ปลัดกระทรวงการคลังยอมรับว่า มีความเป็นไปได้ที่จะต้องทำงบประมาณปี 2550 แบบขาดดุล โดยประมาณการรายได้ไว้ที่ 1.4 ล้านล้านบาท ส่วนงบรายจ่ายจะหารือในวันพรุ่งนี้ แต่คาดการณ์ว่า งบประมาณปี 2550 จะขาดดุลประมาณ 1 แสนล้านบาท
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังพร้อมด้วยกรมจัดเก็บภาษี 3 กรม คือ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร ได้ยืนยันประมาณการรายได้ที่ใช้ในการจัดทำงบประมาณ 2550 ที่ 1.4 ล้านล้านบาท เท่าเดิมที่เคยประกาศไปก่อนหน้านี้ แต่ในส่วนของประมาณการรายจ่ายต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสำนักงบประมาณที่เป็นผู้ดูแลรายละเอียด ซึ่งในวันที่ 26 กันยายนนี้ 4 หน่วยงานหลักประกอบด้วย กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะสรุปรายละเอียดของการจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายปี 50 เพื่อเสนอต่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ต่อไป
อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ในขณะนี้ที่คาดว่าจะจัดเก็บรายได้ในปี 2549 ต่ำกว่าเป้าหมาย 24,177 ล้านบาท รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประเทศที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงมีความเป็นไปได้ที่ยังต้องจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล ส่วนจะขาดดุลเป็นจำนวนเท่าใดต้องพิจารณาร่วมกันอีกครั้ง ซึ่งการจัดทำงบประมาณตามกรอบแนวทางเดิมย่อมส่งผลให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้นกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้แน่นอน
ก่อนหน้านี้ มีกระแสข่าวว่า สำนักงบประมาณจะเสนอกรอบวงเงินรายจ่ายงบประมาณประจำปี 2550 ที่ 1.5 ล้านล้านบาท ซึ่งประกอบไปด้วยรายจ่ายตามกรอบของรัฐบาลเดิมที่จัดทำไว้ คือ งบชำระหนี้ งบประจำ และงบผูกพัน ซึ่งรวมเป็นเงิน 1.4 ล้านล้านบาท และมีการจัดทำงบกลางเพิ่มเติมอีก 1 แสนล้านบาท ทำให้งบประมาณรายจ่ายรวมมีวงเงินทั้งสิ้น 1.5 ล้านล้านบาท โดยงบประมาณส่วนใหญ่ที่ส่วนราชการเสนอมาที่เป็นโครงการเดิมที่มีผลผูกพันยังคงเดิม แต่ในส่วนที่เป็นโครงการใหม่จะจัดสรรออกมาเป็นงบกลางจำนวน 1 แสนล้านบาท ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการขาดดุลงบประมาณเพียงร้อยละ 1.5 ของจีดีพีเท่านั้น โดยให้อำนาจนายกรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณาว่าโครงการใดสมควรดำเนินการหรือไม่อย่างไร
สำหรับรายได้ของกรมจัดเก็บภาษีทั้ง 3 กรม ในปี 2550 มีจำนวน 1,499,800 ล้านบาท ประกอบด้วย กรมสรรพากร ต้องจัดเก็บรายได้จำนวน 1,126,000 ล้านบาท กรมสรรพสามิต ต้องจัดเก็บ 285,800 ล้านบาท กรมศุลกากร จัดเก็บ 88,000 ล้านบาท ส่วนหน่วยงานอื่นที่นำส่งรายได้เข้าคลัง มีจำนวน 152,200 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้จะไม่มีรายได้เพิ่มจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจแต่อย่างใด เนื่องจากในปี 2550 กระทรวงการคลังไม่ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจใดๆ
อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมการหักการคืนภาษีทุกประเภทและการจัดสรรรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แล้ว ทำให้ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิ อยู่ที่ 1.4 ล้านล้านบาท สูงกว่าปีงบประมาณ 2549 จำนวน 65,000 ล้านบาท
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังพร้อมด้วยกรมจัดเก็บภาษี 3 กรม คือ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร ได้ยืนยันประมาณการรายได้ที่ใช้ในการจัดทำงบประมาณ 2550 ที่ 1.4 ล้านล้านบาท เท่าเดิมที่เคยประกาศไปก่อนหน้านี้ แต่ในส่วนของประมาณการรายจ่ายต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสำนักงบประมาณที่เป็นผู้ดูแลรายละเอียด ซึ่งในวันที่ 26 กันยายนนี้ 4 หน่วยงานหลักประกอบด้วย กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะสรุปรายละเอียดของการจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายปี 50 เพื่อเสนอต่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ต่อไป
อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ในขณะนี้ที่คาดว่าจะจัดเก็บรายได้ในปี 2549 ต่ำกว่าเป้าหมาย 24,177 ล้านบาท รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประเทศที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงมีความเป็นไปได้ที่ยังต้องจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล ส่วนจะขาดดุลเป็นจำนวนเท่าใดต้องพิจารณาร่วมกันอีกครั้ง ซึ่งการจัดทำงบประมาณตามกรอบแนวทางเดิมย่อมส่งผลให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้นกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้แน่นอน
ก่อนหน้านี้ มีกระแสข่าวว่า สำนักงบประมาณจะเสนอกรอบวงเงินรายจ่ายงบประมาณประจำปี 2550 ที่ 1.5 ล้านล้านบาท ซึ่งประกอบไปด้วยรายจ่ายตามกรอบของรัฐบาลเดิมที่จัดทำไว้ คือ งบชำระหนี้ งบประจำ และงบผูกพัน ซึ่งรวมเป็นเงิน 1.4 ล้านล้านบาท และมีการจัดทำงบกลางเพิ่มเติมอีก 1 แสนล้านบาท ทำให้งบประมาณรายจ่ายรวมมีวงเงินทั้งสิ้น 1.5 ล้านล้านบาท โดยงบประมาณส่วนใหญ่ที่ส่วนราชการเสนอมาที่เป็นโครงการเดิมที่มีผลผูกพันยังคงเดิม แต่ในส่วนที่เป็นโครงการใหม่จะจัดสรรออกมาเป็นงบกลางจำนวน 1 แสนล้านบาท ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการขาดดุลงบประมาณเพียงร้อยละ 1.5 ของจีดีพีเท่านั้น โดยให้อำนาจนายกรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณาว่าโครงการใดสมควรดำเนินการหรือไม่อย่างไร
สำหรับรายได้ของกรมจัดเก็บภาษีทั้ง 3 กรม ในปี 2550 มีจำนวน 1,499,800 ล้านบาท ประกอบด้วย กรมสรรพากร ต้องจัดเก็บรายได้จำนวน 1,126,000 ล้านบาท กรมสรรพสามิต ต้องจัดเก็บ 285,800 ล้านบาท กรมศุลกากร จัดเก็บ 88,000 ล้านบาท ส่วนหน่วยงานอื่นที่นำส่งรายได้เข้าคลัง มีจำนวน 152,200 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้จะไม่มีรายได้เพิ่มจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจแต่อย่างใด เนื่องจากในปี 2550 กระทรวงการคลังไม่ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจใดๆ
อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมการหักการคืนภาษีทุกประเภทและการจัดสรรรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แล้ว ทำให้ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิ อยู่ที่ 1.4 ล้านล้านบาท สูงกว่าปีงบประมาณ 2549 จำนวน 65,000 ล้านบาท