รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเชื่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จะให้ความสนใจประเทศในแถบเอเชียมากขึ้น หลังเพิ่มน้ำหนักการมีสิทธิมีเสียงในคณะกรรมการไอเอ็มเอฟ 4 ประเทศ ซึ่งมีจีนและเกาหลีใต้รวมอยู่ด้วย ซึ่งจะทำให้การทำงานของไอเอ็มเอฟต่อจากนี้ ให้น้ำหนักและความสำคัญกับประเทศในแถบเอเชียมากขึ้น
นายทนง พิทยะ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงมติของไอเอ็มเอฟที่เพิ่มสัดส่วนโควตาการมีส่วนร่วมออกคะแนนเสียง (โหวต) ของประเทศจีน เกาหลีใต้ ตุรกี และเม็กซิโกเพิ่มขึ้นและให้มีผลทันที โดยเชื่อว่ามติดังกล่าวคงไม่มีผลกระทบอะไรมากนักสำหรับจุดยืนและบทบาทของไทยในไอเอ็มเอฟ แต่การปรับเพิ่มเสียงโหวตดังกล่าวอาจจะมีผลกับประเทศในแถบเอเชียบ้าง เนื่องจากเมื่อกลุ่มประเทศในเอเชียได้รับการเพิ่มน้ำหนักในการโหวต มีเสียงในไอเอ็มเอฟมากขึ้นก็อาจทำให้ไอเอ็มเอฟต้องให้ความสำคัญและให้น้ำหนักในการทำงานร่วมกับกลุ่มประเทศในย่านเอเชียบ้าง
ขณะที่นายโรดริโก้ เดอ เรโต้ กรรมการผู้จัดการ ไอเอ็มเอฟ กล่าวว่า ไอเอ็มเอฟมีแนวทางที่จะปฏิรูปการทำงานด้วยการนำกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาและกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่เข้ามามีสิทธิมีเสียงในการพัฒนาเศรษฐกิจในบทบาทของไอเอ็มเอฟมากขึ้น และการปรับเพิ่มสิทธิการโหวตดังกล่าวของทั้ง 4 ประเทศ ก็ถือเป็นก้าวแรกที่ดำเนินการในการประชุมครั้งนี้
สำหรับจีนน้ำหนักเสียงในการโหวตเพิ่มจากร้อยละ 2.98 มาเป็นร้อยละ 3.72 และต้องใช้เงินเพื่อเข้าไปเป็นหุ้นส่วนเพิ่มขึ้นกว่า 2,237.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนประเทศเกาหลีใต้ได้เพิ่มจากร้อยละ 0.77 มาเป็นร้อยละ 1.35 ต้องใช้เงินประมาณ 1,682 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการเข้าไปเป็นหุ้นส่วน ขณะที่เม็กซิโกต้องใช้เงินประมาณ 737 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการเพิ่มสัดส่วนการมีสิทธิมีเสียงในการโหวตจากร้อยละ 1.21 เป็นร้อยละ 1.45 ส่วนตุรกีต้องใช้เงินประมาณ 295 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการได้รับสิทธิเพิ่มสัดส่วนจากร้อยละ 0.45 เป็น ร้อยละ 0.55
นายทนง พิทยะ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงมติของไอเอ็มเอฟที่เพิ่มสัดส่วนโควตาการมีส่วนร่วมออกคะแนนเสียง (โหวต) ของประเทศจีน เกาหลีใต้ ตุรกี และเม็กซิโกเพิ่มขึ้นและให้มีผลทันที โดยเชื่อว่ามติดังกล่าวคงไม่มีผลกระทบอะไรมากนักสำหรับจุดยืนและบทบาทของไทยในไอเอ็มเอฟ แต่การปรับเพิ่มเสียงโหวตดังกล่าวอาจจะมีผลกับประเทศในแถบเอเชียบ้าง เนื่องจากเมื่อกลุ่มประเทศในเอเชียได้รับการเพิ่มน้ำหนักในการโหวต มีเสียงในไอเอ็มเอฟมากขึ้นก็อาจทำให้ไอเอ็มเอฟต้องให้ความสำคัญและให้น้ำหนักในการทำงานร่วมกับกลุ่มประเทศในย่านเอเชียบ้าง
ขณะที่นายโรดริโก้ เดอ เรโต้ กรรมการผู้จัดการ ไอเอ็มเอฟ กล่าวว่า ไอเอ็มเอฟมีแนวทางที่จะปฏิรูปการทำงานด้วยการนำกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาและกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่เข้ามามีสิทธิมีเสียงในการพัฒนาเศรษฐกิจในบทบาทของไอเอ็มเอฟมากขึ้น และการปรับเพิ่มสิทธิการโหวตดังกล่าวของทั้ง 4 ประเทศ ก็ถือเป็นก้าวแรกที่ดำเนินการในการประชุมครั้งนี้
สำหรับจีนน้ำหนักเสียงในการโหวตเพิ่มจากร้อยละ 2.98 มาเป็นร้อยละ 3.72 และต้องใช้เงินเพื่อเข้าไปเป็นหุ้นส่วนเพิ่มขึ้นกว่า 2,237.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนประเทศเกาหลีใต้ได้เพิ่มจากร้อยละ 0.77 มาเป็นร้อยละ 1.35 ต้องใช้เงินประมาณ 1,682 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการเข้าไปเป็นหุ้นส่วน ขณะที่เม็กซิโกต้องใช้เงินประมาณ 737 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการเพิ่มสัดส่วนการมีสิทธิมีเสียงในการโหวตจากร้อยละ 1.21 เป็นร้อยละ 1.45 ส่วนตุรกีต้องใช้เงินประมาณ 295 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการได้รับสิทธิเพิ่มสัดส่วนจากร้อยละ 0.45 เป็น ร้อยละ 0.55