ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเมินสภาพเศรษฐกิจปี 2550 ว่า จะโตเพียงร้อยละ 3 - 4 ซึ่งเป็นอัตราต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2544 และกรณีเศรษฐกิจทรุดตัวลง อัตราการขยายตัวจะอยู่ในระดับร้อยละ 2 - 3 เท่านั้น
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเมินสภาพเศรษฐกิจปี 2550 โดยประเมินไว้ 2 กรณี คือ กรณีพื้นฐานเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในปี 2550 ประมาณร้อยละ 3 - 4 ซึ่งเป็นอัตราต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2544 การลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเพียงร้อยละ 4.2 และ 3.3 ตามลำดับ ลดลงจากร้อยละ 5.0 และ 3.7 ในปี 2549 ปัญหาการเมืองและการล่าช้าในการจัดทำงบประมาณ ทำให้การลงทุนและการบริโภคภาครัฐขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 2
ส่วนด้านต่างประเทศ การส่งออกและนำเข้าคาดว่าจะชะลอตัวลง โดยขยายตัวร้อยละ 9.8 และ 8.7 ตามลำดับ ลดลงจากที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 13.4 และ 8.9 ในปี 2549 ตามลำดับ แม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลง แต่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยดุลการค้าขาดดุลลดลงเหลือ 3,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากที่คาดว่าจะขาดดุล 4.5 และเกินดุล 0.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐตามลำดับในปี 2549 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อลดลงจากร้อยละ 4.7 ในปี 2549 เหลือร้อยละ 2.5-3.5 ใกล้เคียงกับปี 2547
ส่วนกรณีที่เศรษฐกิจทรุดตัวลงมากกว่าที่คาดไว้ เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเพียงร้อยละ 2 - 3 โดยการบริโภคและการลงทุนขยายตัวเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 3 และ 2.3 ตามลำดับ ในขณะที่การลงทุนภาครัฐคาดว่า จะหดตัวลงร้อยละ 1.5 การส่งออกขยายตัวในอัตราต่ำมากที่ร้อยละ 0.5 ขณะที่การนำเข้าหดตัวลงร้อยละ 0.8 ทำให้ดุลการค้าขาดดุลเพียง 2,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุล 2,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.5-2.5.
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเมินสภาพเศรษฐกิจปี 2550 โดยประเมินไว้ 2 กรณี คือ กรณีพื้นฐานเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในปี 2550 ประมาณร้อยละ 3 - 4 ซึ่งเป็นอัตราต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2544 การลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเพียงร้อยละ 4.2 และ 3.3 ตามลำดับ ลดลงจากร้อยละ 5.0 และ 3.7 ในปี 2549 ปัญหาการเมืองและการล่าช้าในการจัดทำงบประมาณ ทำให้การลงทุนและการบริโภคภาครัฐขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 2
ส่วนด้านต่างประเทศ การส่งออกและนำเข้าคาดว่าจะชะลอตัวลง โดยขยายตัวร้อยละ 9.8 และ 8.7 ตามลำดับ ลดลงจากที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 13.4 และ 8.9 ในปี 2549 ตามลำดับ แม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลง แต่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยดุลการค้าขาดดุลลดลงเหลือ 3,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากที่คาดว่าจะขาดดุล 4.5 และเกินดุล 0.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐตามลำดับในปี 2549 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อลดลงจากร้อยละ 4.7 ในปี 2549 เหลือร้อยละ 2.5-3.5 ใกล้เคียงกับปี 2547
ส่วนกรณีที่เศรษฐกิจทรุดตัวลงมากกว่าที่คาดไว้ เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเพียงร้อยละ 2 - 3 โดยการบริโภคและการลงทุนขยายตัวเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 3 และ 2.3 ตามลำดับ ในขณะที่การลงทุนภาครัฐคาดว่า จะหดตัวลงร้อยละ 1.5 การส่งออกขยายตัวในอัตราต่ำมากที่ร้อยละ 0.5 ขณะที่การนำเข้าหดตัวลงร้อยละ 0.8 ทำให้ดุลการค้าขาดดุลเพียง 2,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุล 2,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.5-2.5.