เอกชนทั้งในและต่างประเทศสนใจขยายการลงทุนผลิตไฟฟ้าในไทย เนื่องจากมั่นใจพื้นฐานเศรษฐกิจไทย เผยกรณีเปิดประมูลไอพีพีล่าช้า ไม่สร้างปัญหาแต่อย่างใด เพราะช่วงปี 2549-2554 จะมีโรงไฟฟ้าใหม่เข้าระบบ 7,000 เมกะวัตต์ และไฟฟ้าสำรองจะมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15
นายวิเศษ จูภิบาล รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีบริษัทด้านการผลิตไฟฟ้าทั้งในและต่างประเทศ ทั้งรายที่ลงทุนอยู่ในประเทศไทยและรายใหม่ ได้เข้าพบ โดยแสดงความสนใจที่จะขยายการลงทุนผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยเพิ่มเติม ทั้งการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติและอื่น ๆ เนื่องจากมั่นใจในพื้นฐานเศรษฐกิจไทย และการขยายตัวเรื่องการใช้ไฟฟ้าของไทย ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องดีต่อประเทศและประชาชน ที่แสดงให้เห็นว่าการประมูลผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรอบใหม่ (ไอพีพี) ในปี 2550 จะมีเชื้อเพลิงที่หลากหลายและผู้เข้าร่วมประมูลหลายราย เมื่อการแข่งขันรุนแรงก็จะทำให้ได้ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ต่ำที่สุด โดยยืนยันว่าไม่มีการวิ่งเต้น หรือล็อบบี้ในการเข้ามาประมูลแต่อย่างใด เพราะทุกขั้นตอนทุกรายต้องเสนอการประมูลจากคณะกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้า (เรกกูเลเตอร์) ที่เชื่อมั่นว่าการประกาศประมูลในลักษณะระดับนานาชาติจะต้องโปร่งใส
“ในขณะนี้มีความสบายใจ ที่มีผู้สนใจประมูลหลายราย และแม้การประมูลไอพีพีจะล่าช้าไปกว่าแผนเดิมที่จะประมูลในปีนี้ แต่ก็ไม่เกิดปัญหาเรื่องไฟฟ้าขาดแคลนแต่อย่างใด เพราะในช่วง 2-4 ปีนี้ จะมีโรงไฟฟ้าใหม่เข้าระบบหลายโรง ในขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าใหม่ชะลอตัว เติบโตประมาณร้อยละ 4 ดังนั้นไฟฟ้าจะไม่ขาดแคลน และสำรองจะมีอยู่ในปริมาณสูงกว่าร้อยละ 15 ”นายวิเศษกล่าว
นายวีระพล จีระประดิษฐกุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ในฐานะเรกกูเลเตอร์ กล่าวว่า ในขณะนี้กำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศอยู่ที่ประมาณ 25,000 เมกะวัตต์ มีสำรองไฟฟ้าสูงถึงร้อยละ 22 โดยความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีก) ของปีนี้ อยู่ที่ 21,064 เมกะวัตต์ และนับจากนี้ไปจะมีโรงไฟฟ้าใหม่ ๆ เข้าระบบโดยตลอดจนกระทั่งถึงปี 2554 ที่รับซื้อไฟฟ้าใหม่จากไอพีพี ดังนั้น จึงไม่น่าเป็นห่วงเรื่องไฟฟ้าจะตก-ดับหรือขาดแคลน เพราะช่วงเวลาดังกล่าวจะมีกำลังไฟฟ้าสำรองไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 โดยโรงไฟฟ้าใหม่ที่จะเข้าระบบมีกำลังผลิตรวม 7,000 เมกะวัตต์ ซึ่งมีกำลังผลิตโรงละ 700 เมะวัตต์ จะเริ่มจากโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี 1 เข้าในปลายปี 2549 ส่วนปี 2550 ประกอบไปด้วย บีแอลซีพี 2 โรงไฟฟ้ากัลฟ์ 1 และ 2 ส่วนปี 2551 มีโรงไฟฟ้าราชบุรีเพาเวอร์ 1 และ 2 ส่วนตั้งแต่ปี 2552-2553 จะมีโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 4 โรง เข้าระบบ
ส่วนกรณีที่มีข่าวว่า โรงไฟฟ้ากลุ่มบ้านปูฯ กลุ่มโกลว์ แสดงความสนใจจะแข่งขันไอพีพีด้วยโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้น นายวีระพล กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดีต่อการประมูลไอพีพีรอบใหม่ ซึ่งหลักเกณฑ์ของการเปิดประมูลรอบใหม่จะมีการกำหนดเรื่องเชื้อเพลิงทั้งถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ
