กรมการประกันภัยสรุปหลักเกณฑ์การทำประกันภัยลูกกตัญญู โดยมีประกันภัย 4 ประเภทที่เข้าข่ายประกันภัยลูกกตัญญู สำหรับรายละเอียดมีการกำหนดเงื่อนไขว่า บิดา มารดา จะต้องมีรายได้ต่อปีน้อยกว่า 30,000 บาท ส่วนเบี้ยประกันสามารถนำมาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อลูก 1 คน และเตรียมเปิดให้ประชาชนซื้อประกันภัยดังกล่าวได้ 4-5 สิงหาคมนี้
น.ส.พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนให้บุตรดูแลบุพการียามแก่เฒ่า กรมการประกันภัยได้จัดทำประกันภัยลูกกตัญญูเพื่อคุ้มครองบุพการี โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมสรรพากร อนุญาตให้บุตรที่ซื้อกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับพ่อแม่หรือพ่อแม่ของคู่สมรส นำมาหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้ โดยมีเงื่อนไขว่า บิดา มารดา มีรายได้ต่อปีน้อยกว่า 30,000 บาท โดยสามารถหักลดหย่อนได้ตามความเป็นจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาทต่อลูก 1 คน ทั้งนี้ เบี้ยประกันที่สามารถหักลดหย่อนได้ จะต้องไม่รวมการคุ้มครองการเสียชีวิต
“หากครอบครัวมีลูก 4 คน ทุกคนมีสิทธิซื้อกรมธรรม์ลูกกตัญญูให้กับพ่อแม่ และหักลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกินคนละ 15,000 บาท ซึ่งโครงการนี้จะกระตุ้นให้ลูกทดแทนบุญคุณพ่อแม่ เพื่อแสดงความกตัญญู อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าการกำหนดรายได้ของบิดา มารดา ที่ต้องน้อยกว่า 30,000 บาท เป็นวงเงินต่ำเกินไป อาจจะเป็นอุปสรรคที่ทำให้ประกันภัยลูกกตัญญูไม่ได้รับความนิยม ซึ่งได้มีการหารือกับกรมสรรพากรแล้ว และกรมสรรพากรจะรับไปพิจารณาว่าจะมีการขยายวงเงินในอนาคตหรือไม่” น.ส.พจนีย์ กล่าว
สำหรับประเภทของการประกันภัยที่เข้าข่ายเป็นกรมธรรม์ลูกกตัญญู ได้แก่ 1. ประกันภัยสุขภาพ เพื่อให้ความคุ้มครองเกี่ยวการรักษาพยาบาล อันเกิดจากการเจ็บป่วยและบาดเจ็บ รวมทั้งการชดเชยการทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ จากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ 2. ประกันภัยอุบัติเหตุ เฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก 3. การประกันภัยโรคร้ายแรง 6 โรค คือ 1. มะเร็งระยะลุกลาม 2. กล้ามเนื้อหัวใจตาย 3. หลอดเลือดสมอง 4. ไตวาย 5. ภาวะหมดสติ และ 6. การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ
และ 4. การประกันภัยการดูแลระยะยาว ซึ่งเป็นกรมธรรม์รูปแบบใหม่ที่ให้การดูแลผู้สูงอายุที่ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ โดยผู้ทำกรมธรรม์ประเภทนี้จะต้องเริ่มประกันระหว่างอายุ 40-65 ปี โดยบริษัทประกันจะจ่ายค่าทดแทน เมื่อผู้เอาประกันไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอย่างน้อย 3 ใน 6 อย่าง ต่อเนื่องอย่างน้อย 180 วัน คือ การเปลี่ยนจากนอนไปนั่ง การเดิน การแต่งกาย การอาบน้ำ รับประทานอาหาร และการขับถ่าย โดยการจ่ายค่าทดแทนสามารถจ่ายเป็นรายเดือน หรือเงินก้อน ทั้งนี้ บริษัทประกันไม่สามารถปฏิเสธการต่ออายุสัญญาประกันประเภทดังกล่าวได้ แต่ประชาชนสามารถบอกเลิกสัญญาได้ตามที่พึงพอใจ
