กบง.อนุมัติจัดตั้งศูนย์ประสานงานผลักดันยุทธศาสตร์พลังงานสู่การปฏิบัติ โดยให้มีทีมงานเชิงรุกดูแลนโยบายยุทธศาสตร์สู่การดำเนินงาน และประสานร่วมกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง พร้อมอนุมัติเงินสนับสนุน 5.9 ล้านบาท เร่งรัดผู้ค้าก๊าซซ่อมบำรุงถังก๊าซหุงต้มที่ครบวาระ 5 ปี และ 10 ปี รวม 7.88 ล้านถัง ทั่วประเทศ เพื่อดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชน และอนุมัติให้ศึกษาการจัดตั้งศูนย์กลางการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงใน กทม.
นายวิเศษ จูภิบาล รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กบง. วันนี้ (28 ส.ค.) ได้พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน โดยที่ประชุมเห็นชอบให้จัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์พลังงานสู่การปฏิบัติ ทำงานเชิงรุก และเป็นรูปธรรม ติดตาม วิเคราะห์ และปรับแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะการทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกับกระทรวง หน่วยงาน และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการประสานและการทำงานที่สำเร็จลุล่วง ตลอดจนเข้าใจมิติด้านพลังงานในทางเดียวกัน อาทิ การร่วมกับกระทรวงคมนาคม ในการผลักดันการขนส่งจากล้อเป็นราง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับยุทธศาสตร์ด้านพลังงานทดแทน กระทรวงการคลังในการผลักดันนโยบายด้านการเงิน/การคลัง การแก้ไขภาษีนำเข้า Chassis with engine การออกระเบียบรถเช่าราชการเป็นรถ NGV เป็นต้น
นอกจากนี้ การประชุม กบง. ยังได้อนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 5.9 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินโครงการเร่งรัดการซ่อมบำรุงถังก๊าซหุงต้มที่ครบวาระ 5 ปี และ 10 ปี ที่มีอยู่ 7.88 ล้านถัง ทั่วประเทศ โดยมอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงาน ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลการค้า การบรรจุ และการใช้ปิโตรเลียมให้มีความปลอดภัย ดูแลผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ให้ดำเนินการซ่อมบำรุงถังก๊าซหุงต้มที่ครบวาระตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด ปัจจุบันพบว่ามีถังก๊าซหุงต้มประมาณ 25 ล้านถัง ทั่วประเทศ แต่มีถังที่จะต้องทดสอบและซ่อมบำรุงจำนวน 11.76 ล้านถัง แบ่งเป็นถังที่รัฐดำเนินการซ่อมบำรุงแล้วจำนวน 3.88 ล้านถัง เหลืออีกจำนวน 7.88 ล้านถัง ที่ยังไม่ได้ดำเนินการซ่อมบำรุง
สำหรับถังที่ยังไม่ได้ซ่อมบำรุง ประกอบด้วย ถังที่ครบวาระ 10 ปี จำนวน 5.18 ล้านถัง จัดเป็นโครงการระยะที่ 1 ซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 18 เดือน หรือสิ้นสุดภายในเดือนธันวาคม 2550 และถังที่ครบวาระ 5 ปี จำนวน 2.7 ล้านถัง เป็นโครงการระยะที่ 2 จะต้องแล้วเสร็จต่อจากโครงการระยะที่ 1 ภายใน 12 เดือน หรือสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2551 ซึ่งภายหลังเสร็จสิ้นโครงการ หากผู้ค้าก๊าซยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ และมีการบรรจุก๊าซฯ ลงถังที่ยังไม่ได้ซ่อมบำรุง ผู้ประกอบการจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย นอกจากนี้ ภายใต้โครงการดังกล่าว จะมีการเผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบวิธีการเลือกใช้ถังก๊าซที่ถูกต้องและได้มาตรฐานความปลอดภัย รวมถึงการจัดสัมมนากับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ที่ประชุม กบง. ยังเห็นชอบให้มีการศึกษาโครงการจัดตั้งศูนย์กลางการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในเขตกรุงเทพมหานคร ในการศึกษาและวิเคราะห์ทางเลือกในการจัดระบบขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ตั้งแต่ระดับความต้องการใช้ จำนวนสถานที่ตั้งคลังน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบการจ่ายน้ำมันทั้งในระดับทางท่อ รถยนต์ รถไฟ และเรือ โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านความปลอดภัย ความพอเพียงของน้ำมันเชื้อเพลิง ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ และสังคม เพื่อกำหนดแนวทางและวิเคราะห์ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้มีการบริหารจัดการด้านพลังงานในจังหวัดกรุงเทพมหานคร มีประสิทธิภาพสูงสุดและลดใช้พลังงานได้มากสุด