นายวิเศษ จูภิบาล รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีบริษัทด้านการผลิตไฟฟ้าทั้งในและต่างประเทศ ทั้งรายที่ลงทุนอยู่ในประเทศไทยและรายใหม่ ได้เข้าพบ โดยแสดงความสนใจที่จะขยายการลงทุนผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยเพิ่มเติม ทั้งการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติและอื่น ๆ เนื่องจากมั่นใจในพื้นฐานเศรษฐกิจไทย และการขยายตัวเรื่องการใช้ไฟฟ้าของไทย ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องดีต่อประเทศและประชาชน ที่แสดงให้เห็นว่าการประมูลผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรอบใหม่ (ไอพีพี) ในปี 2550 จะมีเชื้อเพลิงที่หลากหลายและผู้เข้าร่วมประมูลหลายราย เมื่อการแข่งขันรุนแรงก็จะทำให้ได้ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ต่ำที่สุด โดยยืนยันว่าไม่มีการวิ่งเต้น หรือล็อบบี้ในการเข้ามาประมูลแต่อย่างใด เพราะทุกขั้นตอนทุกรายต้องเสนอการประมูลจากคณะกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้า (เรกกูเลเตอร์) ที่เชื่อมั่นว่าการประกาศประมูลในลักษณะระดับนานาชาติจะต้องโปร่งใส
“ในขณะนี้มีความสบายใจ ที่มีผู้สนใจประมูลหลายราย และแม้การประมูลไอพีพีจะล่าช้าไปกว่าแผนเดิมที่จะประมูลในปีนี้ แต่ก็ไม่เกิดปัญหาเรื่องไฟฟ้าขาดแคลนแต่อย่างใด เพราะในช่วง 2-4 ปีนี้ จะมีโรงไฟฟ้าใหม่เข้าระบบหลายโรง ในขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าใหม่ชะลอตัว เติบโตประมาณร้อยละ 4 ดังนั้นไฟฟ้าจะไม่ขาดแคลน และสำรองจะมีอยู่ในปริมาณสูงกว่าร้อยละ 15 ”นายวิเศษกล่าว
นายวีระพล จีระประดิษฐกุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ในฐานะเรกกูเลเตอร์ กล่าวว่า ในขณะนี้กำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศอยู่ที่ประมาณ 25,000 เมกะวัตต์ มีสำรองไฟฟ้าสูงถึงร้อยละ 22 โดยความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีก) ของปีนี้ อยู่ที่ 21,064 เมกะวัตต์ และนับจากนี้ไปจะมีโรงไฟฟ้าใหม่ ๆ เข้าระบบโดยตลอดจนกระทั่งถึงปี 2554 ที่รับซื้อไฟฟ้าใหม่จากไอพีพี ดังนั้น จึงไม่น่าเป็นห่วงเรื่องไฟฟ้าจะตก-ดับหรือขาดแคลน เพราะช่วงเวลาดังกล่าวจะมีกำลังไฟฟ้าสำรองไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 โดยโรงไฟฟ้าใหม่ที่จะเข้าระบบมีกำลังผลิตรวม 7,000 เมกะวัตต์ ซึ่งมีกำลังผลิตโรงละ 700 เมะวัตต์ จะเริ่มจากโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี 1 เข้าในปลายปี 2549 ส่วนปี 2550 ประกอบไปด้วย บีแอลซีพี 2 โรงไฟฟ้ากัลฟ์ 1 และ 2 ส่วนปี 2551 มีโรงไฟฟ้าราชบุรีเพาเวอร์ 1 และ 2 ส่วนตั้งแต่ปี 2552-2553 จะมีโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 4 โรง เข้าระบบ
ส่วนกรณีที่มีข่าวว่า โรงไฟฟ้ากลุ่มบ้านปูฯ กลุ่มโกลว์ แสดงความสนใจจะแข่งขันไอพีพีด้วยโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้น นายวีระพล กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดีต่อการประมูลไอพีพีรอบใหม่ ซึ่งหลักเกณฑ์ของการเปิดประมูลรอบใหม่จะมีการกำหนดเรื่องเชื้อเพลิงทั้งถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