอากาศและไม่ได้รับแสงธรรมชาติอย่างเพียงพอ ซึ่งจากการวิจัยผลการประหยัดพลังงาน ได้ข้อเสนอแนะในการออกแบบและปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในทาวน์เฮาส์ให้เกิดสภาวะน่าสบายแก่ผู้อยู่อาศัย ดังนี้ 1.ออกแบบแผงกันแดดเพื่อป้องกันแสงเข้าสู่ภายในอาคารโดยตรง และเลือกใช้สีโทนอ่อนเพื่อลดการเปิดไฟในเวลากลางวัน 2.ออกแบบช่องระบายอากาศที่มีทางลมเข้าและทางลมออกหรือช่องเปิดด้านบนหลังคา จะช่วยให้บ้านเย็นสบายได้ 3.ออกแบบห้องให้มีขนาดกะทัดรัดเหมาะกับการใช้งาน และตำแหน่งห้องและแอร์ไม่ให้รับแสงแดดโดยตรง และ 4. อย่าวางเครื่องเรือนปิดกั้นทางลม และควรตั้งวางอุปกรณ์ไฟฟ้าในตำแหน่งที่สามารถระบายความร้อนได้ดี เพียงเท่านี้เราก็จะได้ทาวน์เฮาส์ที่มีสภาวะน่าสบาย และยังช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย” น.ส.อิศรา กล่าว โดยสามารถดาวน์โหลดแบบบ้านได้ที่ www.thaienergynews.com ,www.eppo.go.th