น.ส.พจนีย์ กล่าวด้วยว่า ในวันที่ 4-5 สิงหาคมนี้ จะเปิดให้ประชาชนซื้อประกันภัยลูกกตัญญูในงาน “แทนความห่วงใยด้วยกรมธรรม์ลูกกตัญญู” ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งจะถือเป็นของขวัญในวันแม่แห่งชาติ
น.ส.พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนให้บุตรดูแลบุพการียามแก่เฒ่า กรมการประกันภัยได้จัดทำประกันภัยลูกกตัญญูเพื่อคุ้มครองบุพการี โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมสรรพากร อนุญาตให้บุตรที่ซื้อกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับพ่อแม่หรือพ่อแม่ของคู่สมรส นำมาหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้ โดยมีเงื่อนไขว่า บิดา มารดา มีรายได้ต่อปีน้อยกว่า 30,000 บาท โดยสามารถหักลดหย่อนได้ตามความเป็นจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาทต่อลูก 1 คน ทั้งนี้ เบี้ยประกันที่สามารถหักลดหย่อนได้ จะต้องไม่รวมการคุ้มครองการเสียชีวิต
“หากครอบครัวมีลูก 4 คน ทุกคนมีสิทธิซื้อกรมธรรม์ลูกกตัญญูให้กับพ่อแม่ และหักลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกินคนละ 15,000 บาท ซึ่งโครงการนี้จะกระตุ้นให้ลูกทดแทนบุญคุณพ่อแม่ เพื่อแสดงความกตัญญู อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าการกำหนดรายได้ของบิดา มารดา ที่ต้องน้อยกว่า 30,000 บาท เป็นวงเงินต่ำเกินไป อาจจะเป็นอุปสรรคที่ทำให้ประกันภัยลูกกตัญญูไม่ได้รับความนิยม ซึ่งได้มีการหารือกับกรมสรรพากรแล้ว และกรมสรรพากรจะรับไปพิจารณาว่าจะมีการขยายวงเงินในอนาคตหรือไม่” น.ส.พจนีย์ กล่าว
สำหรับประเภทของการประกันภัยที่เข้าข่ายเป็นกรมธรรม์ลูกกตัญญู ได้แก่ 1. ประกันภัยสุขภาพ เพื่อให้ความคุ้มครองเกี่ยวการรักษาพยาบาล อันเกิดจากการเจ็บป่วยและบาดเจ็บ รวมทั้งการชดเชยการทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ จากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ 2. ประกันภัยอุบัติเหตุ เฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก 3. การประกันภัยโรคร้ายแรง 6 โรค คือ 1. มะเร็งระยะลุกลาม 2. กล้ามเนื้อหัวใจตาย 3. หลอดเลือดสมอง 4. ไตวาย 5. ภาวะหมดสติ และ 6. การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ
และ 4. การประกันภัยการดูแลระยะยาว ซึ่งเป็นกรมธรรม์รูปแบบใหม่ที่ให้การดูแลผู้สูงอายุที่ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ โดยผู้ทำกรมธรรม์ประเภทนี้จะต้องเริ่มประกันระหว่างอายุ 40-65 ปี โดยบริษัทประกันจะจ่ายค่าทดแทน เมื่อผู้เอาประกันไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอย่างน้อย 3 ใน 6 อย่าง ต่อเนื่องอย่างน้อย 180 วัน คือ การเปลี่ยนจากนอนไปนั่ง การเดิน การแต่งกาย การอาบน้ำ รับประทานอาหาร และการขับถ่าย โดยการจ่ายค่าทดแทนสามารถจ่ายเป็นรายเดือน หรือเงินก้อน ทั้งนี้ บริษัทประกันไม่สามารถปฏิเสธการต่ออายุสัญญาประกันประเภทดังกล่าวได้ แต่ประชาชนสามารถบอกเลิกสัญญาได้ตามที่พึงพอใจ
น.ส.พจนีย์ กล่าวด้วยว่า ในวันที่ 4-5 สิงหาคมนี้ จะเปิดให้ประชาชนซื้อประกันภัยลูกกตัญญูในงาน “แทนความห่วงใยด้วยกรมธรรม์ลูกกตัญญู” ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งจะถือเป็นของขวัญในวันแม่แห่งชาติ