นายวิเศษ จูภิบาล รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กบง. วันนี้ (28 ส.ค.) ได้พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน โดยที่ประชุมเห็นชอบให้จัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์พลังงานสู่การปฏิบัติ ทำงานเชิงรุก และเป็นรูปธรรม ติดตาม วิเคราะห์ และปรับแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะการทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกับกระทรวง หน่วยงาน และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการประสานและการทำงานที่สำเร็จลุล่วง ตลอดจนเข้าใจมิติด้านพลังงานในทางเดียวกัน อาทิ การร่วมกับกระทรวงคมนาคม ในการผลักดันการขนส่งจากล้อเป็นราง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับยุทธศาสตร์ด้านพลังงานทดแทน กระทรวงการคลังในการผลักดันนโยบายด้านการเงิน/การคลัง การแก้ไขภาษีนำเข้า Chassis with engine การออกระเบียบรถเช่าราชการเป็นรถ NGV เป็นต้น
นอกจากนี้ การประชุม กบง. ยังได้อนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 5.9 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินโครงการเร่งรัดการซ่อมบำรุงถังก๊าซหุงต้มที่ครบวาระ 5 ปี และ 10 ปี ที่มีอยู่ 7.88 ล้านถัง ทั่วประเทศ โดยมอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงาน ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลการค้า การบรรจุ และการใช้ปิโตรเลียมให้มีความปลอดภัย ดูแลผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ให้ดำเนินการซ่อมบำรุงถังก๊าซหุงต้มที่ครบวาระตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด ปัจจุบันพบว่ามีถังก๊าซหุงต้มประมาณ 25 ล้านถัง ทั่วประเทศ แต่มีถังที่จะต้องทดสอบและซ่อมบำรุงจำนวน 11.76 ล้านถัง แบ่งเป็นถังที่รัฐดำเนินการซ่อมบำรุงแล้วจำนวน 3.88 ล้านถัง เหลืออีกจำนวน 7.88 ล้านถัง ที่ยังไม่ได้ดำเนินการซ่อมบำรุง
สำหรับถังที่ยังไม่ได้ซ่อมบำรุง ประกอบด้วย ถังที่ครบวาระ 10 ปี จำนวน 5.18 ล้านถัง จัดเป็นโครงการระยะที่ 1 ซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 18 เดือน หรือสิ้นสุดภายในเดือนธันวาคม 2550 และถังที่ครบวาระ 5 ปี จำนวน 2.7 ล้านถัง เป็นโครงการระยะที่ 2 จะต้องแล้วเสร็จต่อจากโครงการระยะที่ 1 ภายใน 12 เดือน หรือสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2551 ซึ่งภายหลังเสร็จสิ้นโครงการ หากผู้ค้าก๊าซยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ และมีการบรรจุก๊าซฯ ลงถังที่ยังไม่ได้ซ่อมบำรุง ผู้ประกอบการจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย นอกจากนี้ ภายใต้โครงการดังกล่าว จะมีการเผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบวิธีการเลือกใช้ถังก๊าซที่ถูกต้องและได้มาตรฐานความปลอดภัย รวมถึงการจัดสัมมนากับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ที่ประชุม กบง. ยังเห็นชอบให้มีการศึกษาโครงการจัดตั้งศูนย์กลางการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในเขตกรุงเทพมหานคร ในการศึกษาและวิเคราะห์ทางเลือกในการจัดระบบขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ตั้งแต่ระดับความต้องการใช้ จำนวนสถานที่ตั้งคลังน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบการจ่ายน้ำมันทั้งในระดับทางท่อ รถยนต์ รถไฟ และเรือ โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านความปลอดภัย ความพอเพียงของน้ำมันเชื้อเพลิง ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ และสังคม เพื่อกำหนดแนวทางและวิเคราะห์ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้มีการบริหารจัดการด้านพลังงานในจังหวัดกรุงเทพมหานคร มีประสิทธิภาพสูงสุดและลดใช้พลังงานได้มากสุด