ผู้บริหารธนาคารพาณิชย์สนับสนุนการจัดทำงบประมาณขาดดุลของรัฐบาล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ระบุการขาดดุลในสัดส่วนร้อยละ 1-2 ไม่ถือว่าสูงมากจนกระทบเศรษฐกิจ ขณะที่การจัดทำงบประมาณขาดดุล จะมีการออกตราสารหนี้ภาครัฐ ซึ่งจะทำให้ธนาคารมีช่องทางในการลงทุนมากขึ้น
นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังสี ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการจัดทำงบประมาณขาดดุลของรัฐบาลว่า เป็นสิ่งที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในปัจจุบัน และยังเป็นการบรรเทาผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศ ซึ่งวงเงินการขาดดุลงบประมาณ 100,000 ล้านบาท ไม่ถือว่าสูงมากจนมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจ น่าจะเห็นภาพชัดเจนในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ซึ่งในภาวะปัจจุบันถือว่าเป็นช่วงที่เหมาะสมที่รัฐบาลจะนำงบประมาณขาดดุลมาใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งการขาดดุลในสัดส่วนที่ร้อยละ 1-2 ไม่ถือว่าสูงมากจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
น.ส.อังคณา สวัสดิ์พูน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารพาณิชย์น่าจะได้รับผลดีจากการจัดทำงบประมาณขาดดุลของรัฐบาล เพราะรัฐบาลอาจจะต้องมีการออกพันธบัตรเพื่อระดมเงิน ทำให้ธนาคารมีช่องทางในการลงทุนมากขึ้น ขณะที่พันธบัตรของรัฐบาลเป็นตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าพันธบัตรประเภทอื่น และการจัดทำงบประมาณขาดดุล ทำให้สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ส่งผลดีต่อการบริโภคและการลงทุนที่ชะลอลงได้ฟื้นตัว ซึ่งการจัดทำงบประมาณขาดดุลในภาพรวม น่าจะเป็นผลบวกต่อธนาคารพาณิชย์ ทั้งในเรื่องการเพิ่มช่องทางการลงทุน และเป็นการกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจในปีนี้
นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังสี ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการจัดทำงบประมาณขาดดุลของรัฐบาลว่า เป็นสิ่งที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในปัจจุบัน และยังเป็นการบรรเทาผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศ ซึ่งวงเงินการขาดดุลงบประมาณ 100,000 ล้านบาท ไม่ถือว่าสูงมากจนมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจ น่าจะเห็นภาพชัดเจนในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ซึ่งในภาวะปัจจุบันถือว่าเป็นช่วงที่เหมาะสมที่รัฐบาลจะนำงบประมาณขาดดุลมาใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งการขาดดุลในสัดส่วนที่ร้อยละ 1-2 ไม่ถือว่าสูงมากจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
น.ส.อังคณา สวัสดิ์พูน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารพาณิชย์น่าจะได้รับผลดีจากการจัดทำงบประมาณขาดดุลของรัฐบาล เพราะรัฐบาลอาจจะต้องมีการออกพันธบัตรเพื่อระดมเงิน ทำให้ธนาคารมีช่องทางในการลงทุนมากขึ้น ขณะที่พันธบัตรของรัฐบาลเป็นตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าพันธบัตรประเภทอื่น และการจัดทำงบประมาณขาดดุล ทำให้สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ส่งผลดีต่อการบริโภคและการลงทุนที่ชะลอลงได้ฟื้นตัว ซึ่งการจัดทำงบประมาณขาดดุลในภาพรวม น่าจะเป็นผลบวกต่อธนาคารพาณิชย์ ทั้งในเรื่องการเพิ่มช่องทางการลงทุน และเป็นการกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจในปีนี้