คณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) เห็นชอบให้สายการบินปรับเพิ่มเพดานขั้นสูงสุดค่าธรรมเนียมน้ำมัน ค่าโดยสาร และค่าธรรมเนียมบริการจราจรทางอากาศใหม่ หลังจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น แต่ให้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละสายการบินว่าจะปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมให้เต็มเพดานสูงสุดหรือไม่

นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุม กบร.ว่า กบร. ได้ประชุมร่วมกับตัวแทนสายการบิน องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอซีเอโอ) เพื่อพิจารณากำหนดอัตราเพดานค่าธรรมเนียมน้ำมันมาตรฐาน โดยที่ประชุมได้อนุมัติให้แต่ละสายการบินปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมน้ำมัน จากเพดานขั้นสูงสุดเดิม 22 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 29 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนการปรับเพดานค่าบริการจราจรทางอากาศของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย (บวท.) ปัจจุบันเก็บในอัตรา 812 ดอลลาร์สหรัฐต่อครั้ง ปรับเป็น 899 ดอลลาร์สหรัฐต่อครั้ง ในอัตราเพดานขั้นสูงสุด เนื่องจากมีการลงทุนที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ บวท.เป็นบริษัทที่ไม่แสวงหากำไรอยู่แล้ว
สำหรับการปรับเพดานค่าโดยสารนั้น จะแบ่งเป็น 2 ประเภท จะมีระยะทางไม่เกิน 200 กิโลเมตร เดินทางสะดวก จะเก็บในราคาเท่าไรก็ได้ให้เปิดเสรี ส่วนระยะทางที่เกิน 200 กิโลเมตร เดินทางไม่สะดวกจะเก็บเพิ่มจาก 6.20 บาท เป็น 8-9 บาท โดยกำหนดเพดานสูงสุดไว้ สำหรับเครื่องบิน ไม่เกิน 19 ที่นั่ง เก็บ 20 บาทต่อกิโลเมตร เกิน 19 แต่ไม่เกิน 200 ที่นั่งเก็บ 17 บาทต่อกิโลเมตร แต่หากเกิน 200 ที่นั่งเก็บ 10 บาทต่อกิโลเมตร ส่วนสินค้าเกษตรจะจัดเก็บค่าธรรมเนียมทุกประเภทในอัตราครึ่งหนึ่งของอัตราที่จัดเก็บ หลังจากได้เปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปแล้ว
“ค่าธรรมเนียมทั้งหมดถือเป็นการปรับตามเพดานขั้นสูงสุด เป็นการเปิดโอกาสให้แต่ละสายการบินสามารถปรับค่าธรรมเนียมเพิ่มได้ หากราคาน้ำมันปรับสูงขึ้น เพียงแต่ขึ้นอยู่กับว่านโยบายของแต่ละสายการบินว่าจะนำมาใช้หรือไม่” รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าว
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุม กบร.ว่า กบร. ได้ประชุมร่วมกับตัวแทนสายการบิน องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอซีเอโอ) เพื่อพิจารณากำหนดอัตราเพดานค่าธรรมเนียมน้ำมันมาตรฐาน โดยที่ประชุมได้อนุมัติให้แต่ละสายการบินปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมน้ำมัน จากเพดานขั้นสูงสุดเดิม 22 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 29 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนการปรับเพดานค่าบริการจราจรทางอากาศของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย (บวท.) ปัจจุบันเก็บในอัตรา 812 ดอลลาร์สหรัฐต่อครั้ง ปรับเป็น 899 ดอลลาร์สหรัฐต่อครั้ง ในอัตราเพดานขั้นสูงสุด เนื่องจากมีการลงทุนที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ บวท.เป็นบริษัทที่ไม่แสวงหากำไรอยู่แล้ว
สำหรับการปรับเพดานค่าโดยสารนั้น จะแบ่งเป็น 2 ประเภท จะมีระยะทางไม่เกิน 200 กิโลเมตร เดินทางสะดวก จะเก็บในราคาเท่าไรก็ได้ให้เปิดเสรี ส่วนระยะทางที่เกิน 200 กิโลเมตร เดินทางไม่สะดวกจะเก็บเพิ่มจาก 6.20 บาท เป็น 8-9 บาท โดยกำหนดเพดานสูงสุดไว้ สำหรับเครื่องบิน ไม่เกิน 19 ที่นั่ง เก็บ 20 บาทต่อกิโลเมตร เกิน 19 แต่ไม่เกิน 200 ที่นั่งเก็บ 17 บาทต่อกิโลเมตร แต่หากเกิน 200 ที่นั่งเก็บ 10 บาทต่อกิโลเมตร ส่วนสินค้าเกษตรจะจัดเก็บค่าธรรมเนียมทุกประเภทในอัตราครึ่งหนึ่งของอัตราที่จัดเก็บ หลังจากได้เปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปแล้ว
“ค่าธรรมเนียมทั้งหมดถือเป็นการปรับตามเพดานขั้นสูงสุด เป็นการเปิดโอกาสให้แต่ละสายการบินสามารถปรับค่าธรรมเนียมเพิ่มได้ หากราคาน้ำมันปรับสูงขึ้น เพียงแต่ขึ้นอยู่กับว่านโยบายของแต่ละสายการบินว่าจะนำมาใช้หรือไม่” รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าว