ธนาคารกรุงเทพชี้เศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังยังเติบโตได้ดี ภายใต้ปัจจัยลบทั้งเศรษฐกิจและการเมือง ส่งผลให้ทั้งปีจะขยายตัวร้อยละ 4-4.5 ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว โดยมีภาคการส่งออกเป็นตัวผลักดัน ด้าน “โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์” ระบุถ้าไม่เกิดความแตกแยกในสังคมเศรษฐกิจไทยก็จะขับเคลื่อนไปได้เอง
นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) แถลงการณ์คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2549 โดยระบุว่าทางธนาคารกรุงเทพ เห็นว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะขยายตัวในอัตราลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 3.3-3.8 เทียบกับร้อยละ 4.6-5.3 ในครึ่งแรกของปี 2549 ส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจตลอดทั้งปีขยายตัวร้อยละ 4-4.5 ตามที่ได้ประมาณการไว้เดิมและเป็นอัตราใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการเติบโตที่ดีภายใต้ภาวะความกดดันจากปัจจัยลบหลายด้านทั้งเศรษฐกิจและการเมือง
นายบันลือศักดิ์ กล่าวว่า ปัจจัยหลักที่ส่งผลดีต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจะยังคงเป็นการส่งออก ซึ่งอาจจะขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 12.8 ขณะที่การนำเข้าจะชะลอตัวมากในอัตราร้อยละ 9.7 เนื่องจากภาคเอกชนชะลอการใช้จ่าย ทำให้เศรษฐกิจระหว่างประเทศมีความสมดุลมากขึ้น โดยดุลการค้า คาดว่าจะขาดดุลในจำนวนที่ลดลงเหลือประมาณ 6.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลเพียง 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 0.5 ของจีดีพี ส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 5.2 เนื่องจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันรวมถึงอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ เศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังปี 2549 อาจจะไม่ซบเซาอย่างที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากการส่งออกจะมีการเติบโตและมีการเร่งลงทุนโครงการมูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท ทั้งจากรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน รวมถึงการลงทุนของเอสเอ็มอีที่ยังมีความต้องการปรับปรุงความสามารถในการแข่งขัน อันจะทำให้การนำเข้าสินค้าเครื่องมือเครื่องจักรมากขึ้น
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า จากผลการประเมินตัวเลขเศรษฐกิจของธนาคารกรุงเทพจะเห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มมีการชะลอตัวตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2548 เนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น ส่วนปัญหาการเมืองมีผลกระทบไม่มาก และยังเชื่อว่าถ้าการส่งออกยังขยายตัวได้ดี เศรษฐกิจครึ่งปีหลังก็ไม่ได้รับผลกระทบมาก แม้ว่าการเลือกตั้งและปัญหาการเมืองจะยืดเยื้อ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือความแตกแยก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ดังนั้น ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน อย่าให้เกิดความแตกแยกในบ้านเมือง กระบวนการทางการเมืองที่ล่าช้าจะยังไม่ส่งผลเลวร้ายถ้าไม่เกิดความแตกแยก ส่วนธุรกิจสถาบันการเงิน เชื่อว่าสินเชื่อจะยังคงเติบโตตามเป้าหมาย โดยเฉพาะธนาคารกรุงเทพที่ตั้งเป้าสินเชื่อขยายตัวร้อยละ 4-5 หรือมูลค่าประมาณ 50,000 ล้านบาท โดยเฉพาะสินเชื่อรายใหญ่และสินเชื่อเอสเอ็มอียังคงเป็นไปตามเป้าหมาย
นายโฆสิต กล่าวว่า สำหรับกรณีธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้น เท่าที่ฟังจาก ธปท. เชื่อว่า ธปท.จะไม่ปรับดอกเบี้ยตาม จึงทำให้เชื่อว่าปีนี้อัตราดอกเบี้ยจะไม่ปรับตัวสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้มากนักและไม่น่าจะมีการแข่งขันขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก
ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายเป็นห่วงเศรษฐกิจปี 2550 จะได้รับผลกระทบมาก เพราะความล่าช้าในการจัดทำงบประมาณนั้น นายโฆสิต กล่าวว่า ตนยังมองว่าปัญหาทางเศรษฐกิจยังเป็นเรื่องรอง ถ้าเปรียบเทียบกับความแตกแยกในสังคม เพราะถ้าสังคมเรียบร้อยเศรษฐกิจก็คงจะเข้มแข็งและเดินหน้าต่อไปได้ เรื่องความล่าช้าของงบประมาณก็อาจจะชดเชยได้ โดยเร่งการลงทุนของรัฐวิสาหกิจและการใช้งบประมาณเก่าที่ยังเบิกจ่ายไม่หมด ขณะที่โครงการเมกะโปรเจกต์ ก็อยู่ในขั้นเตรียมการไม่ว่าใครเป็นรัฐบาลก็คงจะเดินหน้าต่อไป ที่ได้รับผลกระทบบ้างคือภาคการก่อสร้าง แต่ถ้าการส่งออกยังเดินหน้าได้ดี เศรษฐกิจปี 2550 ก็ยังไม่น่ากังวล แต่ต้องอยู่บนสมมติฐานที่ว่าสังคมไทยไม่มีความแตกแยก
นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) แถลงการณ์คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2549 โดยระบุว่าทางธนาคารกรุงเทพ เห็นว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะขยายตัวในอัตราลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 3.3-3.8 เทียบกับร้อยละ 4.6-5.3 ในครึ่งแรกของปี 2549 ส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจตลอดทั้งปีขยายตัวร้อยละ 4-4.5 ตามที่ได้ประมาณการไว้เดิมและเป็นอัตราใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการเติบโตที่ดีภายใต้ภาวะความกดดันจากปัจจัยลบหลายด้านทั้งเศรษฐกิจและการเมือง
นายบันลือศักดิ์ กล่าวว่า ปัจจัยหลักที่ส่งผลดีต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจะยังคงเป็นการส่งออก ซึ่งอาจจะขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 12.8 ขณะที่การนำเข้าจะชะลอตัวมากในอัตราร้อยละ 9.7 เนื่องจากภาคเอกชนชะลอการใช้จ่าย ทำให้เศรษฐกิจระหว่างประเทศมีความสมดุลมากขึ้น โดยดุลการค้า คาดว่าจะขาดดุลในจำนวนที่ลดลงเหลือประมาณ 6.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลเพียง 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 0.5 ของจีดีพี ส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 5.2 เนื่องจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันรวมถึงอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ เศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังปี 2549 อาจจะไม่ซบเซาอย่างที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากการส่งออกจะมีการเติบโตและมีการเร่งลงทุนโครงการมูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท ทั้งจากรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน รวมถึงการลงทุนของเอสเอ็มอีที่ยังมีความต้องการปรับปรุงความสามารถในการแข่งขัน อันจะทำให้การนำเข้าสินค้าเครื่องมือเครื่องจักรมากขึ้น
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า จากผลการประเมินตัวเลขเศรษฐกิจของธนาคารกรุงเทพจะเห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มมีการชะลอตัวตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2548 เนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น ส่วนปัญหาการเมืองมีผลกระทบไม่มาก และยังเชื่อว่าถ้าการส่งออกยังขยายตัวได้ดี เศรษฐกิจครึ่งปีหลังก็ไม่ได้รับผลกระทบมาก แม้ว่าการเลือกตั้งและปัญหาการเมืองจะยืดเยื้อ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือความแตกแยก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ดังนั้น ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน อย่าให้เกิดความแตกแยกในบ้านเมือง กระบวนการทางการเมืองที่ล่าช้าจะยังไม่ส่งผลเลวร้ายถ้าไม่เกิดความแตกแยก ส่วนธุรกิจสถาบันการเงิน เชื่อว่าสินเชื่อจะยังคงเติบโตตามเป้าหมาย โดยเฉพาะธนาคารกรุงเทพที่ตั้งเป้าสินเชื่อขยายตัวร้อยละ 4-5 หรือมูลค่าประมาณ 50,000 ล้านบาท โดยเฉพาะสินเชื่อรายใหญ่และสินเชื่อเอสเอ็มอียังคงเป็นไปตามเป้าหมาย
นายโฆสิต กล่าวว่า สำหรับกรณีธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้น เท่าที่ฟังจาก ธปท. เชื่อว่า ธปท.จะไม่ปรับดอกเบี้ยตาม จึงทำให้เชื่อว่าปีนี้อัตราดอกเบี้ยจะไม่ปรับตัวสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้มากนักและไม่น่าจะมีการแข่งขันขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก
ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายเป็นห่วงเศรษฐกิจปี 2550 จะได้รับผลกระทบมาก เพราะความล่าช้าในการจัดทำงบประมาณนั้น นายโฆสิต กล่าวว่า ตนยังมองว่าปัญหาทางเศรษฐกิจยังเป็นเรื่องรอง ถ้าเปรียบเทียบกับความแตกแยกในสังคม เพราะถ้าสังคมเรียบร้อยเศรษฐกิจก็คงจะเข้มแข็งและเดินหน้าต่อไปได้ เรื่องความล่าช้าของงบประมาณก็อาจจะชดเชยได้ โดยเร่งการลงทุนของรัฐวิสาหกิจและการใช้งบประมาณเก่าที่ยังเบิกจ่ายไม่หมด ขณะที่โครงการเมกะโปรเจกต์ ก็อยู่ในขั้นเตรียมการไม่ว่าใครเป็นรัฐบาลก็คงจะเดินหน้าต่อไป ที่ได้รับผลกระทบบ้างคือภาคการก่อสร้าง แต่ถ้าการส่งออกยังเดินหน้าได้ดี เศรษฐกิจปี 2550 ก็ยังไม่น่ากังวล แต่ต้องอยู่บนสมมติฐานที่ว่าสังคมไทยไม่มีความแตกแยก