คณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เตรียมพิจารณาทางเลือกการลงทุนในโครงการท่าเรือปากบาราใน 2 ทางเลือก หลังบริษัทเอกชนจีนระบุพร้อมทุ่มงบลงทุนกว่า 200,000 ล้านบาท พัฒนาท่าเรือพร้อมแลนด์บริดจ์ หากไทยยังคงลักษณะการลงทุนเป็นเมกะโปรเจกต์ หรืออีก 1 ทางเลือก คือ กทท.เป็นผู้ลงทุนเอง เพื่อเร่งรัดโครงการให้เกิดขึ้นโดยเร็ว
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ในฐานะรองประธานกรรมการ กทท. เปิดเผยความคืบหน้าโครงการลงทุนก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล มูลค่า 6,000 ล้านบาท หนึ่งในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ (เมกะโปรเจกต์) ว่าหลังจากที่โครงการต้องชะลอตัวออกไป เนื่องจากภาครัฐต้องเปลี่ยนแปลงลักษณะการลงทุนจากผลของปัญหาการเมือง ล่าสุดทางออกของปัญหาจะมี 2 ทางเลือก ซึ่งกรมการขนส่งทางน้ำและคณะกรรมการ กทท. จะพิจารณาประเด็นดังกล่าว
นายถวัลย์รัฐ กล่าวว่า ประเด็นแรกหากการลงทุนยังเป็นลักษณะเปิดกว้างหาผู้ลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน ขณะนี้ได้มีกลุ่มลงทุนข้ามชาติเป็นเอกชนจากประเทศจีนที่เสนอตัวและมีความพร้อมของเงินลงทุน เนื่องจากรัฐบาลจีนพร้อมให้การสนับสนุนเงินกู้ 50,000 ล้านหยวน หรือเป็นวงเงินกว่า 200,000 ล้านบาท แก่เอกชนกลุ่มดังกล่าว โดยบริษัทของจีนได้ยื่นข้อเสนอพร้อมเป็นผู้ลงทุนโครงการระบบขนส่งต่อเนื่องจากท่าเรือด้วย เช่น โครงการทางรถไฟที่เชื่อมต่อโดยตรงจากท่าเรือ รวมถึงเส้นทางถนนและอื่น ๆ ในลักษณะของสะพานเศรษฐกิจ (แลนด์บริจด์) ที่จะเชื่อมต่อท่าเรือระหว่างชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทยเข้าด้วยกัน ซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาระบบโครงข่ายขนส่ง (โลจิสติกส์) ของไทย ส่วนประเด็นที่ 2 หากลักษณะการลงทุนเปลี่ยนแปลงไปและจำเป็นต้องให้หน่วยงานภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ลงทุนพัฒนาโครงการท่าเรือปากบาราเอง จะนำเสนอประเด็นดังกล่าวเข้าสู่การประชุมกรรมการ กทท. เพื่อดูว่ามีความพร้อมด้านการลงทุนมากน้อยแค่ไหน
“ทั้ง 2 ทางเลือกถือเป็นทางออกที่จะทำให้โครงการก่อสร้างท่าเรือปากบาราเป็นยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งของชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตกของไทยเกิดขึ้นโดยเร็ว” นายถวัลย์รัฐ กล่าว
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ในฐานะรองประธานกรรมการ กทท. เปิดเผยความคืบหน้าโครงการลงทุนก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล มูลค่า 6,000 ล้านบาท หนึ่งในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ (เมกะโปรเจกต์) ว่าหลังจากที่โครงการต้องชะลอตัวออกไป เนื่องจากภาครัฐต้องเปลี่ยนแปลงลักษณะการลงทุนจากผลของปัญหาการเมือง ล่าสุดทางออกของปัญหาจะมี 2 ทางเลือก ซึ่งกรมการขนส่งทางน้ำและคณะกรรมการ กทท. จะพิจารณาประเด็นดังกล่าว
นายถวัลย์รัฐ กล่าวว่า ประเด็นแรกหากการลงทุนยังเป็นลักษณะเปิดกว้างหาผู้ลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน ขณะนี้ได้มีกลุ่มลงทุนข้ามชาติเป็นเอกชนจากประเทศจีนที่เสนอตัวและมีความพร้อมของเงินลงทุน เนื่องจากรัฐบาลจีนพร้อมให้การสนับสนุนเงินกู้ 50,000 ล้านหยวน หรือเป็นวงเงินกว่า 200,000 ล้านบาท แก่เอกชนกลุ่มดังกล่าว โดยบริษัทของจีนได้ยื่นข้อเสนอพร้อมเป็นผู้ลงทุนโครงการระบบขนส่งต่อเนื่องจากท่าเรือด้วย เช่น โครงการทางรถไฟที่เชื่อมต่อโดยตรงจากท่าเรือ รวมถึงเส้นทางถนนและอื่น ๆ ในลักษณะของสะพานเศรษฐกิจ (แลนด์บริจด์) ที่จะเชื่อมต่อท่าเรือระหว่างชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทยเข้าด้วยกัน ซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาระบบโครงข่ายขนส่ง (โลจิสติกส์) ของไทย ส่วนประเด็นที่ 2 หากลักษณะการลงทุนเปลี่ยนแปลงไปและจำเป็นต้องให้หน่วยงานภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ลงทุนพัฒนาโครงการท่าเรือปากบาราเอง จะนำเสนอประเด็นดังกล่าวเข้าสู่การประชุมกรรมการ กทท. เพื่อดูว่ามีความพร้อมด้านการลงทุนมากน้อยแค่ไหน
“ทั้ง 2 ทางเลือกถือเป็นทางออกที่จะทำให้โครงการก่อสร้างท่าเรือปากบาราเป็นยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งของชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตกของไทยเกิดขึ้นโดยเร็ว” นายถวัลย์รัฐ กล่าว